ตะลอนทัวร์คลอดทริปใหม่

ปีใหม่นี้ จะฉลองปีใหม่กันที่ไหน ที่แน่แน่ พวกสมาชิกตะลอนทัวร์เตรียมเก็บกระเป๋ากันได้แล้ว เมื่อครั้งก่อนไปเที่ยวคลองวาฬ ข้าน้อยทำผิดอย่างแรงทิ้ง สองป้าให้เดินหลงทางกลับที่พัก ใครจะไปคิดล่ะว่า ไอ้แค่ 200 ม.ตรง ๆ ท่านพี่จะหลงทาง ก็ประสบการณ์ย่ำมาแล้วรอบโลก ก็น่าจะไม่หลง แต่ผิดครับหลงครับท่าน ได้ข่าวว่าคราวนี้ จะหอบหิ้วเอาผู้อำนวยการโรงเรียนไปหลงอีกคน นี่ถ้าประวัติศาสตร์ซ้ำรอย พากันหลงเหมือนเมื่อคราวก่อน สงสัยต้องเตรียมหางานใหม่กันได้เลย เรียกว่ากลับมาตัวใครตัวมัน ฮิฮิฮิ มีต่อ

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติ และผลงาน อ. มณใจ จันทร์สุวรรณ

ครูมณ

ประวัติ และผลงาน อ. วัลยา

ประวัติ และผลงาน อ. วัลยา

ประวัติ และผลงาน อ. ประภัสสร ไชยชนะ

ประวัติ และผลงาน อ. ประภัสสร ไชยชนะ

ประวัติ และผลงาน อ. มิริยะ เอกวิริยทร

ประวัติ และผลงาน อ. มิริยะ เอกวิริยทร

ประวัติ และผลงาน อ. ลำใย อากาศสุภา

ประวัติ และผลงาน อ. ลำใย อากาศสุภา

ประวัติ และผลงาน อ.อินธิรา จุลภมรศรี


ครูเมย์
สวีดัด - สวัสดีค่ะ คนอ่านทุกคน รู้ไหมเนี่ยว่าใครเป็นคนพิมพ์ โอเค ครูชื่อ อินธิรา จุลภมรศรี หรือเรียกสั้นๆ ว่าครูเม ขอเล่าประวัติย่อๆ ให้อ่านก่อนนจ๊ะ ครูจบจาก วิทยาลัยมิชชัน มวกเหล็ก, สระบุรี คณะศิลปศาสตร์ เอกวิชา การศึกษาและ จิตวิทยา ปีนี้เป็นปีที่ 2 ที่ครูได้มีโอกาส มาทำงานที่ โรงเรียนนานาชาติ เอกมัย ในปีแรกของการทำงานนั้นครูมีโอกาสเป็น ผู้ช่วยครู ของชั้นเกรด 3 และในปีนี้ตอนนี้ครูก็ได้รับโอกาสที่ดีจากหมวดวิชาภาษาไทย ให้มาสอนวิชาภาษาไทย ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่ตัวครูเองจะได้มาเรียนรู้ เพิ่มเติมความรู้และ พัฒนาศักยภาพของครูที่มีอยู่ให้มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถนำมาแบ่งปันให้แก่ลูกศิษย์ ลูกหาทั้งหลายได้ ก่อนจบขอฝากข้อคิดเล็กๆ น้อยๆ ไว้ให้คนที่กำลังอ่านซักหน่อย “มี 3 สิ่งที่ไม่สามารถย้อนกลับมาได้ 1. เวลา 2. คำพูด และ 3. โอกาส” งั้นก่อนที่จะพูด จะทำ หรือตัดสินใจอะไร ขอให้คิดทบทวนให้ดีก่อน นะจ๊ะ โชคดีค่ะ

ประวัติ และผลงาน อ. อัมพร มาละพัฒน์

ครูอัมพร

ประวัติและผลงาน อ.ศศลักษณ์ จำนงค์เดช

ประวัติ อ.ศศลักษณ์ จำนงค์เดช
สวัสดีค่ะ เด็ก ๆ คุณครูชื่อ ศศลักษณ์ จำนงค์เดช หรือ ครูจูนค่ะ
คุณครูจบจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ ภาควิชานาฏยศิลป์ไทย สาขา นาฏยศิลป์ไทย
ครูสอนที่โรงเรียนนานาชาติเอกมัยได้หนึ่งปีพอดี คุณครูดีใจและภาคภูมิใจมาก ที่ได้มาสอนที่นี่
และที่นี่ก็ทำให้คุณครูได้ประสบการณ์หลาย ๆอย่าง เช่น การปรับตัวให้เข้ากับเด็ก ๆ
การปรับตัวให้เข้ากับทุกๆคนในโรงเรียน เข้าใจสังคมโรงเรียนว่าเราควรวางตัวแบบไหน และที่สำคัญเข้าใจเด็กๆ มากขึ้นเยอะมากๆ ขอเน้น มากๆๆๆ
สุดท้ายนี้ คุณครูขอฝากอะไรนิดนึง เราเป็นเด็ก ควรอ่อนน้อมกับผู้ใหญ่ เชื่อฟังสิ่งที่ผู้ใหญ่สั่งสอน
ไม่มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่ใคร มาทำร้ายเราหลอก ทุกคนหวังดีกับเรา เชื่อครูสิ...
คติประจำใจของครู
ใช้ความนิ่ง สยบความเคลื่อนไหว....(ลองทำดูสิรับรองได้ผล)

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เทคนิคการเขียนเรียงความ

เทคนิคการเขียนเรียงความ เรียงความ หมายถึง เป็นการนำความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ที่ผู้เขียนสนใจและมีความรู้ในเรื่องนั้นดีที่สุด มาเรียบเรียงอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน น่าอ่าน น่าสนใจ โดยอาศัยข้อเท็จจริง ความคิดประกอบด้วยจินตนาการของผู้เขียน ให้ผู้อ่านได้ทราบและเข้าใจ เนื้อเรื่องที่จะเขียนเรียงความต้องมีขอบข่ายและความมุ่งหมายเฉพาะไม่กล่าวผิวเผิน ต้องมีตัวอย่างรายละเอียดต่าง ๆ สนับสนุนความคิดเห็นของผู้เขียน สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องมีข้อเท็จจริง ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการเขียน... รูปแบบของเรียงความประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

(1) คำนำ ( การเปิดเรื่อง )


(2) เนื้อเรื่อง ( เนื้อความ )


(3) สรุป ( ปิดเรื่องหรือบทลงท้าย )


คำนำ เป็นส่วนแรกของงานเขียนที่จะสร้างความน่าสนใจ ดึงดูดและท้าทายให้ผู้อ่านอยากรู้อยากอ่านข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ผู้เขียนรวบรวมมาเสนอในเนื้อเรื่อง เพราะคำนำที่ดีจะทำให้ผู้อ่านทราบได้ตั้งแต่ต้นว่ากำลังจะได้อ่านเกี่ยวกับอะไร ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการเขียนคำนำให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่าน สอดคล้องกับจุดประสงค์ในการเขียนและการเสนอเนื้อเรื่อง ประกอบกับการใช้ศิลปะการเขียนเฉพาะตน เนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของงานเขียน เนื่องจากเป็นส่วนที่รวมความคิดและข้อมูลทั้งหมดที่ผู้เขียนค้นคว้ารวบรวมมาเสนออย่างมีระเบียบ มีระบบ และเป็นขั้นตอน ทำให้ผู้อ่านรับรู้และเข้าใจสาระสำคัญทั้งหมดได้อย่างแจ่มแจ้ง...ประกอบไปด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงกันตลอดรวบรวมข้อมูล ความคิด ประสบการณ์ ข้อเท็จจริงวางโครงเรื่องให้สอดคล้องกับประเด็นที่จะนำเสนอนำหัวข้อต่างๆ มาเขียนขยายความให้เป็นย่อหน้าที่ดีมีประเด็นมากพอให้ผู้อ่านสนใจต้องใช้ท่วงทำนองการเขียนให้สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหา ตรงตามวัยความสนใจของผู้อ่าน การสรุป เป็นการบอกให้ผู้อ่านทราบว่าข้อมูลทั้งหมดที่เสนอมาได้จบลงแล้ว (ในย่อหน้าที่ผ่านมา) จะเป็นช่วยย้ำให้ผู้อ่านทราบว่างานเขียนที่ได้อ่านมีจุดมุ่งหมายอย่างไร ได้ข้อคิดหรือแนวทางอะไรเพิ่มเติมจากการอ่านครั้งนี้บ้าง ที่สำคัญคือการสรุปจะต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อเรื่องตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียนจึงจะทำให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ



เรียงความที่ดี
1. มีเอกภาพ หมายความว่า เนื้อหาจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่กล่าวนอกเรื่อง
2. มีสัมพันธภาพ หมายความว่า เนื้อหาต้องมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตลอดทั้งเรื่อง เกิดจากการจัดลำดับความคิดและการวางโครงเรื่องที่ดี และเกิดจากการเรียบเรียงย่อหน้าอย่างมีระเบียบ
3. มีสารัตภาพ หมายความว่า เรียงความแต่ละเรียงจะต้องมีสาระสมบูรณ์ตลอดทั้งเรื่อง ความสมบูรณ์ของเนื้อหาเกิดจากการวางโครงเรื่องที่ดี การวางโครงเรื่องที่ดีในการเขียนโครงการโครงเรื่อง คือการนำความคิดทั้งเรื่องมาแยกแยะให้เป็นระเบียบโดยการเรียงลำดับ เป็นข้อความสั้น ๆ ให้มีความสัมพันธ์และต่อเนื่อง มีข้อควรคำนึงดังนี้
1.จัดลำดับความคิดให้ต่อเนื่องกัน
2.แยกประเด็นใหญ่และประเด็นย่อยออกจากกันให้ชัดเจน
3. เขียนโครงเรื่อง อาจเขียนด้วยคำหรือวลีก็ได้ หรือจะทำเป็นรูปประโยคก็ได้ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเขียนโครงการ* มีรูปแบบ ( คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป )* คำนำ น่าสนใจ สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ และชื่อเรื่อง* เนื้อเรื่องน่าสนใจ สอดคล้องตรงตามชื่อเรื่องที่กำหนดให้* ลำดับความได้ต่อเนื่องกัน และมีความเป็นเอกภาพ* สรุปได้อย่างเหมาะสม และประทับใจ* ใช้ประโยคและคำได้ถูกต้อง เหมาะสมสื่อความหมายได้ชัดเจน* เขียนตัวหนังสือได้ถูกต้องตามอักขรวิธีและแบ่งวรรคตอนได้ถูกต้อง* ความคิดสร้างสรรค์อันบรรเจิด

dream on


ตอนเด็ก เคยฝันมั๊ย ฝันว่าโตขึ้นเราจะเป็นอะไร แล้ววันนี้ยังอยู่บนเส้นทางความฝันรึป่าว หรือถ้าไม่ใช่ เคยคิดมั๊ยว่าคนเดินออกจากเส้นทางความฝันไปตอนไหน...วันนี้ผมไม่สบาย นอนตอนกลางวันเยอะไป...กลางดึกแบบนี้เลยมีเวลามานั่งคิด

เมื่อตอนประถมต้นผมฝันว่าผมจะเป็นนักแข่งรถ เพราะผมชอบดูรถแข่ง
เมื่อตอนประถมปลายผมฝันว่าผมจะเป็นสถาปนิกออกแบบรถยนต์ เพราะผมชอบวาดรูปและชอบรถยนต์
เมื่อตอนมัธยมต้นผมยังคงฝันว่าจะเป็นสถาปนิกออกแบบรถยนต์ แต่ก็มีอารมณ์หวั่นไหวอยากเป็นชาวประมง และเกษตรกร ฮ่าๆๆ เพียงเพราะผมชอบเลี้ยงปลา และชอบปลูกต้นไม้
เมื่อตอนมัธยมปลายผมยังคงฝันว่าจะเป็นสถาปนิกออกแบบรถยนต์ และทิ้งความฝันที่จะเป็นชาวประมง และเกษตรกรไว้ เพียงแค่งานอดิเรก ด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่ามันกินไม่ได้
เมื่อถึงตอนมหาลัย ฝันผมยังคงไม่เปลี่ยนไป ผมยังคงอยากเป็นสถาปนิกออกแบบรถยนต์ แต่ผมเป็นไม่ได้ ด้วยเหตุผลง่ายๆ และความเชื่อง่ายๆ ณ ตอนนั้นว่า มันกินไม่ได้
ถึงวันนี้วันที่ผมทำงาน ผมยังคงอยากเป็นสถาปนิกออกแบบรถยนต์ แต่ผมเป็นไม่ได้ เพราะไม่ได้จบมาในเส้นทางนั้นเลย...
ผมเลือกที่จะทิ้งความฝันผม ทั้งที่มันเป็นจริงได้ถ้าวันนั้นผมเชื่อในความฝันของตัวเอง...ผมมีสิทธิ์ที่จะเลือกเดินผ่านประตู Entrance เพื่อเป็นสถาปนิก แต่ผมกลับเลือกที่จะเดินทางอื่น ด้วยเหตุผลตรงข้ามกับการไม่เลือก นั้นคือ ผมคิดว่ามันกินได้

ผมเก็บความฝันผมตั้งแต่เด็กไว้เพียงแค่งานอดิเรกนั้นคือ ขับรถเล่น เลี้ยงปลา ปลูกต้นไม้ รวมถึงการวาดรูป...

เคยถามตัวเองว่าเสียใจมั๊ยที่เลือกเดินออกจากความฝัน ทั้งที่มันยังมีทางเดินอยู่...ผมตอบโดยไม่คิดเลยว่าไม่เสียใจ แต่เสียดาย นั้นแปลว่าถ้าผมย้อนเวลากลับไปได้ ผมจะเลือกเดินตามความฝันในการเป็นสถาปนิก วันนี้ผ่านเหตุการณ์ที่ผมเดินออกจากความฝันมา 5 ปีกว่าแล้ว...ผมก็ยังคงคิดถึงความฝันนั้น และก็อิจฉาความคิดตัวเองด้วย เพราะความคิดมันอยากจะเป็นอะไรก็เป็นได้...

ผมไม่รู้ผมคิดผิดมั๊ย ที่คิดว่าความฝันของผมมันกินไม่ได้...แต่ผมคิดไม่ผิดแน่ที่เรียนเคมเทค เพราะมันกินได้...แม้ผมจะไม่ได้ใช้มันหากินก็ตามที ฮ่าๆๆ

วันนี้ผมยังไม่มีความฝันใหม่นะ...แต่ผมมีความเป้าหมายใหม่แล้ว...จากที่เคยคิดว่ารวยก่อนอายุ 40 แล้วจะซื้อ 13 คัน (มากไปมะ)...วันนี้ผมยังคงคิดว่าอยากรวยนะ แต่ผมรวยแล้วผมจะเดินทาง ถ่ายรูป วาดรูป และเขียนหนังสือ เพื่อหาเงินมาสร้างโรงเรียน...แนวมะ ฮ่าๆๆๆ

เป้าหมายในชีวิต


คุณรู้หรือไม่ว่าอะไรคือเป้าหมายในชีวิตคุณ

เริ่มต้นรู้จัก…เป้าหมายในชีวิตกันก่อน… เป้าหมายในชีวิต (Life Goals) หมายถึง สิ่งที่เราให้ความสำคัญ และปรารถนาจะให้เกิดขึ้นในอนาคต และเป็นแรงจูงใจให้คนเรามีพลังมุ่งไปสู่อนาคต การมีเป้าหมายในชีวิต จะช่วยให้คนเราใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย มีความหวัง และมีทิศทางมุ่งสู่อนาคตเพราะการมีเป้าหมายจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า เขาต้องการอะไรบ้าง เขาจะมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร เพื่อใคร และเพื่อที่จะทำอะไร

จะเห็นว่าการมีเป้าหมายในชีวิต สามารถกำหนด หรือทำให้คนเราเป็นเจ้าของชีวิตของตนอย่างแท้จริงคำถามคือ เพราะเหตุใดคนเราจึงมีปัญหาในการตระหนักถึงเป้าหมายในชีวิต แม้ว่าจะอยู่ในวิสัยที่ทำได้ แต่ก็ไม่ได้ทำ หรือว่า เรายุ่งเกินไป หรือเรามีเรื่องรกใจ หรือมีอะไรต้องทำมากมายเกินไป จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะปล่อยให้ชีวิตล่องลอยไปตามผู้คนแวดล้อมบอกให้ทำ หรือตามสังคมบอกว่าดี โดยไม่รู้ตัวว่าตนเองต้องการอะไร หรือปล่อยให้เรื่องที่เคยต้องการจะทำหลายเรื่องผ่านไป เพราะสาเหตุว่าเรามีเป้าหมายในชีวิตไม่ชัดเจน คำอธิบายที่ง่ายที่สุด เหตุที่คุณไม่จัดการเรื่องเล็กๆน้อยๆ ดังกล่าวอธิบายได้ง่ายๆ คือว่ามันอาจจะไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของคุณ จริงอยู่คุณนึกได้ว่าต้องทำโน่นต้องทำนี่ นั่นคือคุณมีความตั้งใจ แต่ความตั้งใจไม่ใช่ เป้าหมายของชีวิต ความตั้งใจ คือการที่คุณตกลงใจว่าจะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่เป้าหมายในชีวิตจะเป็นความตั้งทิศทางที่มุ่งไปสู่บาง สิ่งที่คนเราเห็นว่าสำคัญหรือมีความหมายต่อเขา เป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน จะเป้นตัวกำหนดทิศทางการเลือกความเป็นไปได้ต่างๆและนำไปสู่การกระทำกิจกรรมต่างๆในชีวิต แน่นอนว่าเป้าหมายในชีวิตทุกข้อจะเริ่มขึ้นจากความตั้งใจก่อนเสมอทีนี้ก็มาถึงวิธีการตระหนักในเป้าหมายชีวิต วิธีการ


แบ่งออกเป็น 3 ข้อย่อย ดังเช่น

ตัวอย่าง เป้าหมายในชีวิตของนางสาวสุดใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

ข้อที่1 นึกถึงเป้าหมายในปัจจุบันในเวลา 2 นาที

ข้อที่ 1 นี้ ให้นึกถึงสิ่งที่ต้องการหรือปรารถนาจะให้เกิดขึ้นในชีวิตของคุณ แล้วเขียนลงไปอย่างรวดเร็วเพื่อดูว่าตั้งใจมุ่งไปเรื่องใด และอย่างไร เขียนถึงเป้าหมายทีอยากทำให้สำเร็จภายใน 5 ปี ข้างหน้า 4 ข้อ

1. มีงานทำเงินเดือน 10,000 -15,000 บาท

2.เรียนต่อปริญญาโทในอเมริกา

3.มีเงินเก็บไว้ซื้อรถยนต์ของตนเอง

4.ไปเที่ยวต่างประเทศกับครอบครัว


เขียนเป้าหมายที่อยากทำให้สำเร็จภายใน 6 เดือนข้างหน้า 4 ข้อ

1.เรียนจบปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

2.ทำกิจกรรมต่างๆในมหาวิทยาลัยให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสบการณ์นอกเหนือจากการเรียน

3.หาข้อมูลเรียนต่อและข้อมูลงานที่ตรงสายงานที่เรียน

4.หัดขับรถในกรุงเทพให้คล่องเส้นทางและสอบใบ ขับขี่

เขียนเป้าหมายที่อยากทำให้สำเร็จภายใน 6 เดือนข้างหน้า 4 ข้อ

1.สะสางงานรายวิชาและอ่านหนังสือเตรียมสอบเพื่อทำคะแนนให้ได้เกรดเพิ่ม

2.เรียนภาษาอังกฤษและเรียนโทเฟิล

3.ไปเที่ยวต่างจังหวัดกับครอบครัว

4ขับรถมามหาวิทยาลัยเอง

ข้อสังเกต แต่ละช่วงเป้าหมายระยะเวลา ระยะปานกลาง และระยะสั้น ของสุดใจสอดคล้องกันทุกช่วง เป้าหมายเป็นรูปธรรม มีความหลากหลายของเป้าหมายน้อยไปบ้างตรงที่สุดใจให้ความสนใจเรื่องเรียน การงาน เป็นหลัก มีให้ความสนใจครอบครัวบ้าง แต่ก็ยังขาดการพักผ่อนการดูแลตัวเองเช่น การออกกำลังกาย หรือ กิจกรรมอื่นในชีวิต ที่สำคัญคือสุดใจเป้นผู้กำหนดเป้าหมายในชีวิตด้วยตนเอง และเป็นเป้าหมายในชีวิตทีเธอรู้สึกพอใจมากที่สุดในช่วงเวลา และวัยนี้ ซึ่งเป้าหมายในชีวิตที่ดีจะต้องมีความสอดคล้องกับพัฒนาการชีวิตด้วย


ข้อที่2 หากคุณต้องตายในเวลาที่กำหนด ให้เขียนเป้าหมายที่ต้องการทำให้เสร็จขณะที่คุณยังมีชีวิตเหลืออยู่ ในข้อที่ 2 นี้เป็นการตรวจสอบสิ่งที่ค้างในสิ่งที่ถ้าไม่ได้ทำแล้วจะรู้สึกผิด เสียใจ เสียดายหรือไม่สบายใจทั้งปวง ถือได้ว่าเป็นการเตรียมพร้อมที่จะใช้ชีวิตแต่ละวันให้ เต็มที่ เขียนเป้าหมายที่ต้องการทำให้เสร็จภายใน 5 ปี ที่เหลืออยู่ 4 ข้อ

1.เรียนปริญญาโทเพื่อให้พ่อแม่ภาคภูมิใจ

2.มีเวลาอยู่กับครอบครัวให้มากที่สุด

3. ทำงานที่ตนเองชอบและให้เงินพ่อแม่ใช้

4.ไปอยู่ประเทศอังกฤษกับน้องชาย 1 ปี เพราะเป็นประเทศที่อยากไปมาก


เขียนเป้าหมายที่ต้องการให้เสร็จภายใน 1 ปีที่เหลืออยู่ 4 ข้อ

1.สะสางงานที่ค้างและเขียนพินัยกรรม

2.ให้เงินพ่อแม่ หนึ่งในสี่ของทั้งหมด

3.ทำบุญ ทำทาน ทำสมาธิ วิปัสสนา

4. เรียนวาดรูป ดำน้ำ ปลูกต้นไม้ที่เคยอยากทำเ

ขียนเป้าหมายที่ต้องการให้เสร็จภายใน 6 เดือนที่เหลืออยู่ 4 ข้อ

1.อยู่กับพ่อแม่ พี่น้อง คนที่รักให้มากที่สุด

2.ทำงานช่วยเหลือสังคม

3.ทำบุญ ถือศีล กินเจ

4.สะสางงานที่ค้างในแต่ละวัน

ข้อสังเกต เป้าหมายในชีวิตของสุดใจข้อที่ 1 และข้อที่ 2 มีความแตกต่างกันกล่าวคือ เป้าหมายในชีวิตเมื่อชีวิตมีเวลาจำกัดทำให้สุดใจได้ไตร่ตรองในอีกมุมของชีวิตที่เขาให้ความสำคัญแล้วละเลยไปในช่วงเวลาปกติ เพราะคิดว่ายังมีเวลาเพียงพอ


ข้อที่ 3 เขียนเป้าหมายในแง่ที่เป็นจริงของคุณในข้อ 3 เป็นการรวมข้อ 1 และข้อ 2 เข้าด้วยกัน และข้อ 3 นี้จะเป็นผลจากการใคร่ครวญ ไตร่ตรองว่า ความตั้งใจใดที่ชัดเจนและมีความสำคัญ มีความหมายมากพอสำหรับชีวิต และเป้าหมายใดก็ตาม ถ้าคนเราเห็นว่ามีค่า มีความหมายเพียงพอ เขาจะมีเหตุผลต่างๆนานา ในการฝ่าฟันความยากลำบาก และลงมือกระทำให้ลุล่วง

เป้าหมายระยะยาว (ภายใน 5 ปี)

1.เรียนให้จบสูงสุดที่จะทำได้

2.ทำงานที่ตรงกับความรู้ความสามารถ เงินเดือนประมาณ 10,000 บาท

3.ให้เงินพ่อแม่หนึ่งในสี่ของเงินเดือน

4.มีกิจกรรมพักผ่อน เช่นปลูกต้นไม้ เรียนวาดรูป ท่องเที่ยว


เป้าหมายระยะกลาง (ภายใน 1 ปี)

1.เรียนให้จบและได้เกียรตินิยม

2. เตรียมข้อมูลการงานและการเรียนต่อต่างประเทศ

3.ไปพักผ่อนชายทะเลกับครอบครัว 1 สัปดาห์

4.สอบใบขับขี่และขับรถยนต์มหาวิทยาลัยเอง


เป้าหมายระยะสั้น (ภายใน6 เดือน)

1.อ่านหนังสือเตรียมสอบเพื่อให้ได้เกรดเพิ่มกว่าเดิม

2. เตรียมตัวสอบโทเฟิลและเรียนภาษาอังกฤษ

3. หัดขับรถให้คล่องเส้นทางกรุงเทพ และ เขตรอบนอกกรุงเทพ

4.ไปทำบุญกับครอบครัว

ข้อสังเกต สุดใจได้ทบทวนเป้าหมายในชีวิตของตนเอง และปรับเป้าหมายให้ตรงกับความต้องการและเป็นจริงเป้าหมายในชีวิตเป็นไปได้และปฏิบัติได้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับความเป็นจริง และเป็นเป้าหมายที่รับรู้ว่ามีค่า มีความหมายเพียงพอนี้ จะทำให้มีเหตุผลในการฝ่าฟันความยากลำบาก และลงมือกระทำให้ลุล่วงตามเป้าหมายที่คุณได้ตั้งไว้พอรู้การตระหนักในเป้าหมายชีวิตแล้ว ลองทบทวนเป้าหมายในชีวิตของคุณดูบ้าง นะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เที่ยวเว้กับครูอาร์ม (เวียตนาม)

เงินทองของนอกกายถ้าไปเว้ เรื่อง:

ภาพ พัศสรรค์ รักษ์มีธรรม
จุดประกายภารกิจแบกเป้เที่ยวเว้ ต้องยกเครดิตให้นิตยสาร F Chic Female Travel Magazine เล่มที่ไปเวียตนาม กับ มล.อรณิช กิตติยากร เล่มนั้นล่ะ เรียกเสียงฮือฮาจากเพื่อนๆ อยากให้ไปกัน
“ 5 วัน 6,000 บาท ผ่านลาวเข้าเว้-ดานัง-ฮอยอัน” เพื่อนเต่า หัวหน้าทริป ผู้ที่เคยไปย่ำต๊อกมาแล้วบอก
“ค่ารถไป-กลับ ค่าที่พัก 4 ดาว ค่าอาหาร ค่าเช่ารถเที่ยว 5 วัน น้ำมัน และค่าด่านผ่านแดน แต่ไม่รวมค่า
ช้อปปี้งนะ...จ่ายใครจ่ายมัน” เพื่อนเต่าอธิบายซ้ำทันทีเมื่อเห็นลูกทัวร์หยิบเครื่องคิดเลขมากด...มือระวิง
เอาล่ะซิ...ข้อเสนอเกินห้ามใจ ลูกทัวร์เลยหน้าบานรีบรวบรวมพลพรรครักของถูกได้ 7 คนพอดิบพอดี
ลุย............................
ล้อหมุนที่หมอชิตสองตอนเที่ยงคืน ถึงเช้าเข้าสู่ จ.มุกดาหาร เมื่อฝากท้องกับอาหารเช้า แถวตลาดอินโดจีน แต่ยังไม่วายเหล่ตาเดินดูสินค้าราคาถูกระลานตาข้างทางก็มีพรายกระซิบ
“ของในเวียตนามถูกมาก ราคาต่อได้เกินครึ่ง ซื้อที่นู้นดีกว่า เชื่อดิ...”
แค่นี้ล่ะ...พลพรรคนักช้อปก็หูผึ่ง รีบนั่งเรือข้ามแม่น้ำโขง เข้าฝั่งลาว ขึ้นท่าที่สะหวัตนะเขตทันที
เมื่อทำบัตรผ่านแดน เช็คพลาสปอร์ตเสร็จ เสียค่านู้นค่านี้ยิบย่อย ธรรมเนียมสารพัดแบบนี้มียันด่านเข้า
เวียตนามเลย ชาวคณะได้แต่ทำตาปริบๆ พูดอะไรมากไม่ได้ เพราะอยากเข้าเมืองเขานี่นาไม่จ่ายก็เรื่องเยอะเปล่าๆ
ดีนะที่ได้ค่ารถตู้แบบเหมารวม ที่ติดต่อในฝั่งลาวมีคนขับให้พร้อม 5 วัน ราคา 10,000 บาท ค่าน้ำมันอีก 3,000 บาท ทำให้ทริปนี้ไม่ต้องตาลีตาเหลือกหารถต่อให้วุ่นวาย ชาวคณะต่างปรีดาหน้าชื่น
“แหม...ทีแรกนึกว่าจะเที่ยวแบบโลโซ แต่พอมีรถตู้บริการ นอนแอร์ทุกคืน ไฮโซทันตาเห็น” ใช้เวลาหนึ่งวันเต็มกว่าจะหลุดจากสะวันเขต ลาวเข้าเวียตนาม ตามเส้นทางอินโดจีน ระยะทางกว่า 600 กิโลเมตร กับความเร็ว 80 ไมล์/ชั่วโมง แสน.....จะอึดอัดใจ... นี่ถ้าเป็นเมืองไทยระยะทางแค่ กทม.ไป เชียงใหม่ เหยียบเข้าไปเลย 120 ไมล์ขำขำ ไม่กี่ชั่วโมงก็ถึงแล้ว แต่ที่นี่กฎหมายเขาคุมเข้มกว่าของไทยมาก
เอ้า......น่า....เลือกอยากมาทางรถเองนี่น่า บ่นไปก็เท่านั้น ดีนะที่ได้ทิวทัศน์สวยๆ พักสายตาไปตลอด ทาง ตั้งแต่เข้าเวียตนาม เลียบภูเขา ป่าสน ดอยสูง น้ำตกและลำคลอง ลัดเลาะไปตามเทือกเขา เนินสูงต่ำที่มีตึกและบ้านสวยๆ สีสดใส สไตล์จีนและยุโรป แถมอากาศดีมากๆ จนอดใจแวะถ่ายรูปไม่ได้
เข้าเมืองเว้มาก็ดึกแล้ว หาที่พักระดับ 4 ดาวได้ในราคา 10 เหรียญ (340 บาท) ทั้งแอร์ น้ำอุ่น พร้อมเคเบิ้ล
เช้าตื่นมา หลังจากกินอาหารในร้านเรสเตอรองแล้ว แหม..บางคนอาจจะคิดว่าติดหรู แต่บอกตามตรงว่ามาเวียตนาม ต้องเลือกกินอาหารในภัตตาคารหรือร้านสวยๆ ที่มีป้ายบอกราคาเท่านั้น เพราะเคยลองมาหลายที่แล้ว นั่งกินริมฟุตปาทหรือในตลาดแบบชาวบ้านเขากินกัน ถูกฟันราคาโกงขึ้นไปอีก 2-3 เท่า ทั้งๆที่ตกลงราคากันแล้วนะ อย่างกรณี “คุณป้าพับแบงค์” ที่ขายเฝอหมูหน้าโรงแรมที่พวกเราไปพักเป็นตัวอย่าง
“ป้า..เฝอหมู..ชามเท่าไหร่” ถามเพราะอยากรู้ราคาก่อนกิน ซึ่งเป็นธรรมเนียมคนต่างด่าวเข้าถิ่นอยู่แล้ว
“ 10,000 ด่อง (20 บาท) เท่านั้นเองจ๊ะ” ป้าวัย 60 กว่า หยิบแบงค์หมื่นด่องขึ้นมาให้ดู เพื่อยืนยันราคา
“งั้นเอา..สามชามนะ” เมื่อสั่งเสร็จก็ก้มหน้าก้มตากินกันไป รสชาติก็ใช่ได้..อร่อยดี..แล้วเรียกเช็คบิล
“สามชาม 50,000 ด่อง ค่ะ” แค่นั้นล่ะ..ปัญหาโกลาหลก็ตามมา..แถมคุณป้าด่าเป็นภาษาเวียตนามอีก
ที่ราคาขึ้นทันตาเห็นเพราะเธอบอกว่าราคานักท่องเที่ยวอีกราคาหนึ่ง แน่ะ..มีอย่างนี้ด้วย ที่หยิบ 10,000 ด่องขึ้นมา แกพับไปอีกครึ่งหนึ่ง คือราคา 5,000 ด่อง คุณผิดเองที่ไม่ทันมอง (แน่ะ..) ชามละ 15,000 ด่อง 3 ชาม 45,000 ด่อง และอีก 5,000 ด่อง เป็นค่าทิป เห็นว่าพวกคุณมีตังค์ แค่นี้อย่างกกันเลย...จ่ายมา ฯลฯ
โห...คุณป้ามามุกไหนนี่..พี่ไทยต่างด่าวอย่างเราที่ว่าแน่....เข็ดเลย
ยังๆ มีอีกหลายกรณีกับของกินข้างทางที่กินเข้าไปแล้ว จะคายหรือถ่ายออกมาคืน ณ ตอนนั้นไม่ได้ทั้งร้านขนมใส่น้ำแข็งข้างทางถ้วยละ 10,000 ด่อง (จากราคาปกติ 5,000 ด่อง) ซาลาเปาลูกละ 5,000 ด่อง (จากราคาลูกละ 2,500 ด่อง) และสุดท้ายไฮไลต์ร้านขายอาหารริมทาง ไข่เจียวมื้อที่แพงที่สุดในโลก ....เอิ๊กกกกก
เหตุเพราะคณะทัวร์บางท่านกินเนื้อหมู เมนูยอดนิยมในเวียตนามไม่ได้ ระหว่างทางแวะร้านริมทางที่ดูซ่อมซ่อกับแม่ค้าสาวหน้าตาใสซื่อดูไม่มีพิษมีภัย กว่าจะอธิบายเรื่อง ฉันต้องการกินไข่เจียว ป้าๆ ช่วยกันเขียนรูปไข่และไก่เพราะพูดกันไม่รู้เรื่อง แต่แม่ค้าสาววิ่งไปจับไก่เป็นๆ จะมาสับคอให้กิน เล่นเอาร้องกันเสียงหลง ท้ายสุด....หลังจากผ่านวิบากกรรมระหว่างมื้อเป็นที่เรียบร้อย ได้ข้าวไข่เจียวหน้าตาประหลาดๆ มาโซ้ยกัน 4 จาน

แต่ราคาสุดเซอร์ไพร้ส์ 400,000 ด่อง......โอ... เล่นเอาอ้าปากหวอ....อยากเอาออกมาจากกระเพาะจริงๆ
เอ้า..พักเรื่องเสียรู้กับของกิน วกเข้าสู่สิ่งบันเทิงตาของแท้ ทริปนี้ขอยกให้ “นครจักรพรรดิ์ไดนอย”
เสียค่าเข้าชมคนละ 55,000 ด่อง ( 120 บาท) นครจักรพรรดิที่นี่ลอกเลียนแบบนครต้องห้ามของจีน
เป็นที่ประทับของกษัตริย์ราชวงศ์เหงียนถึง 13 พระองค์ ระหว่างปี ค.ศ. 1802-1945 ในตำหนักแห่งนี้มีทั้งวัดวาอาราม และสถานที่พักผ่อนอิริยาบถของกษัตริย์ มีกำแพงสูงถึง 3 ชั้น ชั้นสุดท้ายเข้าได้เฉพาะกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์เท่านั้น ภายในตำหนักแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่ยังหลงเหลืออยู่พร้อมทั้งบรรยากาศของท้องพระโรงที่สวยงาม
“พี่อาร์ม..กอลฟ์อยากใส่ชุดอ๋าวหย่าย..อยากซื้อ” ผมรีบหันไปมองหน้า เพื่อนสาวร่างใหญ่พันธ์โคนมที่ยิ้มแก้มปริ...ว่าแล้วก็เข้าร้านตัดชุด สนนราคา 405,000 ด่อง (900 บาท) ได้มาก็เริงร่าแล้วใส่ทันที่เมื่อถึงฮอยอัน...เธอคงนึกว่าเธอคือเจนนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ ดาราสาวที่เคยมาถ่ายหนังเรื่องฮอยอันฉันรักเธอ ทางช่อง 3 เป็นแน่
มีคำคมที่ชวนขบคิดเกี่ยวกับชุดอ๋าวหย่าย กันว่า เป็นศิลปะแห่งการซ่อนเร้นที่เผยความเซ็กซี่ของสรีระได้มากที่สุด สาวๆทีเวียตนามไม่เคยเห็นใครอ้วนเลย สรีระตกที่ประมาณ 24-26-35 ร่างอรชรอ้อนแอ่นใส่แล้วดูบางเบาสบายตา....ไม่เหมือน...เพื่อน..นน ผม..อ้าว...ยาย...อ๋าวหย่ายติ๋ม...
“พี่ๆ..มีคนชมกลอฟ์ว่าสวยเยอะมาก เกือบ 20 คน คนที่นี่จริงใจเนอะ เขาเห็นเราสวยก็ชม ฯลฯ”
จริงอย่างที่เธอว่า เพราะผมเห็นคนโฉบจักรยานเข้ามาแล้วบอกว่า “Thailand Big” แล้วรีบโฉบออกไป สาวกอลฟ์หน้าเสีย ....กลอฟ์เอ๋ย...ไทยแลนด์ใหญ่อ่ะ..หน้าอกไซซ์ ตั๊ก-บงกช ของเธอแน่ๆ
คณะทัวร์เฉพาะกิจของเรายังได้แวะเที่ยว ดานัง หมู่บ้านภูเขาหินอ่อน ริมทะเลแสนสวย ฮอยอัน เมืองมรดกโลกที่ทางนิตยสาร F Chic ได้มาเที่ยวแล้ว เรียกว่าเดินตามรอยว่างั้นเหอะ และสุดท้ายก็ยังไม่วายกลับมาลุยช้อปที่เว้ อดีตเมื่องหลวงที่เคยรุ่งเรืองแต่ราคาสินค้าแสนถูกที่ตลาดดองบา เป้ขนาดใหญ่ เมื่อไทยขาย 3,000 บาท ที่นี่ขาย 280 บาท ชุดอ่าวหยายตัวละ 100 บาท เสื้อดาวแดงตัวละ 30 บาท จากราคาที่ขายอยู่ ตัวละ 100 บาท ฯลฯ ถูกๆๆๆๆๆๆๆ นู้น นี่ นั่น ถูกๆๆๆ ช้อปซะเงินสะพัด
“เจ้ๆ...หมวกดาวแดงขายใบเท่าไหร่” ผมพูดพร้อมกับเตรียมเครื่องคิดเลขขนาดเท่าฝ่ามือเตรียมกดราคา
“สองใบร้อยบาทไทย ” แนะ...คนขายพูดไทยชัดด้วย และยังรับเงินไทยอีก
“ไม่เอาแพงไป.. 5 ใบร้อยได้ไหม “ ผมพูดอย่างเป็นแต้มต่อ...อย่างน้อยก็ได้กำไรเห็นๆ แล้วล่ะ
“ไม่ได้ ให้แค่ 4 ใบร้อย ไม่เอาก็เชิญ” โห..ดูเจ้แกไล่ลูกค้า เอ้า...เอาก็เอา เราได้เปรียบอยู่ เรื่องต่อราคานี่พี่ไทยเราฉลาดอยู่แล้ว เพราะศึกษามาเยอะ ในขนาดที่พลพรรครักของถูกหันมาให้ความสำคัญกับหมวกดาวแดง
“4 ใบร้อย ไม่แพงหรอก” ผมพูดเสียงดังพลางโชว์หมวกใส่ให้เพื่อนดู ด้วยความภาคภูมิใจ...เท่ซะ
แต่แล้ว.........ความภาคภูมิใจในการต่อรองราคาของผมก็ยุติลง กับบรรดาร้านค้าแถวนั้น
“พี่ๆ ร้านฉันขาย 6 ใบร้อย แบบเดียวกันนี่ไง” แม่ค้าอีกร้านที่ได้ยินหยิบหมวกดาวแดงให้ผมดู
เซ็งจิต...............
“ร้านฉัน 8 ใบร้อยเอาไหม” พ่อค้าอีกคนร้านถัดไป หยิบหมวกดาวแดงมาเป็นปึกๆๆโชว์บ้าง
เซ็งโครต..........
“มานี่ดีกว่าพี่ ร้านฉันขาย 8 ใบแถม อีก 1 ใบ ร้อยเดียว”
เซ็งฉิบ...ห.....า..........
“โห....พี่...ร้านฉันถูกกว่าเยอะ มาเอาไปเลย 10 ใบ ร้อยเดียว ม๊า”
อู๊ดๆๆๆๆ!!!!!!!!!!!!!!!!! เสียงหมูถูกเชือดประสานดังแว่วจากกลุ่มเพื่อนๆพร้อมเสียงหัวเราะ……..
จริงอย่างที่ว่า ทริปนี้ 5 วัน 6,000 บาท เป็นไปตามงบ เพื่อนเต่าคณะทัวร์เลยรอดตัวไป เงินที่บานปลายคือเงินช้อปปิ้งส่วนตัวที่ละเลงไปกับของฝากของใช้ ก็แต่ละอย่างที่ซื้อมาถูกกว่าครึ่งของเมืองไทย เงินทองของนอกกายจริงๆ ถ้ามาที่เว้...ขอบอก..

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับภาษาไทย









แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงศึกษาภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน และภาษาละติน ในขณะที่ทรงเข้ารับการศึกษาที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ แต่พระองค์ก็ทรงศึกษาภาษาไทยอย่างจริงจังด้วย และทรงพระปรีชาสามารถในการใช้ภาษาไทยได้อย่างจับใจประชาชนตั้งแต่ทรงดำรงพระยศเป็นพระอนุชาธิราช ทรงมีผลงานด้านวรรณกรรมและการแปล รวมทั้งสิ้น ๑๗ เรื่อง ดังนี้
วรรณกรรมทรงพระราชนิพนธ์
พระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชานุกิจรัชกาลที่ ๘
ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวกิจวัตรของรัชกาลที่ ๘ ทั้งกิจวัตรส่วนพระองค์ พระราชกิจ และพระราชานุกิจขณะเสด็จประพาสสถานที่ต่างๆ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในการพระราชกุศล ๑๐๐ วันพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งภาษาที่ทรงใช้จะเป็นภาษาที่สั้น กระชับ และได้ใจความชัดเจน
พระราชนิพนธ์เรื่อง “เมื่อข้าพเจ้าจากสยามสู่สวิตเซอร์แลนด์”
ทรงพระราชนิพนธ์เพื่อพระราชทานเป็นพิเศษแก่หนังสือวงวรรณคดี ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นพระราชนิพนธ์รูปแบบบันทึกประจำวัน ตั้งแต่เสด็จฯ จากประเทศไทย เพื่อไปทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ช่วงก่อนเดินทางจากเมืองไทยไปยังตำหนักวิลลาวัฒนา คือ ระหว่างวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ซึ่งพระราชนิพนธ์นี้ ทรงพรรณนาความรู้สึกของพระองค์ขณะจากเมืองไทย สะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความผูกพัน และความห่วงใยในพสกนิกรของพระองค์

พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ แห่งวัดราชผาติการาม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เรื่องพระมหาชนกเสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยานในกรุงมิถิลา พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัย จึงทรงค้นคว้าเรื่องพระมหาชนเพิ่มเติมในพระไตรปิฏก และทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ และแปลเป็นภาษาสันสกฤตอีกภาษาหนึ่ง ก่อนจะแปลเป็นฉบับการ์ตูน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อให้อ่านและเข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถพิจารณาหาแนวดำเนินชีวิตที่เป็นมงคลได้



พระราชนิพนธ์เรื่องทองแดง




พระราชนิพนธ์เรื่องนี้ ได้แฝงข้อคิดคติธรรมที่มีคุณค่า โดยเฉพาะความกตัญญูรู้คุณของทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑









งานแปล



ผลงานแปลชิ้นแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทรงแปลจากหนังสือ Tito ของ Phyllis Auty ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เพื่อให้ข้าราชบริพารได้ทราบถึงบุคคลที่น่าสนใจคนหนึ่งของโลก ติโต เป็นผู้ที่ทำให้ประเทศยูโกสลาเวียที่ประกอบด้วยประชาชนจากหลากหลายชนเผ่า มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ สามารถรวมตัวกันเป็นปึกแผ่นยามที่ประเทศชาติต้องพบกับภาวะวิกฤติ เพื่อร่วมกันรักษาความอุดมสมบูรณ์ และความเจริญของประเทศไว้ หนังสือติโตนี้ ได้จัดพิมพ์เป็นเล่ม และวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๓๗



เศรษฐศาสตร์ตามนัยของพระพุทธศาสนา
บทที่ ๔ เล็กดีรสโต แปลจาก Small is Beautiful โดย E.F.Schumacher หน้า ๕๓-๖๓


นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ

เป็นงานแปลชิ้นที่สองของพระองค์ท่าน โดยทรงแปลจากหนังสือ A Man Called Intrepid ของ William Stevenson ทรงเริ่มแปลหน้าแรกเมื่อ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ และแปลหน้าสุดท้ายเมื่อ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยใช้เวลาในการแปลรวมทั้งสิ้น ๒ ปี ๙ เดือน ๓ วัน แต่ได้นำมาจัดพิมพ์เพื่อวางจำหน่ายก่อนหนังสือติโต ซึ่งทรงแปลเป็นเล่มแรก คือจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖

บทความที่ทรงพระราชนิพนธ์แปลและเรียบเรียง
“ข่าวจากวิทยุเพื่อสันติภาพและความก้าวหน้า” จาก “Radio Peace and Progress” ในนิตยสาร Intelligence Digest ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘
"การคืบหน้าของมาร์กซิสต์" จาก "The Marxist Advance" Special Brief
"รายงานตามนโยบายของคอมมูนิสต์" จาก "Following the Communist Line"
"ฝันร้ายไม่จำเป็นจะต้องเป็นจริง" จาก "No Need for Apocalypse" ในนิตยสาร The Economist ฉบับลงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘
"รายงานจากลอนดอน" จาก " London Report" ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๘
"ประเทศจีนอยู่ยง" จาก "Eternal China" ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘
"ทัศนะน่าอัศจรรย์จากชิลีหลังสมัยอาล์เลนเด" จาก "Surprising Views from a Post Allende Chile" ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘
"เขาว่าอย่างนั้น เราก็ว่าอย่างนั้น" จาก " Sauce for the Gander..." ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘
"จีนแดง ตั้วเฮียค้ายาเสพติดแห่งโลก" จาก "Red China Drug Pushers to the World " ในนิตยสาร Intelligence Digest Weekly Review ฉบับลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๘
"วีรบุรุษตามสมัยนิยม" จาก " Fashion in Heroes" โดย George F. Will ในนิตยสาร Newsweek ฉบับลงวันที่ ๖ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒

จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระปรีชาสามารถในหลายภาษา ทำให้พระองค์ทรงเข้าพระทัยในการที่จะพระราชนิพนธ์หรือแปลได้อย่างผู้ที่เข้าถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียนต้นฉบับ สำหรับพระราชนิพนธ์แปล จะทรงแปลตามความมากกว่าแปลตามคำ ด้วยเหตุที่ทรงเลือกสรรถ้อยคำให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ผู้อ่านจะสื่อเรื่องราวได้ ทำให้พระราชนิพนธ์แปลของพระองค์ มีอรรถรสแบบไทยแทรกพระอารมณ์ขันไว้ได้อย่างเหมาะสม
สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะด้านวรรณศิลป์ของพระองค์อย่างสมบูรณ์ คือพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ซึ่งพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษในเล่มเดียวกัน และจะทรงเลือกใช้ภาษาโบราณ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อคงความขลังของเนื้อหาในบางตอน ซึ่งในเรื่องพระมหาชนกนี้ พระองค์ได้ทรงแสดงพระอัจฉริยภาพด้านทัศนศิลป์ไว้ด้วย นั่นคือภาพประกอบฝีพระหัตถ์ของพระองค์ โดยทรงใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพแสดงเส้นทางเดินเรือของพระมหาชนก รวม ๔ ภาพ คือภาพวันที่ควรออกเดินทาง ภาพวันเดินทาง ภาพวันที่เรือล่ม และภาพพระมหาชนกทรงว่ายน้ำ และนอกจากนี้ พระราชนิพนธ์แปลของพระองค์ จะทรงเลือกสรรคำ โดยเฉพาะพระองค์ทรงโปรดที่จะใช้คำแปลกๆ เพื่อให้พระราชนิพนธ์ของพระองค์มีสีสัน

การต่อสู้ของความคิด คนที่ชื่อว่าครู



วิธีจัดการกับนักเรียนที่ชอบเล่นมากกว่าเรียน ทำจริงได้ผลจริง ทดลองแล้ว

สืบเนื่องจากบันทึก"รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ( สุภาษิตที่กำลังสูญพันธุ์) " ผู้เขียนซึ่งสอนประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เจอปัญหาที่อยากปล่อยวาง คิดว่าแล้วแต่เวรแล้วแต่กรรมของนักเรียนแต่ละคนก็แล้วกัน แต่เวรกรรมของครูดูจะมีมากกว่าของนักเรียน เมื่อเจอเข้ากับโครงการป.2 อ่านคล่องพูดเก่งของเขตพื้นที่การศึกษาเข้า ได้ไปอบรมและรับทราบมาว่าจะมีการสอบการอ่าน การเขียน นักเรียนเป็นรายบุคคลทุกคน ผู้บริหารก็สั่งตรงลงมาว่าครูต้องจัดการหาวิธีการทำให้นักเรียนผ่านเกณฑ์ให้ได้ มีการติดตามและให้รายงานเป็นระยะ ไม่ทำไม่ได้ ทำในเวลาไม่ได้ก็ต้องหาเวลานอก ผู้สอนก็อยากสอนทั้งซ่อมทั้งเสริมอยู่หรอก แต่คุณลูกศิษย์ที่รักไม่ยอมให้ความร่วมมือเลย ในเวลาเรียนท่านเล่น แล้วเวลาพัก เวลานอกท่านจะยอมเรียนหรือ (ทีนี้ความทุกข์ก็บังเกิดอย่างท่วมท้นเสียยิ่งกว่าสามีแอบไปมีกิ๊กเสียอีก เพราะจะไปอาละวาดเอากับใครก็ไม่ได้ ) พอบอกนักเรียนที่ทำงานเรียบร้อยแล้วไปเล่นได้ ท่านวิ่งปร๋อออกนอกห้องก่อนใคร เลยได้สมญานามว่า "ลูกวัวหลุดคอก" นักเรียนคนนี้เป็นลูกวัวหลุดคอกมาเป็นเวลา เกือบ 3 เดือนนับตั้งแต่เปิดเทอมมา สุดท้ายผู้เขียนคิดว่า ในเมื่อใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ แล้วไม่ได้ผล ลองกลับไปหาวิธีดั้งเดิมบ้างคงไม่เสียหายอะไร จึงจัดห้องเรียนใหม่ให้มีพื้นที่ว่างหน้ากระดานพอสำหรับให้นักเรียนนั่งได้ทุกคน ไม่มีสมุด ไม่มีดินสอ ไม่มีสิ่งใดติดมือมาสักชิ้นเดียว แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มนั่งเป็นแถว เวลาฝึกอ่านนักเรียนทุกคนต้องตามองกระดานหรือแผนภูมิคำพื้นฐาน ห้ามมองหน้าครู ( มองหน้าครูก็ไม่เห็นตัวหนังสือซิ)แผนภูมินี้ใช้เยอะมาก ได้ผลดี แผ่นหนึ่งมี 4 - 5 แถว แถวละ 10-11 คำ เริ่มจากสะกดตามครูทีละคำ สะกดพร้อมกัน แล้วอ่านเป็นคำ วันแรกอ่านแผนภูมิแถวแรกประมาณ 10 คำ แล้วให้คัดคำทั้ง 10 ลงสมุดและแต่งประโยค วันที่สองอ่านทบทวนคำเก่า จนได้ทุกคำทุกกลุ่ม เน้นว่าแรก ๆ เอาแค่เป็นรายกลุ่มก่อน (พอนักเรียนอ่านได้ก็ยกยอไปว่ากลุ่มลูกวัวหลุดคอกอ่านได้แล้วเก่งจัง กลุ่มอื่นจะยอมแพ้ลูกวัวไหม ) แล้วค่อยเริ่มคำในแถวที่ 2 ทำอย่างนี้จนครบทั้ง 4 แถว แผนภูมิหนึ่งแผ่นใช้เวลา 4 วัน ได้คำประมาณ40-44 คำ จึงขึ้นแผนภูมิแผ่นต่อไป ในการแต่งประโยคนักเรียนคนอื่นก็ให้ทำเอง ลูกวัวหลุดคอก ก็ต้องมายืนทำที่โต๊ะครู แรก ๆ ครูช่วยคิดประโยคง่าย ๆ ให้นักเรียนเขียนโดยช่วยกันสะกดทีละคำทั้งครูทั้งนักเรียน จนหลัง ๆ นักเรียนจะสามารถคิดประโยคได้เอง แต่ยังเขียนไม่ถูก ครูก็ช่วยสะกดให้ฟัง ทำจนครบ วันละ 10-11 ข้อ จึงปล่อยให้ไปเล่นได้ ทำทุกวันโดยใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ลูกวัวหลุดคอกก็อ่านคำพื้นฐานที่จะสอบได้ทุกคำที่สอน ( เพราะคำพื้นฐานมีพันกว่าคำ จึงเลือกสอนเป็นบางคำประมาณ 450 คำ เนื่องจากเวลาจำกัด) การเขียนก็พอเอาตัวรอดได้ ที่สำคัญหลังการประเมินผู้เขียนได้นำคำที่เหลือทั้งหมดที่สอนไม่ทันมาให้นักเรียนฝึกอ่านแล้วจดไปทำเป็นการบ้านแต่งประโยคทุกวันวันละ 1 แถวเหมือนเดิม นักเรียนคนนี้ขอทำที่โรงเรียน โดยพัฒนาขึ้นคือนั่งทำที่โต๊ะตนเอง ( ก็ใกล้กับโต๊ะครูที่สุด) เมื่อนึกไม่ออกเขียนไม่ได้ค่อยถามครู ด้วยเหตุผลอันแสนน่ารักว่า กลับบ้านจะได้เล่นได้เต็มที่ ผู้เขียนเลยรอดด้วยประการฉะนี้แล บางทีของโบราณอาจดูไม่น่าสนใจ นำเสนอผลงานไม่ได้ แต่ใช้ได้ผลดี ไม่ยาก ไม่แพง ไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ ใครสนในนำไปประยุกต์ใช้ดู ก็ไม่ว่ากัน ผู้เขียนยอมเป็นคนเชย ล้าสมัย หากจะทำให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้จริง ยังมีวิธีการเชย ๆอีกอย่างที่อยากนำมาเล่าสู่กันในหมู่คนหัวอกเดียวกัน ถ้ายังไม่เบื่อหรือคิดว่าไม่ได้เรื่องราวอะไร ผู้เขียนจะแวะมาทักทายด้วยความเชยที่เต็มใจยิ่ง...แล้วค่อยพบกันใหม่....อ่านแล้วคิดเห็นเป็นอย่างไรพร้อมรับความคิดเห็นทุกเวลา...ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับเพื่อนหัวอกเดียวกัน

จิตวิญญาณของครู


...เรื่องมีอยู่ว่า มีเด็กนักเรียน ม.1 ไม่ยอมมาเรียน... ทำให้ผู้ปกครองมีความผิด ต้องติดคุก...

อาทิตย์ที่ผ่านมาผมกลับไปบ้านที่จังหวัดน่าน ได้มีเวลาออกมาเดินเล่นตอนเย็น ๆ บริเวณโรงเรียนบ้านไร่ อ.ปัว ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีตั้งแต่ระดับ ประถมจนถึงมัธยม 3 มีนักเรียนประมาณ 200 กว่าคน เด็กนักเรียนส่วนใหญ่อยู่กับปู่-ย่า, ตา-ยาย เนื่องจากพ่อแม่ต้องออกไปทำงานที่ต่างจังหวัด (กรุงเทพฯ) แล้วส่งเงินมาให้เป็นค่าเลี้ยงดู นาน ๆ จะกลับบ้านสักครั้ง ครูส่วนใหญ่ที่สอนในโรงเรียนจะเป็นครูในพื้นที่ ได้คุยกับครูท่านหนึ่งที่สอนที่โรงเรียนนี้มานาน แกมีเรื่องสนุก ๆ ที่เป็นพฤติกรรมของเด็กนักเรียนที่ชอบโดดเรียนและวิธีการแก้แบบแปลก ๆ แต่ก็ได้ผลดี ผมฟังแล้วอดที่จะนำบางเรื่องมาเล่าให้ฟังไม่ได้... เรื่องมีอยู่ว่า มีเด็กนักเรียน ม.1 ไม่ยอมมาเรียนเป็น อาทิตย์ เมื่อครูประจำชั้นไปตามที่บ้านถามนักเรียนว่าทำไมไม่มาเรียน มีปัญหาอะไรหรือเปล่า เด็กกลับตอบว่า ขี้เกียจมาเรียน โดยผู้ปกครอง-ครูจะบังคับก็ไม่ได้ แกจึงออกอุบายโดยไปคุยกับตาของเด็กว่า จะให้ตำรวจมาคุยกับเด็ก และให้พาตาของเด็กไปอยู่ที่โรงพัก สัก 1วันเนื่องจากเด็กไม่ยอมไปเรียนหนังสือ ซึ่งเป็นการทำผิดกฏหมาย ตาของเด็กก็ยินดีที่จะทำตาม (โดยหยุดงานหนึ่งวัน) วันต่อมาตำรวจได้ไปที่บ้านของเด็ก และทำการจับตา ไปโรงพัก ตามที่ตกลงกันไว้ และตำรวจได้บอกกับเด็กว่า เด็กไม่ยอมไปเรียน ทำให้ผู้ปกครองมีความผิด ต้องติดคุก... ได้ผลครับ วันต่อมา เด็กได้มาเรียนตามเดิม และก็ไม่ยอมขาดเรียนโดยไม่จำเป็นอีกเลย ... จากที่ฟัง ผมได้คติหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความพยามของครูที่ตั้งใจดูแลศิษย์ ความอ่อนแอของชุมชนในชนบทที่พ่อ-แม่ต้องไปทำงานที่ต่างจังหวัด ไม่มีเวลาดูแล-สั่งสอนอย่างใกล้ชิด ความร่วมมือกันของตำรวจ ครูและชาวบ้านที่เป็นคนในท้องถิ่น ช่วยกันดูแลลูกหลานและลูกศิษย์ ครับ ถ้าสังคมยังเป็นสังคมที่ช่วยเหลือกัน ใส่ใจดูแลซึ่งกันและกัน ผมว่าสังคมคมจะสงบกว่านี้ครับ

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราชหลักที่ 1 ด้านที่ 2


ศิลาจารึก ด้านที่ ๒
ยินรยกเมือถาม สวนความแก่มนนด๋วยซื่ ไพร่ใน เมืองสุโขไทนี๋จึ่งชม สร๋างป่าหมากป่าพลูท่ววเมือ- งนี๋ทุกแห่ง ป่าพร๋าวก่หลายในเมืองนี๋ ป่าลาง ก่หลายในเมืองนี๋ หมากม่วงก่หลายในเมืองนี๋ หมากขามก่หลายในเมืองนี๋ ใครสร๋างได๋ไว๋แก่มนน กลางเมืองสุโขมัยนี๋ มีน๋ำตระพงงโพยสีใสกินดี …ฎ่งงกินน๋ำโขงเมื่อแล๋ง รอบเมืองสุโขไทนี๋ตรี- บูรได๋สามพนนสี่ร๋อยวา คนในเมืองสุโขไทนี๋ มกกทาน มกกทรงศีล มกกโอยทาน พ่อขุนรามคํแหง เจ๋าเมืองสุโขไทนี๋ ท๋งงชาวแม่ชาวเจ๋า ท่วยป่ววท่วยนา- ง ลูกเจ๋าลูกขุนท๋งงสิ๋นท๋งงหลาย ท๋งงผู๋ชายผู๋ญีง ฝูงท่วยมีสรธาในพระพุทธศาสนทรงสีลเมื่อพรน ษาทุกคน เมื่อโอกพรนษากรานกถิน เดือนณึ่งจิ่- งแล๋ว เมื่อกรานกถินมีพนมเบี๋ย มีพนมหมาก มี พนมดอกไม๋ มีหมอนน่งงหมอนโนน บริพารกถินโอ- ยทานแล๋ปีแล๋ญิบล๋านไปสูตญัติกฐินเถืงอ- รญญิกพู๋น เมื่อจกกเข๋ามาวยงรยงแต่อร- ญญิกพู๋นเท่าหววลานดดํบงคํด๋วยสยงพาดสยงพี- นสยงเลื๋อนสยงขับ ใครจกกมกกเหล๋นเหล๋น ใครจก- กมกกหวว หววใครจกกมกกเลื๋อน เลื๋อน เมืองสุ- โขไทนี๋มีสี่ปากปตูหลวง ท๋ยนญ่อมคนเสียดกนน เข๋ามาดูท่านเผาทยนท่านเหล๋นไฟ เมืองสุโขไทนี๋ มีฎ่งงจกกแตก กลางเมืองสุโขไทนี๋มีพิหาร มี พระพุทธรูปทอง มีพระอฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอนนใหญ่ มีพระพุทธรูปอนน ราม มีพิหารอนนใหญ่มีพิหารอนนราม มีปู่ ครูนิไสยมุตก์ มีเถร มีมหาเถรเบื๋องตะวนนตก เมืองสุโขไทนี๋มีอไรญิก พ่อขุนรามคํํแหงกทำ โอยทานแก่มหาเถร สงงฆราชปราชญ์รยนจบปิดกไตร หลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี๋ ทุกคนลุกแต่เมืองสรีธ- รมมราชมา ในกลางอรญญิก มีพิหารอนนณึ่งมน ใหญ่ สูงงามแก่กํ มีพระอฏฐารศอนนณึ่งลุกยื- น เบื๋องตะวนนโอกเมืองสุโขไทนี๋มีพิหารมีปู่ครู มีทเลหลวงมีป่าหมากป่าพลูมีไร่มีนามีถิ่นถ๋าน มีบ๋านใหญ่บ๋านเลก มีป่าม่วงมีป่าขาม ดูงามฎงงแกล้
แปลความได้ว่า
เมือถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม
สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน กลางเมืองสุโขทััยนี้ มีน้ำตระพังโพยสีใสกินดี…ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้ญีงฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐิน เดือนหนึ่งจึงแล้ว เมื่อกรานกฐินมีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกถินโอยทานแล้ปีแล้ญิบล้าน ไปสูตญัติกฐินถึงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงแต่อรัญญิกพู้น เท่าหัวลานดํบงคํด้วยเสียงพาดเสียงพิณเสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเหล้นเหล้น ใครจักมักหัว หัวใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เที้ยนย่อมคนเสียดกันเข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่มีพิหารอันราม มีปู่ครูนิสัยมุตก์ มีเถร มีมหาเถรเบื้องตะวันตก
เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถร สังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตรหลวกกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันหนึ่งงมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฏฐารศอันหนึ่งลุกยืน เบื้องตะวันออกเมืองสุโขทัยนี้มีพิหารมีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่มีนามีถิ่นถ้าน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วงมีป่าขาม ดูงามดั่งแกล้ (งแต่)ง

หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ 1 ด้านที่ 1

หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงหลักที่หนึ่ง ด้านที่ 1

อักขรวิธีดั้งเดิม ศิลาจารึก ด้านที่ ๑
พ่อกูชื่สรีอินทราทีตย แม่กูชื่นางเสือง พี่กูชื่บานเมือง ตูมีพี่น๋องท๋องดยวห๋าคน ผู๋ชายสาม ผู๋หญิงโสง พี่เผือ ผู๋อ้ายตายจากเผือตยมแต่ญงงเลก เมื่อกูขึ๋นใหญ่ได๋ สิบเก๋าเข๋า ขุนสามชนเจ๋าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหววซ๋าย ขุนสามชนขับมาหววขวา ขุนสาม ชนเกลื่อนเข๋า ไพร่ฟ๋าหน๋าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจแจ้ น กูบ่หนี กูขี่ช๋างเบกพล กูขับเข๋าก่อนพ่อกู กูต่อ ช๋างด๋วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช๋าง ขุนสามชนตววชื่ มาสเมือง แพ๋ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึ่งขึ๋นชื่กู ชื่พระรามคํแหง เพื่อกูพุ่งช๋างขุนสามชน เมื่- อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได๋ตวว เนื้อตววปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได๋หมากส๋มหมากหวา- น อนนใดอนนกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตี- หนังวงงช๋างได๋ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ๋านท่เมื- อง ได๋ช๋างได๋งวง ได๋ป่ววได๋นางได๋เงือนได๋ทอง กูเอา มาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบํเรอแก่พี่ กู ฎงงบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได๋เมืองแก่กูท๋งง (ก)ลํ เมื่อช่ววพ่อขุนรามคํแหง เมืองสุโขไทนี๋ดี ในน๋ำ มีปลา ในนามีข๋าว เจ๋าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่- อนจูงวววไปค๋า ขี่ม๋าไปขาย ใครจกกใคร่ค๋าช๋างค๋า ใคร จกกใคร่ค๋าม๋าค๋า ใครจกกใคร่ค๋าเงือนค๋าทองค๋า ไพร่ฟ๋าหน๋าใส ลูกเจ๋าลูกขุนผู๋ใดแล๋ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อ เสื้อคำมนน ช๋างขอลูกเมียยียเข๋า ไพร่ฟ๋าข๋าไท ป่า หมากป่าพลูพ่อเชื้อมนน ไว๋แก่ลูกมนนสิ้น ไพร่ฟ๋า ลูกเจ๋าลูกขุน ผิ๋แล๋ผิดแผกแสกว้างกนน สวนดู แท้แล จึ่งแล่งความแก่ขาด๋วยซื่ บ่เข๋าผู๋ลกกนกกมกก ผู๋ซ่อน เหนข๋าวท่านบ่ใคร่พีน เหนสินท่านบ่ใคร่เดือ- ด คนใดขี่ช๋างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่อยเหนือเฟื้อ กู้ มนนบ่มีช๋างบ่มีม๋า บ่มีป่ววบ่มีนาง บ่มีเงือ- นบ่มีทอง ให๋แก่มนน ช่อยมนนตวงเปนบ๋านเปนเมือ- ง ได๋ข๋าเสือกข๋าเสือ หววพุ่งหววรบก่ดี บ่ข๋าบ่ตี ใน ปากปตูมีกดิ่งอนนณึ่งแขวนไว๋ห๋นน ไพร่ฟ๋าหน๋า ปกกลางบ๋านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจบท๋อง ข๋องใจ มนนจกกกล่าวเถิงเจ๋าเถิงขุนบ่ไร้ ไปล่นนก- ดิ่งอนนท่านแขวนไว๋ พ่อขุนรามคํแหงเจ๋าเมืองได๋
แปลความได้ว่า
พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือตั้งแต่ยังเล็ก
เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจะแจ้น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึ่งขึ้นชื่อกูชื่อพระรามคำแหง เพราะกูพุ่งช้างขุนสามชน
เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดอันกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวง ได้ปั่วได้นางได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้ง(ก)ลม
เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า
ไพร่ฟ้าหน้าใสลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอลูกเมียเยียเข้า ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น
ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแล้ผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล จึ่งแล่งความแก่เขาด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลักนักมักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พีน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่อยเหนือเฟื้อกู้ มันบ่มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงินบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก่ดี บ่ข้าบ่ตี
ในปากประตูมีกดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกระดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้

ธงชาติไทย


ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน โดยภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ ซึ่งแถบสีน้ำเงินนี้ใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสามสถาบันหลักของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4) กลับด้าน และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับฝ่ายสัมพันธมิตร
ลักษณะของธงชาติไทยนั้น มีความคล้ายคลึงกับธงชาติคอสตาริกา ซึ่งเป็นประเทศในทวีปอเมริกากลางมาก ต่างกันที่เรียงแถบสลับสีเท่านั้น
ในพระราชนิพนธ์ "เครื่องหมายแห่งไตรรงค์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2464 ได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า สีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนาและธรรมะ สีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์ แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอดรัชสมัยของพระองค์
ต่อมาเมื่อ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีบันทึกเรื่องธงชาติ ใน พ.ศ. 2470 เพื่อรวบรวมความคิดเห็นในเรื่องการเปลี่ยนแปลงธงชาติจากบุคคลกลุ่มต่างๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมีการเปลี่ยนธงชาติหลายครั้ง กรมราชเลขาธิการได้รวบรวมความเห็นเรื่องนี้จากที่ต่างๆ รวมทั้งในหนังสือพิมพ์ เพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งในบรรดาเอกสารดังกล่าว ปรากฏว่าในหมู่ผู้ที่สนับสนุนให้ใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติต่อไป ได้มีการให้ความหมายของธงที่กระชับกว่าเดิม กล่าวคือ สีแดงหมายถึงชาติ สีขาวหมายถึงศาสนา สีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ ซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 ไปเล็กน้อย แต่ยังครอบคลุมอุดมการณ์ "ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" ที่พระองค์ทรงกำหนดไว้เช่นเดิม และยังเป็นที่จดจำสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น


เรื่องสั้น การเขียนเรื่องสั้น เรื่องสั้นเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่ง ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกมีความยาวประมาณ 1000-10000 คำ ผู้เขียนเขียนขึ้นโดยใช้จินตนาการของตนเองอย่างสมจริงสมจัง มีขนาดสั้น ตัวละครไม่มาก ดำเนินเรื่องด้วยความรวดเร็วและมีจุดมุ่งหมายเดียวโดยอาศัยศิลปะการเขียนที่ชวนให้น่าอ่านและมีคติธรรมแทรก j. Berg Esenwien ได้กล่าวถึงลักษณะเรื่องสั้นที่ดีไว้ว่า

1. ต้องมีพฤติการอันสำคัญอันเป็นต้นเรื่องแต่เพียงอย่างเดียว

2. ต้องมีตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในท้องเรื่องแต่เพียงตัวเดียว

3. ต้องมีจินตนาการหรือมโนภาพให้ผู้อ่านคล้อยตามไปด้วย

4. ต้องมีพล๊อตหรือการผูกเค้าเรื่องให้ผู้อ่านฉงนหรือสนใจ

5. ต้องมีความแน่นหรือเขียนอย่างรัดกุม

6. ต้องมีการจัดรูป ลำดับพฤติการณ์ให้มีชั้นเชิงชวนอ่าน

7. ให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์หรือความรู้สึกอย่างใดอย่างนึง

ชนิดของเรื่องสั้น การเขียนเรื่องสั้น แยกเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้

1. ชนิดผูกเรื่อง (plot Story) คือเรื่องสั้นที่มีโครงเรื่องซับซ้อนและจบลงในลักษณะที่ผู้อ่านคาดไม่ถึง

2. ชนิดเพ่งเล็งที่จะแสดงลักษณะของตัวละคร (Character Story) คือเรื่องสั้นที่เน้นตัวละครเป็นใหญ่หรือเน้นให้ตัวละครเป็นผู้เล่าเรื่องหรือดำเนินเรื่อง โดยต้องการแสดงลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของตัวละครเป็นสำคัญ

3. ชนิดถือเป็นฉากเป็นสำคัญ (Atmosphere Story) คือ เรื่องสั้นที่ผู้เขียนบรรยายฉากหรือสถานที่หรือแห่งนั้น ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึก ทำให้ผู้เกิดความรู้สึกคล้อยตามอารมณ์และและความคิดของตัวละคร

4. ชนิดที่แสดงแนวความคิดเห็น (Theme Story) คือ เรื่องที่ผู้เขียนมีอุดมคติหรือต้องการชี้ให้เห็นข้อคิดหรือสัจธรรมของชีวิต ฐะปะนีย์ นาครทรรพ ได้เสนอการเขียนเรื่อสั้นไว้ว่า “พึ่งประสบการณ์อ่านให้มาก นึกอยากเขียน เพียรฝึกฝน สนใจมนุษย์ จุดหมายเด่น เฟ้นภาษา หาเชื้อเพลิงและสำเริงอารมณ์” วิธีเขียนเรื่องสั้น

วิธีเขียนเรื่องสั้นให้น่าอ่านชวนให้ติดตามควรมีรายละเอียดต่อไปนี้คือ

1. เค้าโครงเรื่อง (plot) คือ การสร้างเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมาเริ่มเรื่องและจบเรื่อง

การสร้างโครงเรื่องนี้มีหลัก 3 ประการคือ

1.1 โครงเรื่องต้องมีความสับสนวุ่นวาย มีปัญหาต้องแก้ไข มีการผูกปมที่ซับซ้อน

1.2 ในการดำเนินเรื่อง จะไม่ราบรื่น หากแต่ต้องมีอุปสรรคทำให้เรื่องสนุก หรือมีเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้อ่านรอคอยต่อไป

1.3 ปมนั้นค่อยๆคลี่คลาย จนถึงจุดสุดยอดของเรื่อง (cli-max) เป็นการจบหรือปิดเรื่อง

2. ตัวละคร

2.1 สร้างตัวละครให้สมจริง

2.2 การแสดงอุปนิสัยของตัวละครอาจบรรยายหรือเป็นบทที่ตัวละครพูดเอง

2.3 การแสดงอุปนิสัยของตัวละครต้องเสมอต้นเสมอปลายตั้งแต่เริ่มเรื่องจนจบเรื่อง

2.4 ตัวละครไม่มากเกินไป

3. ฉาก เป้นสถานที่หรือสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบรรยากาศต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเรื่อง

3.1 เลือกฉากให้เหมาะสมกับเรื่อง และดำเนินเรื่องตามบรรยากาศที่ถูกต้อง

3.2 ผู้เขียนต้องเขียนฉากที่ตนรู้จังดีที่สุด เพราะจะได้ภาพที่แจ่มชัด

4. บทสนทนา มีข้อปฏิบัติคือ

4.1 ไม่พูดนอกเรื่อง

4.2 เป็นคำพูดนอกเรื่อง

4.3 เป็นคำพูดง่ายต่อการเข้าใจ เหมาะสมแก่ฐานะของตัวละคร

4.4 รู้จักหลากคำ ไม่ใช้คำซ้ำซาก

5. การเปิดเรื่อง เป็นหัวใจของการเขียนเรื่อง เพราะจะทำให้ผู้อ่านติดตามต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวิธีการเปิดเรื่อง ซึ่งมีอยู่หลายวิธี คือ

5.1 สร้างเหตุการณ์หรือการกระทำให้เกิดความสนใจ น่าตื่นเต้น

5.2 เปิดเรื่องโดยใช้บทสนทนาที่มีถ้อยคำแปลกในความหมายและเนื้อเรื่อง ก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากติดตามเรื่องต่อไป

5.3 เปิดเรื่องโดยการพรรณนา พรรณนาฉาก หรือบรรยายฉากที่ชวนให้ผู้อ่านสนใจ

6. การดำเนินเรื่อง ต้องคำนึงถึงคือ

6.1 ควรดำเนินเรื่องไปสู่จุดหมายโดยเร็ว

6.2 ปมของเรื่องควรมีความขัดแย้ง 1 แห่ง แล้วค่อยๆคลายปมทีละน้อย สมดังความปรารถนาของผู้อ่านที่รอคอย

7. การปิดเรื่อง เป็นตอนที่สำคัญที่สุด ผู้อ่านจะทราบว่าเรื่องจะจบลงอย่างไร ซึ่งเป็นจุดสุดยอดของเรื่อง คือ 7.1 จบลงโดยที่ทำให้ผู้อ่านประหลาดใจ คาดไม่ถึง

7.2 จงลงด้วยความสมปรารถนา หรือสิ้นหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการเขียนเรื่องสั้นนั้น จะเลือกเขียนในแนวใดก็ได้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความรู้และอารมณ์ของแต่ละคนที่จินตนาการ ซึ่งมีความแตกต่างกันไป โดยไม่จำเป็นต้องยึดหลักการเขียนเรื่องสั้นเป็นแบบแผนนัก ขึ้นอยู่กับผู้เขียนว่าจะมีแนวคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้น อันเปรียบเสมือนเอกลักษณ์ของตนเองมากกว่า อ้างอิงจาก : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดวงใจ ไทยอุบุญ ,ทักษะการเขียนภาษาไทย , สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2543 (267-271)

ทำไมอักษร ภาษาไทย ฃ กับ ฅ ถึงเลิกใช้


อักษรภาษาไทย ฃ กับ ฅ__________________อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต เขียนไว้ในหนังสือ “ภาษาไทยของเราดี เป็นศักดิ์ศรีของชาติ” สันนิษฐานสาเหตุที่ทำให้เลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) ไว้ว่า คงเนื่องมาจากพิมพ์ดีดภาษาไทยในสมัยแรกๆ ที่แป้นอักษรไม่มี ฃ และ ฅ เนื่องจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณ ยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบางคำหรือเครื่องหมายตัวออกไปบ้างพร้อมอธิบายว่า ฃ พยัญชนะตัวที่ 3 ในพยัญชนะไทย นับเป็นพวกอักษรสูง เรียกชื่อว่า “ขอเขตต์” หรือ “ขอขวด” เข้าในพวกกัณฐชะ (เกิดจากคอ) ใช้เป็นตัวสะกดในมาตรากักได้บางท่านกล่าวว่า ตั้งขึ้นแทนตัว กษ ในภาษาสันสกฤต ซึ่งอ่านควบเป็นเสียงตัวเดียวกันจากอักษร กษ ซึ่งเขียนหวัดติดกัน สำหรับใช้เขียนคำตัว กษ สันสกฤต เช่น เกษตร กษัตริย์ แต่เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้วส่วน ฅ พยัญชนะตัวที่ 5 ในพวกพยัญชนะไทย เป็นพวกอักษรต่ำ อ่านว่า “คอ” เรียกชื่อว่า “คอกัณฐา” หรือ “คอคน” ออกเสียงอย่างเดียวกับ คอ (คอคิด)เดิมมีที่ใช้อยู่คำหนึ่ง คือ “ฅอ” ที่หมายความว่า คอคน หรือคอสัตว์ (ไม่ใช่คนเฉยๆ ) มาบัดนี้ใช้ ค (คอคิด) หมดแล้ว เพราะฉะนั้นนับว่าไม่มีที่ใช้เลย และตัว ฅ นี้ ตั้งขึ้นในภาษาไทย ไม่มีในภาษาบาลีสันสกฤตบางท่านกล่าวว่าความประสงค์ตั้งขึ้นสำหรับใช้คำไทยที ่ออกเสียง คอ ทั่วไป เช่น คำ คน ควบ เป็นต้น เพราะตัวคอคิดนั้นตั้งขึ้นแทนตัว ค บาลี ซึ่งมีเสียงเหมือน G ในคำ God ไม่ตรงกับเสียง ค ไทย แต่ไทยออกเสียง ค บาลีไม่ชัด กลายเป็นเสียง ค ไทยไปหมด เลยใช้ตัว คอคิด ทั้งในเสียงบาลีและเสียงไทย ตัว ฅ กัญฐานี้จึงไม่มีที่ใช้ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493 ได้ให้คำอธิบายคำว่า ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) ไว้ว่าฃ พยัญชนะตัวที่สามนับเป็นพวกอักษรสูง แต่เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้วฅ พยัญชนะตัวที่ห้านับเป็นพวกอักษรต่ำ เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้วประโยคที่ว่า “เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว” จึงทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าได้มีการประกาศเลิกใช้เป็น ทางการแล้ว แม้แต่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ก็บอกไว้เช่นเดียวกับพจนานุกรม ฉบับ พ.ศ.2493 ทุกประการเรื่องจึงเป็นด้วยประการฉะนี้.

เรื่องของภาษาไทย


ภาษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับ
ภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ และเป็นภาษาไทยถิ่นอื่นอีกด้วย


คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า 'การลากคำเข้าวัด' ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว ย เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

mind map


ผังมโนภาพหรือแผนที่ความคิด (Mind map) คือรูปจำลองที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่องโยงของมโนภาพที่สัมพันธ์กัน โดยปกติจะใช้รูปวงกลมแทนมโนภาพหรือความคิด และเส้นลูกศรแทนลักษณะและทิศทางของความสัมพันธ์นั้น มีคำกำกับไว้ว่าวงกลมแทนมโนภาพของอะไร เส้นลูกศรแทนความสัมพันธ์ในลักษณะและทิศทางใด ในบางครั้งมีการใช้การเน้นและแจกแจงเนื้อความด้วยสีและการวาดรูปประกอบ
ผังมโนภาพถือว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยบันทึกความคิดเพื่อให้เห็นภาพความคิดที่หลากหลายมุมมองที่กว้างและชัดเจนกว่าการบันทึกที่โดยยังไม่จัดระบบระเบียบความคิดใดๆ อีกทั้งเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับโครงสร้างทางการคิดของมนุษย์ที่บางช่วงมนุษย์จะสูญเสียสมาธิและความจดจ่อไปโดยอัตโนมัติขณะที่กำลังคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การทำให้สมองได้คิด ได้ทำงานตามธรรมชาตินั้น มีลักษณะเหมือนต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านออกไปเรื่อยๆ
ผังมโนภาพถูกใช้เป็นแนวคิดไร้รูปแบบตายตัวมาหลายศตวรรษแล้วเพื่อใช้ในการเรียนรู้, การระดมสมอง, การจดจำข้อมูล, การจินตนาการและการแก้ปัญหาโดยนักศึกษา, วิศวกร, นักจิตวิทยา รวมถึงบุคคลทั่วไป ตัวอย่างของผู้คิดผังมโนภาพที่น่าจะเก่าแก่ที่สุดในโลกคือนักคิดในคริสต์ศตวรรษที่ 3 นามว่า
พอไพรี ผู้ที่จำแนกนิยามที่ถูกคิดโดยอริสโตเติลไว้โดยการมโนภาพ ในยุคปัจจุบัน ผู้ปฏิวัติรูปแบบของผังมโนภาพโดยการบูรณาการคือ ดร.อัลลัน คอลลินส์ และนักวิจัยในช่วงทศวรรษ 60 (พ.ศ. 2500) เอ็ม.โรส ควิลแลนด์ โดยเผยแพร่วิธีการคิดแบบใหม่นี้โดยการลงบทความ และทำการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์และการมโนภาพ ทำให้ ดร.อัลลัน คอลลินส์ ถือว่าเป็นบิดาแห่งผังมโนภาพสมัยใหม่ก็ว่าได้
ดร.โทนี บูซาน ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในเรื่องแผนที่ความคิด มาช่วยในการจดจำระยะยาวที่เรียกว่าวิธีเนโมนิก ซึ่งได้แก่การนำความรู้ใหม่ไปผูกโยงกับความรู้เดิมที่มีอยู่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสมองซีกขวาโดยการจินตนาการ ด้วยหลักการใช้คำหลักเป็นตัวกำหนดแล้วขยายกิ่งก้านสาขาออกไป วิธีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในเรื่องการทำประชาคม การบันทึกคำบรรยาย เป็นต้น

แนวทางการเขียน mind map
1เริ่มที่ตรงกลางหน้ากระดาษด้วยรูปหรือหัวข้อ ใช้สีอย่างน้อย 3 สี
2ใช้รูป, สัญลักษณ์, รหัส, ความหนา ตลอดที่ทำ mind map
3ให้เขียนคำสำคัญโดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก
4คำแต่ละคำ หรือรูปแต่ละรูป จะต้องอยู่บนเส้นของตัวเอง
5เส้นแต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกัน โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตรงกลางภาพ เส้นที่อยู่ตรงกลางจะมีขนาดหนา และจะยิ่งบางลงเมื่อห่างจากศูนย์กลาง
6ขนาดความยาวของเส้นที่ลาก ยาวเท่ากับคำหรือรูป
7ใช้สี รหัสส่วนตัว ตลอดที่ทำ mind map
8พัฒนารูปแบบ mind map ของตัวเอง
9ใช้วิธีเน้นข้อความ และแสดงความเป็นกลุ่มก้อนใน mind map
10รักษา mind map ให้เข้าใจง่ายโดยการแบ่งความสำคัญเริ่มจากตรงกลาง ใช้การเรียงลำดับตัวเลข หรือ11ใช้เส้นร่างเพื่อรักษาความเป็นกลุ่มก้อนของแต่ละกิ่ง

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อ.พัศสรรค์ รักษ์มีธรรม (ครูอาร์ม)

อาจารย์พัศสรรค์ รักษ์มีธรรม

วันเดือนปีเกิด 6 กันยายน
จบการศึกษา ประถม โรงเรียน รัตนศึกษา จ.สุพรรณบุรี
มัธยม โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม จ.กำแพงเพชร
อุดมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาไทย การสอน โทนิเทศสาตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
ประวัติการทำงาน
กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ พิสูจน์อักษร / นักข่าว
กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ทูเดย์เอ็กซ์เพลส สายท่องเที่ยว
กองบรรณาธิการนิตยสารอุปสส์ สายบันเทิง
คอลัมน์นิสต์นิตยสารแฮร์ทูเดย์ /แฮร์บิวตี้ ฯ สายเสริมสวย
เลขานุการ / ประชาสัมพันธ์ โรงเรียนเสริมสวยนานาชาติไท /สมาคมช่างผมและเสริมสวยไทย
ออแกไนซ์งานเปิดตัวสินค้า /ประชาสัมพันธ์ /ประสานงาน /พิธีกร ฯ
คอลัมนิสต์นิตยสารเอฟ ชิค แมกกาซีน สายท่องเที่ยว/ฮาวทคอลัมน์นิตส์นิตยสารสุวรรณภูมิ ฮาวทู
คอลัมน์นิสต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เมโทรไลฟ์ สายสารคดี/ฮาวทู
คอลัมน์นิสต์หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ สายสตรี/เสริมสวย/บันเทิง/ฮาวทูฯ
อดีตนักจัดรายการวิทยุ / โทรทัศน์ 99.5 /91.25 /98.75 / ทีไอทีวี/เอ็มวีทีวี/เอ็มวีนิวส์ ฯลฯ
ปัจจุบัน อาจารย์ภาควิชาภาษาไทย โรงเรียนนานาชาติเอกมัย








เทคนิคการอ่านแบบ 3s


วันนี้เรามีเทคนิคการอ่านหนังสือแบบ 3S มาแนะนำกันค่ะ อย่าเพิ่งทำหน้างงกันนะคะ 3S ก็คือ "Scan - Search - Save"Scan ได้แก่การอ่านเนื้อหาอย่างหยาบ ๆ และรวดเร็ว เพื่อจับใจความว่าหนังสือนี้ประกอบด้วยบทใดบ้าง มีบทนำ การเรียงลำดับหัวข้อเป็นเช่นใด มีแผนภูมิ รูปภาพประกอบมากน้อยเพียงใด Search - หาบทที่มีเนื้อหาตรงกับความต้องการ- หาคำตอบ เพื่อตอบคำถามที่ตั้งไว้- ทำเครื่องหมาย (ใช้ดำสอ เขียนเบา ๆ)- ศึกษาเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าที่ตรงกับจุดประสงค์ Save - เก็บข้อมูล เนื้อหา ของโครงสร้างของแต่ละบท- จดเนื้อหาที่สำคัญ อัตราความเร็วในการอ่าน ประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือตำรานั้น มีผู้ประเมิน โดยคิดเป็นอัตราของคำต่อนาที ดังนี้- ถ้าตำรานั้นอ่านยาก ควรใช้เวลา 100-200 คำต่อนาที- ถ้าตำรานั้นอ่านยากปานกลาง ควรใช้เวลา 200-400 คำต่อนาที- ถ้าอ่านเพื่อให้ได้เนื้อหากว้าง ๆ ควรใช้เวลา 500-1,000 คำต่อนาที- ถ้าอ่านอย่างรวดเร็ว พอสังเขปควรใช้เวลา 1,000-1,500 คำต่อนาที จะปรับปรุงการอ่านให้เร็วขึ้นได้อย่างไร มีผู้ให้ข้อสังเกตว่า เนื้อหาที่ปรากฎอยู่ในตำรานั้น ประมาณสองในสามเป็นการเขียนตามหลักภาษาเพื่อให้ถูกต้องตามรูปแบบและไวยากรณ์ มากกว่าที่จะเป็นเนื้อหาที่แท้จริง ดังนั้นถ้านิสิตพะวงต่อการอ่านทุกคำ จะทำให้ความเร็วในการอ่านลดลง การอ่านเร็วมิได้หมายความว่า ความเข้าใจ และการจดจำเนื้อหาจะลดลง แต่การอ่านไปหมดทุกวรรคทุกตอนจะทำให้ทั้งสายตา และจิตใจของนิสิต ต้องพะวักพะวงกับเนื้อหาที่มากเกินควร การอ่านอย่างมีวินัย มีระเบียบจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพการอ่านดีขึ้น นิสิตอาจลองใช้ วิธีการต่อไปนี้ เตรียมตัว
อ่านอย่างกว้าง ๆ เพื่อจับประเด็นของเนื้อหาที่มีอยู่ในหนังสือ (การมีภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านมาบ้างแล้ว จะช่วยให้นิสิตเข้าใจเนื้อหาได้เร็วขึ้น)
อ่านอย่างมีจุดประสงค์ ตั้งใจและพยายามอ่านให้ทันตามเวลาที่เรากำหนด วิธีบังคับตนเองไม่ให้อ่านตามสบายชนิดตามใจตน กระทำได้โดยการลากปากกา หรือดินสอชี้นำไปตามบรรทัด นอกจากนี้จะต้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนสมาธิขณะอ่านด้วย
ละทิ้งนิสัย การอ่านที่ไม่ดี ได้แก่๐ หยุดที่คำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ พยายามขยายกรอบของเนื้อหาให้มากขึ้น จะได้เข้าใจประเด็นได้ง่ายขึ้น๐ อ่านย้อนกลับไปมา วิธีนี้ทำให้เสียเวลา และมีผลทำให้การเชื่อมต่อข้อความไม่ปะติดปะต่อ ทำให้จำเนื้อหาไม่ได้๐ เคลื่อนไหวสายตาไม่เร็วพอ ถ้าสายตาเพ่งเพียงแต่ข้อความแคบ ๆ (เช่นดูแค่คำคำเดียว) การอ่านก็ช้าไปด้วย พยายามลดความเมื่อยล้าของสายตาโดย - ตรวจสุขภาพสายตาเสียบ้าง- ให้หนังสืออยู่ห่างจากสายตาประมาณ 40 ซม. เพื่อขยายกรอบของการมองเห็น และลดการเคลื่อนไหวของสายตา ฝึกฝนตนให้เป็นผู้อ่านชั้นเยี่ยม
มือข้างหนึ่งใช้พลิกหน้ากระดาษ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งให้ลากลงมาตามบรรทัดวิธีนี้จะเป็นการควบคุมสายตา ให้เห็นคำที่จะอ่านในแต่ละครั้งมากขึ้น บังคับมิให้สายตาจ้องจดอยู่ที่คำใดคำหนึ่ง และยังเป็นการฝึกตนเองให้มีวินัย และมีสมาธิในการอ่านอีกด้วย
กวาดสายตาไปทั่วทั้งหน้ากระดาษภายใน 5 วินาที นิสิตอาจจะคิดว่าไม่ได้อ่านอะไรเลย แต่นิสิต จะสามารถจัดคำสำคัญได้อย่างรวดเร็ว และถ้าหน้าไหนอ่านยากก็อาจกลับมาอ่านอย่างช้า ๆ ได้ในภายหลัง
ฝึกทำเช่นนี้อย่างน้อยวันละ 5 นาที ภายใน 1 - 2 เดือน นิสิตจะพบว่าตนเองสามารถอ่านได้เร็วขึ้นกว่าเดิมกลายเท่าตัว

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อ.ฑลิกา ค้าขาย (ครูกอล์ฟ)

ประวัติส่วนตัว

การศึกษา ปริญญาตรี คณะมนุษย์ศาสตร์ เอกวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยพายัพ จ.เชียงใหม่
กำลังศึกษาระดับปริญญาโท คณะบริหารการศึกษา สาขาพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
ประสบการณ์การทำงาน 2540 - 2545 ครูสอนภาษาไทย
โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ระดับมัธยมศึกษา

สถานที่ติดต่อ 68/12 ซ.ปรีดีพนมยงค์ 14 แยก 8 พระโขนง ถ.สุขุมวิท 71 กท.10110

โทร 02 - 7153773 มือถือ 086 - 3814262 อีเมลล์ beat_bua@hotmail.com

คติประจำใจ เวลาเป็นสิ่งมีค่า อย่าปล่อยเวลาให้เสียประโยชน์

เคล็ดลับการเป็นนักเรียนที่ดี



ทุกคนเมื่ออยู่ในวัยเรียน ก็ต้องอยากเป็นนักเรียนที่ดีของอาจารย์ เพราะส่วนมากอาจารย์ก็จะชอบเด็กที่มีความประพฤติดีและเรียนเก่ง เอาล่ะ…ใครเป็นนักเรียนแตกแถว เข้ามาดูวิธีง่ายๆที่จะเปลียนตัวเองให้เป็นที่รักของอาจารย์ทางนี้ดีกว่า…
1. ต้องมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ ไม่ว่าจะสอบย่อย สอบMid Term สอบFinal สอบปากเปล่า
2. อ่านหนังสือล่วงหน้าก่อนที่จะมีการเรียนการสอนทุกครั้ง เพื่อจะได้เข้าใจง่ายขึ้นเวลาอาจารย์สอน
3. ตั้งใจฟังอาจารย์สอน แม้อ่านมาแล้วเข้าใจแล้วก็ต้องสนใจ ไม่ควรชวนเพื่อนคุยเพราะเป็นการรบ
กวนเพื่อน
4. เมื่อตั้งใจฟังแล้วก็ต้องจดโน้ตย่อส่วนที่อาจารย์เน้นไว้มากๆ หรือเราเห็นว่าสำคัญ อาจเป็นข้อสอบก็ได้
5. ขณะที่เรียนเมื่อไม่เข้าใจ รีบถามเพื่อนหรืออาจารย์ทันที ปล่อยไว้อาจทำให้สับสนมากขึ้น
6. ทบทวนสิ่งที่เรียนมาเมื่อกลับบ้าน ถ้าสงสัยเรื่องไหนก็จดไว้ไปถามอาจารย์
7. หาคู่มือดีๆมาอ่านเพิ่มเติม
8. ควรฝึกทำโจทย์ยากๆในวิชาคำนวณ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี แต่ไม่ควรดูเฉลยก่อนคิดเอง เพราะโจทย์บางข้ออาจทำได้หลายวิธี
9. ควรมีสมาธิมากๆ เมื่ออ่านวิชาที่ต้องใช้ความจำ เช่น สังคมศึกษา ภาษาไทย พระพุทธศาสนา
10. วิชาตรรกวิทยา จิตวิทยา ชีววิทยา กฎหมาย เราต้องอ่านให้เข้าใจถ่องแท้ แล้วเอาความเข้าใจมาดัดแปลงประยุกต์ใช้กับโจทย์ เพื่อเพิ่มความเข้าใจ
11. วิชาภาษาอังกฤษ การฝึกอ่านสม่ำเสมอจากเรื่องง่ายๆไปเรื่องยากๆ เป็นการฝึกความชำนาญและคล่องตัว
12. เมื่ออ่านแล้วควรจดศัพท์เก็บไว้ เปิดหาความหมายใน dictionary และควรท่องจำด้วย
13. ควรฝึกการเขียน เช่น เขียนจดหมาย , e-mail หรือ icq ถึงเพื่อนต่างประเทศ หรือเขียนไดอารีเป็นภาษาอังกฤษ
14. ควรฝึกพูดโดยฟังจากเทปวีดีโอภาษาอังกฤษ หรือฟังเพลงสากล หรือดูภาพยนตร์ต่างประเทศที่เป็น soundtrack และมี Thai – subtitle ด้วย จะช่วยให้เราชินกับสำเนียง และฝึกภาษาด้วย หรือจะเข้าไปพูดกับชาวต่างประเทศได้ยิ่งดี
15. เมื่อเราพูดภาษาอังกฤษ อย่ากลัวว่าจะพูดผิด ถือว่าผิดเป็นครู
16. เริ่มจริงกับภาษาอังกฤษตั้งแต่วันนี้ เพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สำคัญ และคะแนนภาษาอังกฤษในการสอบเอนทรานซ์ก็สำคัญมาก รวมทั้งใช้ในการสมัครงานด้วย
17. ควรเลือกคบเพื่อนที่เรียนเก่งไว้บ้าง เพราะเวลาที่เราไม่เข้าใจก็ถามเขาได้
18. เมื่อถึงช่วงสอบ การทำจิตใจให้สบาย กินให้อิ่ม นอนแต่หัวค่ำตื่นเช้าๆ และเตรียมพรอมอยู่เสมอ
เพียงเท่านี้ เราก็เป็นนักเรียนที่ดีของอาจารย์ และพ่อแม่ด้วย แต่สิ่งที่ไม่ควรลืม คือ เป็นนักเรียนมีหน้าที่ต้องเรียน ควรขยันและตั้งใจเรียนตั้งแต่วันนี้…

ยินดีต้อนรับสู่ครอบครัวภาษาไทยชาว EIS


สวัสดีค่ะนักเรียนที่รักของครูทุกคน ยินดีต้อนรับเข้าสู่ครอบครัวภาษาไทย ครูรู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสเข้ามาทักทายนักเรียนเป็นครั้งแรก หวังใจว่า
นักเรียนทุกคนจะได้รับความรู้ ข่าวสารและความบันเทิงจากการประชาสัมพันธ์ที่นี่ ที่แห่งนี้เป็นแหล่งข้อมูล ข่าวสารของหมวดภาษาไทยชาว EIS ทุกคน นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็น ติ - ชม ให้คำแนะนำโดยผ่านบล็อกนี้ได้ ขอให้นักเรียนทุกคนมีความสุขกับการเรียนวิชาภาษาไทย และนำสิ่งได้จากการเรียนนำไปประยุกต์ในชีวิตได้อย่างมีความสุข