ตะลอนทัวร์คลอดทริปใหม่

ปีใหม่นี้ จะฉลองปีใหม่กันที่ไหน ที่แน่แน่ พวกสมาชิกตะลอนทัวร์เตรียมเก็บกระเป๋ากันได้แล้ว เมื่อครั้งก่อนไปเที่ยวคลองวาฬ ข้าน้อยทำผิดอย่างแรงทิ้ง สองป้าให้เดินหลงทางกลับที่พัก ใครจะไปคิดล่ะว่า ไอ้แค่ 200 ม.ตรง ๆ ท่านพี่จะหลงทาง ก็ประสบการณ์ย่ำมาแล้วรอบโลก ก็น่าจะไม่หลง แต่ผิดครับหลงครับท่าน ได้ข่าวว่าคราวนี้ จะหอบหิ้วเอาผู้อำนวยการโรงเรียนไปหลงอีกคน นี่ถ้าประวัติศาสตร์ซ้ำรอย พากันหลงเหมือนเมื่อคราวก่อน สงสัยต้องเตรียมหางานใหม่กันได้เลย เรียกว่ากลับมาตัวใครตัวมัน ฮิฮิฮิ มีต่อ

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551

โรงเรียนนานาติเอกมัย แผนที่ การเดินทาง


โรงเรียนนานาติเอกมัย EIS
สถานที่ตั้ง

ตั้งอยู่เลขที่ 57 ซอยเจริญชัย

ถนนเอกมัย กรุงเทพมหานคร

โทรศัพท์ : 0-2391-3596

โทรสาร : 0-2381-4622...

โรงเรียนนานาชาติเอกมัย ศิษย์เก่า


"โต๋" คืนสู่เหย้า "โรงเรียนนานาชาติเอกมัย" เผยสเปคชอบสาวร้องเพลงไม่ได้เล่นดนตรีไม่เป็น
กำลังมาแรงเหลือเกิน สำหรับหนุ่ม “โต๋-ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร” เจ้าของเพลงดัง “รักเธอ” เพราะนอกจากจะเรียนดี กีฬาเด่น แถมยังรูปหล่อเสียงดี และเล่นดนตรีเก่งอีกด้วย ทำเอาสาวๆ ทั้งประเทศอยากจะรู้เหลือเกินว่าหนุ่ม “โต๋” มีใครในหัวใจหรือยัง ว่าแล้ว วันอาทิตย์ที่ 3 มิ.ย. นี้ รายการ “รถโรงเรียน” พร้อมด้วย 3 หนุ่มพิธีกร “เจ-เจตริน วรรธนะสิน, เต๊บ-กีรติ ศิริสุทธิพัฒนา (ที่มาทำหน้าที่แทน “บอล” อีกครั้ง) และหมอโอ๊ค-นพ.สมิทธิ์ อารยะสกุล เลยพา “โต๋” คืนสู่เหย้ากลับไปรำลึกความหลังสมัยเรียนที่ “โรงเรียนนานาชาติเอกมัย” ซึ่ง “โต๋” พาไปดูมุมโปรดอย่างสนามบาสเก็ตบอลที่ชอบมาเล่นกับเพื่อนๆ เป็นประจำ หอประชุมที่ร่วมทำกิจกรรมบ่อยๆ แถม “โต๋” ยังขอเดี่ยวเปียโนร่วมร้องเพลงกับน้องๆ อย่างสนุกสนาน ก่อนจะถูก “เจ” แฉเรื่องราวความรักวัยเรียน ซึ่ง “โต๋” ก็เต็มใจตอบแบบไม่มีปิดบังแถมยังแอบเผยสเปคสาวในฝันอีกด้วย

ซึ่งหนุ่ม “โต๋” เปิดใจแบบหมดเปลือกว่า “สมัยเรียนที่โรงเรียนเป็นระบบเดินเรียน เวลาเปลี่ยนคาบเรียนสาวๆ จะเดินผ่านโถงทางเดินเยอะ เวลาแอบชอบใครก็อยากให้มาเดินเฉียดไปเฉียดมา แค่ได้เดินเฉียดใกล้ๆ ก็ดีแล้ว เวลาจีบก็เป็นลักษณะว่าเข้าไปคุยแบบเพื่อนคุยไปเรื่อยๆ แล้วก็ค่อยๆ เรียนรู้กันไปครับ สมัยเรียนก็มีเพื่อนสนิทที่คบๆ กัน แต่เราจะตกลงกันว่าถ้าใครมาถามให้บอกว่าเป็นเพื่อนกัน เพราะผมเป็นคนขี้อายครับไม่อยากให้คนถาม ซึ่งผมจะชอบผู้หญิงที่ตัวเล็กๆ ตาโตๆ เรียบร้อยแต่ต้องแอบเปรี้ยวนิดนึง เล่นดนตรีไม่เป็น ร้องเพลงไม่ได้ หรือร้องแล้วร้องเพี้ยนนิดๆ ผมว่าดูน่ารักจริงใจดี ยิ่งถ้าเค้าพยายามร้องให้ผมฟังด้วยแล้วผมยิ่งชอบรู้สึกว่าเค้าตั้งใจทำอะไรเพื่อเรา เพราะผมรู้สึกว่าโลกของผมเป็นโลกที่มีดนตรีตลอดเวลา ถ้าผมได้คบกับผู้หญิงสักคนที่เป็นแบบนี้จะทำให้ผมได้เรียนรู้โลกใหม่ๆ จากเค้าที่ผมไม่เคยสัมผัส คงสดชื่นแล้วก็มีความสุขไปอีกแบบครับ”

เซเว่นเดย์ แอ๊ดเวนติส Seventh-Day Adventist of Thailand



มูลนิธิคริสตจักรวันเสาร์แห่งประเทศไทย

(เซเว่นเดย์ แอ๊ดเวนติส) (Seventh-Day Adventist of Thailand)
ประวัติการก่อตั้ง บรรณกร(ผู้ประกาศกิตติคุณโดยการจำหน่ายหนังสือ)ท่านแรก ได้เข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ.2449(ค.ศ.1906) เพื่อจำหน่ายแจกจ่ายหนังสือในกรุงเทพฯ ต่อมามีบรรณกรจากสิงค์โปร์เข้ามาอีก 10 ท่าน เพื่อจำหน่ายหนังสือและหนุนน้ำใจสมาชิกซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนจีน ต่อมาจึงมีศาสนฑูตเข้ามาเผยแพร่พระกิตติคุณและตั้งสำนักงานมิชชันขึ้น และแปลนิตยสารภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า หนังสือชูชาติ พร้อมทั้งตั้งสำนักงานมิชชันขึ้นที่อุบลราชธานีด้วย
เริ่มสร้างโรงเรียนมิชชั่นที่กรุงเทพฯ ในปีพ.ศ.2495 (ค.ศ.1932) เพื่อสอนศาสนาให้นักเรียน หลังจากนั้นมีการขยายงานด้านการแพทย์ ไปที่อุบลราชธานี ภูเก็ต และหาดใหญ่ และเริ่มงานด้านทันตแพทย์ที่เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.2491(ค.ศ.1932)
เริ่มเปิดการสอนพระคริสตธรรมคัมภีร์ทางไปรษณีย์และเริ่มเทศนาทางวิทยุกระจายเสียงครั้งแรกในปีพ.ศ.2505(ค.ศ.1962) ซึ่งในปีนั้นเองได้สร้างที่ทำการของคริสตจักรขึ้นที่ซอย โรงเรียนเกษมพาณิชการ ถนนคลองตัน เขตพระโขนง และยังมีสำนักพิมพ์ข่าวประเสริฐขึ้นที่นั่นด้วย
การบริหารงาน แบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้คือ
1) สำนักงานใหญ่
2) ดิวิชั่น
3) ยูเนี่ยน
4) มิชชั่น
5)โบสถ์
คริสตจักรวันเสาร์ทั่วโลกแบ่งออกเป็น 13 ดิวิชั่น
ประกอบด้วย 2 ยูเนี่ยน
ส่วนมิชชั่นเป็นหน่วยงานที่ควบคุมการทำงานในอาณาบริเวณหนึ่งซึ่งอาจมีขนาดเป็นรัฐหนึ่งหรือประเทศหนึ่ง ขึ้นกับขนาดของอาณาบริเวณนั้น และจำนวนสมาชิกในแต่ละมิชชั่น มีคณะกรรมการบริหารงานซึ่งประกอบไปด้วยประธานกรรมการ เลขาธิการ เหรัญญิก หัวหน้าแผนกต่างๆ ผู้อำนวยการโรงเรียน โรงพยาบาล ศาสนจารย์ และสมาชิกโบสถ์ที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการหัวหน้าแผนกต่างๆ ของมิชชั่น จะถูกเลือกโดยผู้แทนจากโบสถ์ต่างๆ ที่อยู่ภายในมิชชั่นนั้นทุกๆ ปี ทางมิชชั่นเป็นผู้พิจารณามอบหมายศาสนจารย์ ให้เป็นผู้ดำเนินงานในโบสถ์ร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ สมาชิกของโบสถ์ทำหน้าที่เลือกเจ้าหน้าที่แผนกต่างๆ ของโบสถ์เองทุกปี

มหาราช


มหาราช เป็นคำสันสกฤตจากคำว่า มหาราชา เป็นชื่อเรียกกษัตริย์หรือผู้ปกครอง ที่ได้ทำภารกิจอย่างมากมายช่วยเหลือผู้คนทั้งด้านการรบ การแก้ไขปัญหาภายในประเทศ การรักษาเอกราชของประเทศ คงไว้ด้วยความยุติธรรมอันเป็นแบบอย่างที่ดี ในประเทศหรือเขตการปกครองต่างๆ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น "มหาราช" เขียนไว้ที่ท้ายชื่อ



ทวีปเอเชีย

พระเจ้าเซจงมหาราช
เกาหลี
เซจงมหาราช (Sejong The Great)

ไทย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช แห่ง อาณาจักรสุโขทัย (en:Ramkhamhaeng the Great)
พระนเรศวรมหาราช แห่ง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา (Naresuan The Great)
พระนารายณ์มหาราช แห่ง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา (Narai The Great)
พระเจ้าตากสินมหาราช แห่ง กรุงธนบุรี (Taksin The Great)
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แห่ง ราชอาณาจักรสยาม (Buddha Yodfa Chulaloke The Great)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่ง ราชอาณาจักรสยาม (Chulalongkorn The Great)
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช แห่ง ราชอาณาจักรไทย (Bhumibol Adulyadej The Great)

อัคบาร์มหาราช
อัฟกานิสถาน
อาร์หมัดมหาราช (Ahmad The Great)

อินเดีย
อัคบาร์มหาราช (en:Akbar the Great - จักรวรรดิโมกุล)
อโศกมหาราช (en:Ashoka the Great - มคธ)
กนิษกะมหาราช (en:Kanishka - กุษาณะ)

อิหร่าน (เปอร์เซีย)
อับบาสมหาราช แห่ง จักรวรรดิเปอร์เซีย (Abbas The Great)
ดาริอุสมหาราช แห่ง จักรวรรดิเปอร์เซีย (Darius The Great)
เซอร์เซียสมหาราช แห่ง จักรวรรดิเปอร์เซีย (Xerxes the Great)




ทวีปยุโรป

อัลเฟรดมหาราช
กรีซ
อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great - มาซิโดเนีย)

รัสเซีย
แคทเธอรีนมหาราช แห่ง รัสเซีย (Catherine the Great)
ปีเตอร์มหาราช แห่ง รัสเซีย (Peter the Great)

สเปน
อัลฟองโซมหาราช (Alfonso The Great - เลออง)

อังกฤษ
อัลเฟรดมหาราช แห่ง ราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ (en:Alfred the Great)
โดยครูนอกรั้ว

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551

ประเพณี ลอยกระทง


ปีนี้น้ำท่วมหลายแห่งในประเทศไทย ทำให้นึกถึงเทศกาลหนึ่งของไทยเรา เลยอยากนำเกร็ดความรู้มา เผยแพร่ให้นักเรียนได้รู้จัก เทศกาลนั้นคือ เทศกาลวันลอยกระทง

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่ (เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย

ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น
ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง" หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
ภาคอีสานจะตบแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"
กรุงเทพฯ จะมี งานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว7-10วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา


ประวัติ

พลุเฉลิมฉลองในเทศกาลวันลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3

ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี

ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"

ปีนี้ขอให้ทำกระทงสวย ๆไปลอยกันให้สนุกนะครับนักเรียน จากครูนอกรั้ว

กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม


กิจกรรม เขียนจดหมายถึงแม่
วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อให้นักเรียนเขียนจดหมายได้อย่างถูกต้อง
๒. เพื่อให้นักเรียนแสดงความรักและตอบแทนพระคุณแม่โดยผ่านการ เขียนจดหมาย
การวางแผน
๑.ประชุมครู ชี้แจงรายละเอียด ทำความเข้าใจในหมวดวิชาภาษไทยใน การจัดกิจกรรม “เขียนจดหมายถึงแม่”
๒. กำหนดระยะเวลา ก.ค. – ส.ค. ใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน
๓. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน คือ ครูหมวดวิชาภาษาไทย
ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑. สัปดาห์แรกของเดือน ก.ค.จัดการเรียนการสอนในวิชาภาษาไทย ด้าน เนื้อหา โดยให้นักเรียนเห็นความสำคัญ เรื่องการเขียนจดหมาย
๒. สัปดาห์ที่ ๒ เดือน ก.ค. จัดกิจกรรมให้นักเรียนฝึกเขียนจดหมายส่งถึง กันภายในห้องเรียน และระหว่างห้องเรียนโดยมีการเขียนตอบกลับไป กลับมา เพื่อให้เกิดทักษะในด้านการสื่อสาร มีเจตคติที่ดีในการเขียน จดหมาย
๓. ประชาสัมพันธ์ ให้กับนักเรียน เรื่องการประกวด “เขียนจดหมายถึง แม่”
๔.ให้นักเรียนแสดงความรักแม่โดยบอกเล่าความรู้สึก ความประทับใจ แทนคำขอบคุณแม่ ด้วยการเขียนจดหมาย และนำส่งครูในสัปดาห์ที่ ๓ เดือน ก.ค.
การตรวจสอบประเมินผล
๑.ครูภายในหมวดภาษาไทย วางกรอบการประเมิน จัดทำเครื่องมือ แบบ ประเมินผลการเขียนจดหมาย
๒. ครูหมวดภาษาไทยนำจดหมายของนักเรียนที่ผ่านการตรวจสอบ และ ประเมินผลส่งให้คณะกรรมการเพื่อพิจารณา
๓. สัปดาห์ที่ ๔ เดือน ก.ค. ครูนำจดหมายที่ตรวจสอบแล้วให้นักเรียน ส่งไปถึงแม่ทางไปรษณีย์ และมอบรางวัลสำหรับนักเรียนที่เขียน
จดหมายถึงแม่ได้ดี และมีคะแนนเข้าเกณฑ์ การประเมินและอยู่ในระดับ ดี ถึง ดีมาก
ขั้นปรับปรุง
๑.ครูนำผลงานของนักเรียนที่ได้รับรางวัล จัดป้ายนิเทศแสดงผลงานใน วันแม่
๒. ครูนำผลการประเมินของนักเรียนที่เขียนจดหมายถึงแม่ มาวิเคราะห์ จุดเด่นและจุดที่ต้องปรับปรุงระดมความคิด หาวิธีแก้ปัญหาเพื่อนำไป พัฒนาปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนในครั้งต่อไป
ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑. นักเรียนสามารถเขียนจดหมายได้อย่างถูกต้อง
๒. นักเรียนสามารถแสดงความรักและตอบแทนพระคุณแม่โดยการเขียน จดหมาย
โดย ครูกอล์ฟ

งานวิจัย โรงเรียนนานาชาติเอกมัย

ภูมิหลัง
ปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และวิทยาการใหม่ ๆ การดำเนินชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งนี้การมีสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้ (เยาวนาฏ เกิดพิทักษ์. 2543:1) ปัญหาต่างๆ ในสังคมส่วนมากมักเป็นผลมาจากการปรับตัวที่ไม่ดีของบุคคลที่แตกต่างกันออกไป การปรับตัวเป็นกิจกรรมสำคัญของชีวิต เป็นกระบวนการทางจิตใจเพื่อคงไว้คงสุขภาพจิตที่ดี การปรับตัวเกิดจากแรงผลักดันภายในตัว การที่บุคคลปรับตัวได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพกับสิ่งแวดล้อม หรือสถานการณ์ที่บุคคลกำลังเผชิญอยู่ สถานการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดความเครียดขึ้น บุคคลต้องพยายามหาวิธีการปลดปล่อยความเครียดออกไป เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของชีวิตไว้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บุคคลเกิดการปรับพฤติกรรมของตน เรียกว่า การปรับตัว นั่นเอง ซึ่งถ้าบุคคลสามารถปรับตัวได้บุคคลนั้นก็จะมีความสุข มีความสบายใจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ดี ลักษณะเช่นนี้เป็นที่พึงปราถนาของสังคม แต่ถ้าบุคคลไม่สามารถปรับตนเองได้จะทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเอง และอาจทวีความรุนแรงและอาจเป็นผลร้ายต่อตนเองและสังคมโดยส่วนรวมได้หากไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงในทันทีทันใด (อรพินธ์ ชูชมและอัจฉรา สุขารมณ์ 2523 :1)
ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปมากมีการติดต่อระหว่างนานาชาติสูงมาก ประเทศไทยต้องมีการค้าขายกับต่างประเทศมีความสัมพันธ์ระหว่างชาติ ดังนั้นจึงได้มีการนำภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ได้และเข้ามามีบทบาทต่อการติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ดังนั้นที่อยู่ในสังคมต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง ดังที่มอสโควิทซ์ และออร์เกล (Moskwiz and Orgel. 1969:305) ได้กล่าวว่าการปรับตัวคือการปรับพฤติกรรมของแต่ละบุคคลให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความต้องการแรงจูงใจและนิสัยของแต่ละบุคคลไปในทางใดทางหนึ่ง นอกจากนี้ความเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับโอกาส ความต้องการและข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อมด้วยคนส่วนมากต้องการที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษและผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานมีความรู้ในภาษาอังกฤษเพื่อที่จะได้ใช้ภาษาในการดำรงชีวิตประจำ วันและเพื่อความเจริญก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพจึงมีการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนนานาชาติ เพื่อการปรับตัวให้ทันกับสภาพการแข่งขันของเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งโรงเรียนนานาชาติแรกเริ่มจุดประสงค์ของการก่อตั้งคือ การให้การศึกษาแก่บุตรของชาวต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ในปัจจุบันค่านิยมในการส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดความหลากหลายของสัญชาติ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรมของนักเรียน การที่ให้เด็กเข้ามาเรียนในโรงเรียนนานาชาติผู้ปกครองบางคนคิดว่าเป็นการดีที่จะยกระดับการศึกษาของลูกเพื่อให้ลูกได้ฝึกฝนภาษาและวิธีคิดแต่ผู้ปกครองบางคนไม่ได้คำนึงถึงว่าโรงเรียนนานาชาติเป็นการเรียนรวมกันของเด็กนักเรียนที่มาจากแต่ละชาติและมีความแตกต่างกัน และเป็นการเรียนโดยที่ใช้หลักสูตรและมาตรฐานที่เป็นของต่างประเทศและใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
โรงเรียนนานาชาติเอกมัยเป็นเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่เปิดทำการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ โดยระบบการเรียนการสอนเป็นระบบอเมริกันมีการเรียนการสอนเป็น 4 ระดับดังนี้ คือ ระดับอนุบาล (Kindergarten K 1-3) ระดับประถมศึกษาตอนต้น (Primary School Grade 1-3) ระดับประถมศึกษาตอนปลาย (Elementary School Grade 4-6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Intermediate Grade 7-8)ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (High School Grade 9-12) ซึงในแต่ะละปีการศึกษาจะทั้งนักเรียนที่ย้ายมาจากโรงเรียนไทยเข้ามาเรียนในระดับชั้นเกรด 9 และสำหรับนักเรียนที่เลื่อนระดับมาจากชั้นเกรด 8 ฉะนั้นการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักเรียนที่เข้ามาใหม่และนักเรียนที่เลื่อนชั้นขึ้นมา การเรียนในระดับชั้นไอสคูลจะมีการเลือกแผนการเรียน เป็นการเปลี่ยนแนวการเรียนแบบใหม่ซึ่งแตกต่างจากการเรียนในการเรียนในระดับชั้นที่เรียนผ่านมา การแยกแผนการเรียนในระดับชั้นไฮสคูลออกเป็น 4 แผนการเรียนดังนี้ General Education Diploma, College Preparatory Diploma, College Preparatory Diploma (Emphasis in Business), College Preparatory Diploma (Emphasis in Medicine and Engineering) โดยการเลือกแผนการเรียนจะมีการเลือกแผนการเรียนในเกรด 9 การเรียนในระดับชั้นไฮสคูลจะมีการกำหนดเกรดเฉลี่ยในการเลือกแผนการเรียนต่าง ๆ ได้แก่ General Education Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.50 โปรแกรม College Preparatory Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 โปรแกรม College Preparatory Diploma (Emphasis in Business) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 และโปรแกรม College Preparatory Diploma (Emphasis in Medicine and Engineering) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 ซึ่งถ้าเกรดเฉลี่ยไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ก็จะไม่สามารถเลือกเรียนในแผนการเรียนนั้น ๆ ได้
เนื่องจากผู้วิจัยได้ทำงานอยู่ในโรงเรียนนานาชาติเอกมัย ในฝ่ายแนะแนวเป็นระยะเวลา 3 ปี ได้สังเกตเห็นว่ามีนักเรียนที่ต้องเข้ามาปรึกษาในห้องแนะแนวจำนวนมากในแต่ละปีการศึกษา และจากการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาในระดับชั้นไฮสคูลซึ่งรับผิดชอบนักเรียนระดับชั้นเกรด 9-12 พบว่านักเรียนในระดับชั้นเกรด 9 จะเข้ามาปรึกษาในเรื่องของเรียนมากที่สุดเมื่อเที่ยบกับนักเรียนระดับเกรด 10 เกรด 11 และเกรด 12 เพราะระดับชั้นเกรด 9 เป็นระดับที่เพิ่งเลื่อนชั้นเข้ามาเรียนในระดับไฮสคูล ต้องเปลี่ยนระบบการเรียนใหม่ ซึ่งจากเดิมวิชาเรียนจะถูกจัดไว้ให้นักเรียนเรียบร้อยแล้ว และเรียนประจำตามชั้นและห้องเดิมทุกวิชา จะมีการเปลี่ยนสถานที่เรียนในวิชาพละศึกษา และวิชาศิลปะเท่านั้น แต่เนื่องจากการเลื่อนชั้นเข้ามาเรียนในระดับไฮสคูลจะเป็นการเลือกแผนการเรียน และในการเรียนในแต่ละวิชานั้นมีการเปลี่ยนห้องเรียนในทุกวิชา และเพื่อนที่เรียนร่วมในแต่ละวิชาก็จะมีการเปลี่ยนไปด้วย และนักเรียนต้องเรียนวิชาเฉพาะตามแผนการเรียนที่ตัวเองเลือกแต่ส่วนวิชาพื้นฐานจะเรียนเหมือนกันซึ่งเพื่อนร่วมชั้นจะแยกกันเรียนตามสาขาวิชาที่ตนเลือกและนักเรียนบางคนมาย้ายจากโรงเรียนไทย จะมีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษาเนื่องจากเคยเรียนโดยใช้ระบบไทย ใช้ภาษาไทยในการเรียนมาก่อนพอเข้ามาเรียนในโรงเรียนนานาชาติซึ่งมีสิ่งแวดล้อมใหม่ การใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน การพบเพื่อนที่เป็นชาวต่างชาติ นักเรียนมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวเนื่องจากความแตกต่าง ภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งการแสดงออกของนักเรียนในแต่ละชาติไม่เหมือนกัน การใช้ภาษาในห้องเรียน และปัญหาเรื่องการเรียนไม่รู้เรื่องเนื่องจากครูผู้สอนที่พูดภาษาไทยไม่ได้ เพราะบางที่ถ้านักเรียนไม่เข้าใจครูก็ไม่สามารถอธิบายเป็นภาษาไทยได้ ครูในโรงเรียนเป็นครูที่มาจากหลายสัญชาติจึงทำให้สำเนียงการพูดไม่เหมือนกันซึ่งส่งผลให้เด็กต้องปรับตัวในการฟังสำเนียงภาษาของครู และทำให้ผลการเรียนไม่ดี
จากการสำรวจปัญหาเบื้องต้นของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย เขตวัฒนากรุงเทพมหานคร จำนวน 80 คน โดยให้นักเรียนตอบคำถามปลายเปิด 2 ข้อดังนี้
คำถามข้อที่ 1 ถามว่า “ในขณะที่ท่านเรียนอยู่ในระดับชั้นเกรด 9 ท่านมีปัญหาการเรียนในเรื่องใดบ้าง” นักเรียนตอบว่าตนเองมีปัญหาจำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 80 นักเรียนไม่ตอบคำถาม 16 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ปรับตัวเข้ากับระบบการเรียนไม่ได้ 20 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ไม่ชอบครู 16 คน คิดเป็นร้อยละ 20 นักเรียนตอบว่าไม่เข้าใจวิชาที่เรียนจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 15 ครูสอนไม่เข้าใจ14 คน คิดเป็นร้อยละ 17.5 การบ้านเยอะ 9 คน คิดเป็นร้อยละ 11.25 มีปัญหาด้านภาษา 5 คนคิดเป็นร้อยละ 6.25 เข้ากับเพื่อนไม่ได้ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5 เพราะวิชาใหม่ ๆ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.5
คำถามข้อที่ 2 ถามว่า “ท่านคิดว่าปัญหาจากคำถามข้อที่ 1 เกิดจากสาเหตุใด” นักเรียนตอบปัญหาของการเกิดสาเหตุจำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 73.75 และตอบคำถามว่าไม่มีสาเหตุจำนวน คิดเป็นร้อยละ ไม่ตอบสาเหตุจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 26.25 ไม่เข้าใจวิชาที่สอน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 23.75 แบ่งเวลาไม่ดี ไม่ตั้งใจเรียน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 11.25 ครูไม่เข้าใจวิชาที่สอน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 10 อุปกรณ์การเรียนไม่ดีจำนวน 5 คนคิดเป็นร้อยละ 6.25 เพราะมีการเปลี่ยนคาบเรียนทุกคาบ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 ไม่เก่งภาษา 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5 เพราะคิดไปเอง 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.75 ไม่เคยเรียน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.5 เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหา 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25 อุปกรณ์การเรียนไม่ดี 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25
จาการสำรวจปัญหาเบื้องต้นของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย พบว่านักเรียนน่าจะมีปัญหาการปรับตัวด้านการเรียน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการปรับตัวเข้ากับการเรียนระดับชั้น ไฮสคูลซึ่งมีความแตกต่างกับการเรียนในระดับชั้นอินเตอร์มีเดียดและไพรมารี เพราะอายุในนักเรียนระดับชั้นเกรด 9 เป็นช่วงอายุที่กำลังเป็นวัยรุ่น ดังที่ (อาคม สรสุชาติ 2518:64) กล่าวว่าปัญหาการปรับตัวย่อมเกิดได้ทุกเพศทุกวัยแต่วัยรุ่นจะเป็นวัยที่ประสบปัญหามากกว่าวัยอื่นเพราะวัยรุ่นเป็นผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงและรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงชีวิตที่ปรับตัวยากและมีปัญหามากที่สุด ถ้าโรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อการปรับตัวของวัยรุ่นจะช่วยให้วัยรุ่นปรับตัวได้ดีเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปเพราะชีวิตในโรงเรียนเป็นระยะหนึ่งของการส่งเสริมสุขภาพจิตและการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ให้เจริญที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือแนวความคิดหรือวัฒนธรรมของนักเรียนที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของเด็ก เด็กที่มีปัญหาการปรับตัวมักเกิดปัญหาพฤติกรรมอื่นตามมา เช่น เกเร ก้าวร้าว ดื้อ ซน เครียด หงุดหงิด คบเพื่อนไม่ดี หนีเรียน หนีเที่ยว ปัญหาทางเพศ และการใช้สารเสพติด ซึ่งเกิดจากความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเองที่มาจากความสำเร็จในการเรียน การถูกตำหนิจากพ่อแม่ เป็นความรู้สึกตนเองล้มเหลว และขาดความภูมใจในตัวเอง ทำให้เป็นอารมณ์และกลายเป็นปัญหาบุคลิกภาพ การหาสาเหตุของปัญหาควรรีบทำเพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ ที่จะตามมาได้ (ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. 2530:71; อ้างอิงมาจาก Coleman and Hammen” 1974 :93-94)
ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ความมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านส่วนตัว ด้านครอบครัวและสิ่งแวดล้อมทางการเรียน กับการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนตัว ด้านครอบครัว ด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร
3. เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ การปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร

ความสำคัญของการวิจัย
ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ทำให้ทราบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อปัญหาการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการวางแนวทางการการป้องกัน การแก้ปัญหา ส่งเสริม และช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลอย่างถูกต้อง


ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2546 จำนวน 121 คน เป็นนักเรียนชาย 62 คน และนักเรียนหญิง 59 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 121 คน เป็นนักเรียนชายจำนวน 62 คน และนักเรียนหญิงจำนวน 59 คน

3. ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าแบ่งเป็น 3 ด้านดังนี้
3.1.1 ปัจจัยด้านส่วนตัวได้แก่
3.1.1.1 เพศ
3.1.1.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.1.1.3 ทัศนคติต่อการเรียนระดับชั้นไฮสคูล
3.1.1.5 สุขภาพจิต
3.1.2 ปัจจัยทางด้านครอบครัว ได้แก่
3.1.2.1 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับสมาชิกในครอบครัว
3.1.2.2 การศึกษาของผู้ปกครอง
3.1.3 ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ได้แก่
3.1.3.1 ลักษณะทางกายภาพ
3.1.3.2 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู
3.1.3.3 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน
3.2 ตัวแปรตาม คือ การปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. การปรับตัวด้านการเรียน หมายถึง การเอาใจใส่ต่อการเรียนมีความคาดหวังที่จะเรียนให้ดีขึ้น มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนให้สำเร็จ รู้จักขอคำปรึกษาและขอความช่วยเหลือด้านการเรียนจากบุคคลต่าง ๆ มีความพึงพอใจในวิชาที่เรียน ซึ่งได้แก่การเรียนทฤษฎี และ การเรียนในห้องเรียน ความสามารถในการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองในเรื่องของการยอมรับและการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองในสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมโดยปรากฏออกมาเป็นความรู้สึก นึกคิดหรือพฤติกรรมที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของตนเอง
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัว หมายถึง สิ่งที่ส่งผลต่อการเรียนในระบบอเมริกันได้แก่ ปัจจัยด้านส่วนตัว ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
2.1 ปัจจัยด้านส่วนตัว หมายถึง ลักษณะเฉพาะของนักเรียนได้แก่ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทัศนคติต่อการเรียนในระดับชั้นไฮสคูล
2.1.1 เพศ หมายถึง เพศชาย และหญิง ของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2546-2547
2.1.2 ทัศนคติต่อการเรียนระดับชั้น หมายถึง ความคิด ความรู้สึก และแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรมของนักเรียนที่มีต่อการเรียนระดับไฮสคูล ดังนี้
2.1.2.1 ทัศนคติด้านความคิด หมายถึง การคิดถึงคุณค่า และประโยชน์ของการเรียนในระดับในระดับชั้นไฮสคูล ที่จะนำวิชาความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดอบรมสั่งสอน พัฒนาตนเองและสังคมไปในทางที่ถูกต้อง
2.1.2.2 ทัศนคติด้านความรู้สึก หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์เกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความชอบ ความพอใจต่อการเรียนและครูผู้สอน บรรยากาศการเรียนการสอนในระดับไฮสคูล
2.1.2.3 ทัศนคติด้านแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรม หมายถึง การตั้งใจเรียน ปฏิบัติตามที่ครูผู้สอนกำหนด และซักถามเมื่อมีข้อสงสัย
2.1.3 สุขภาพจิต หมายถึง ความสมบูรณ์ทางด้นจิตใจที่สามารถปรับจิตใจให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคมได้ ทั้งในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต และยังสามารถเผชิญปัญหาและยอมรับความเป็นจริงในชีวิต มีอารมณ์มั่นคง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความพึงพอใจ มีสมรรถภาพในการทำงาน การเรียน สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยวัดจาก การใช้แบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต Thai GHQ 60 (Thai General Health Questionnaire 60) ของนายแพทย์ธนา นิลชัยโกวิทย์และคณะ ซึ่งปรับปรุงมาจาก เดวิด โกลด์เบิร์ก และพอล วิลเลี่ยม (David Goldberg and Paul Williams)
2.2 ปัจจัยด้านครอบครัว หมายถึง สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับนักเรียนกับสมาชิกในครอบครัว
สัมพันธภาพครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง การศึกษาของผู้ปกครอง
2.2.1 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับสมาชิกในครอบครัว หมายถึง การปฏิบัติตนของสมาชิกในครอบครัวที่มีต่อนักเรียนในด้านการเรียนและการปฏิบัติตนของนักเรียนที่มีต่อสมาชิกในครอบครัว
2.2.1.1 พฤติกรรมที่นักเรียนปฏิบัติ ต่อสมาชิกในครอบครัว หรือผู้ปกครองด้านการเรียน ได้แก่ การของคำแนะนำและการซักถามเมื่อมีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเรียนจากสมาชิกในครอบครัว ความรักความผูกพันที่สมาชิกมีต่อครอบครัว
2.2.1.2 พฤติกรรมที่สมาชิกในครอบครัวปฏิบัติต่อนักเรียน ได้แก่ การเอาใจใส่ต่อการเรียนของนักเรียน การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับนักเรียน การไว้วางใจในการเรียน การให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการเรียน การให้ความรักความห่วงใยและกำลังใจกับนักเรียน
2.2.2 การศึกษาของผู้ปกครอง วุฒิการศึกษาที่สำเร็จชั้นสูงสุดของผู้ปกครอง ในที่นี้ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
2.2.3.1 สูงกว่าปริญญาตรี
2.2.3.2 ปริญญาตรี
2.2.3.3 ต่ำกว่าปริญญาตรี
2.3 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาพการณ์ทั้งในและนอกห้องเรียนที่มีผลต่อนักเรียน ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.3.1 ลักษณะทางกายภาพ หมายถึง สภาพแวดล้อมทางการเรียนที่มีผลต่อนักเรียน สถานที่เรียน สื่อและอุปกรณ์ทางการศึกษา
2.3.1.1 สถานที่เรียน หมายถึง การถ่ายเทอากาศภายในห้องเรียน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในห้องเรียน ขนาดของห้องเมื่อเทียบกับจำนวนนักเรียน บริเวณของห้องเรียนปราศจาก กลิ่น และเสียงรบกวน
2.3.1.2 สื่อและอุปกรณ์การสอน หมายถึง ปริมาณของสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนเมื่อเทียบกับครูผู้สอนและนักเรียน ความทันสมัย คุณภาพการใช้งาน
2.3.2สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู หมายถึง การปฏิบัติของครูที่ปฏิบัตินักเรียนและที่นักเรียนปฏิบัติกับครู ทั้งภายในและนอกห้องเรียน
2.3.2.1 การปฏิบัติของครูที่มีต่อนักเรียน หมายถึง การให้ความรัก ความเอาใจใส่ ยอมรับความคิดเห็นให้ความเป็นกันเองต่อนักเรียน
2.3.2.2 การปฏิบัติของนักเรียนที่มีต่อครู หมายถึง การให้ความเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งของครู ช่วยเหลืองานของครูตนสามารถทำได้ ขอคำแนะนำจากครูเมื่อประสบกับปัญหา ตั้งใจเรียนและสนใจบทเรียนที่ครูสอน
2.3.3 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน หมายถึง พฤติกรรมที่นักเรียนและเพื่อน ปฏิบัติต่อกันทั้งในและนอกห้องเรียน ได้แก่ การช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน ด้านการเรียน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันทางการเรียน ความห่วงใจใกล้ชิดสนิทสนมซึ่งกันและกัน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันในกลุ่มเพื่อนเพื่อให้เกิดความสำเร็จทางด้านการเรียน
3. ระดับชั้นไฮสคูล หมายถึง การเรียนในระบบการศึกษาอเมริกันในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ เกรด 9 เกรด 10 เกรด 11 และเกรด 12 โดยการเรียนแบ่งออกเป็น 4 แผนการเรียนในระดับชั้นไฮสคูลแบ่งออกเป็น 4 แผนการเรียนดังนี้ General Education Diploma, College Preparatory Diploma, College Preparatory Diploma (Emphasis in Business), College Preparatory Diploma (Emphasis in Medicine and Engineering) โดยการเลือกแผนการเรียนจะมีการเลือกแผนการเรียนในเกรด 9 การเรียนในระดับชั้นไฮสคูลจะมีการกำหนดเกรดเฉลี่ยในการเลือกแผนการเรียนต่าง ๆ ได้แก่ General Education Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.50 โปรแกรม College Preparatory Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 โปรแกรม College Preparatory Diploma(Emphasis in Business) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 และโปรแกรม College Preparatory Diploma(Emphasis in Medicine and Engineering) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 ซึ่งถ้าเกรดเฉลี่ยไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ก็จะไม่สามารถเลือกเรียนในแผนการเรียนนั้น ๆ และเมื่อเรียนจบการศึกษาจะได้ใบประกาศนียบัตรตามแผนการเรียนที่ตนเองเลือก









งานวิจัย โรงเรียนนานาชาติเอกมัย

ภูมิหลัง
ปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และวิทยาการใหม่ ๆ การดำเนินชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งนี้การมีสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้ (เยาวนาฏ เกิดพิทักษ์. 2543:1) ปัญหาต่างๆ ในสังคมส่วนมากมักเป็นผลมาจากการปรับตัวที่ไม่ดีของบุคคลที่แตกต่างกันออกไป การปรับตัวเป็นกิจกรรมสำคัญของชีวิต เป็นกระบวนการทางจิตใจเพื่อคงไว้คงสุขภาพจิตที่ดี การปรับตัวเกิดจากแรงผลักดันภายในตัว การที่บุคคลปรับตัวได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพกับสิ่งแวดล้อม หรือสถานการณ์ที่บุคคลกำลังเผชิญอยู่ สถานการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดความเครียดขึ้น บุคคลต้องพยายามหาวิธีการปลดปล่อยความเครียดออกไป เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของชีวิตไว้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บุคคลเกิดการปรับพฤติกรรมของตน เรียกว่า การปรับตัว นั่นเอง ซึ่งถ้าบุคคลสามารถปรับตัวได้บุคคลนั้นก็จะมีความสุข มีความสบายใจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ดี ลักษณะเช่นนี้เป็นที่พึงปราถนาของสังคม แต่ถ้าบุคคลไม่สามารถปรับตนเองได้จะทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเอง และอาจทวีความรุนแรงและอาจเป็นผลร้ายต่อตนเองและสังคมโดยส่วนรวมได้หากไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงในทันทีทันใด (อรพินธ์ ชูชมและอัจฉรา สุขารมณ์ 2523 :1)
ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปมากมีการติดต่อระหว่างนานาชาติสูงมาก ประเทศไทยต้องมีการค้าขายกับต่างประเทศมีความสัมพันธ์ระหว่างชาติ ดังนั้นจึงได้มีการนำภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ได้และเข้ามามีบทบาทต่อการติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ดังนั้นที่อยู่ในสังคมต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง ดังที่มอสโควิทซ์ และออร์เกล (Moskwiz and Orgel. 1969:305) ได้กล่าวว่าการปรับตัวคือการปรับพฤติกรรมของแต่ละบุคคลให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความต้องการแรงจูงใจและนิสัยของแต่ละบุคคลไปในทางใดทางหนึ่ง นอกจากนี้ความเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับโอกาส ความต้องการและข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อมด้วยคนส่วนมากต้องการที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษและผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานมีความรู้ในภาษาอังกฤษเพื่อที่จะได้ใช้ภาษาในการดำรงชีวิตประจำ วันและเพื่อความเจริญก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพจึงมีการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนนานาชาติ เพื่อการปรับตัวให้ทันกับสภาพการแข่งขันของเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งโรงเรียนนานาชาติแรกเริ่มจุดประสงค์ของการก่อตั้งคือ การให้การศึกษาแก่บุตรของชาวต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ในปัจจุบันค่านิยมในการส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดความหลากหลายของสัญชาติ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรมของนักเรียน การที่ให้เด็กเข้ามาเรียนในโรงเรียนนานาชาติผู้ปกครองบางคนคิดว่าเป็นการดีที่จะยกระดับการศึกษาของลูกเพื่อให้ลูกได้ฝึกฝนภาษาและวิธีคิดแต่ผู้ปกครองบางคนไม่ได้คำนึงถึงว่าโรงเรียนนานาชาติเป็นการเรียนรวมกันของเด็กนักเรียนที่มาจากแต่ละชาติและมีความแตกต่างกัน และเป็นการเรียนโดยที่ใช้หลักสูตรและมาตรฐานที่เป็นของต่างประเทศและใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
โรงเรียนนานาชาติเอกมัยเป็นเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่เปิดทำการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ โดยระบบการเรียนการสอนเป็นระบบอเมริกันมีการเรียนการสอนเป็น 4 ระดับดังนี้ คือ ระดับอนุบาล (Kindergarten K 1-3) ระดับประถมศึกษาตอนต้น (Primary School Grade 1-3) ระดับประถมศึกษาตอนปลาย (Elementary School Grade 4-6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Intermediate Grade 7-8)ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (High School Grade 9-12) ซึงในแต่ะละปีการศึกษาจะทั้งนักเรียนที่ย้ายมาจากโรงเรียนไทยเข้ามาเรียนในระดับชั้นเกรด 9 และสำหรับนักเรียนที่เลื่อนระดับมาจากชั้นเกรด 8 ฉะนั้นการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักเรียนที่เข้ามาใหม่และนักเรียนที่เลื่อนชั้นขึ้นมา การเรียนในระดับชั้นไอสคูลจะมีการเลือกแผนการเรียน เป็นการเปลี่ยนแนวการเรียนแบบใหม่ซึ่งแตกต่างจากการเรียนในการเรียนในระดับชั้นที่เรียนผ่านมา การแยกแผนการเรียนในระดับชั้นไฮสคูลออกเป็น 4 แผนการเรียนดังนี้ General Education Diploma, College Preparatory Diploma, College Preparatory Diploma (Emphasis in Business), College Preparatory Diploma (Emphasis in Medicine and Engineering) โดยการเลือกแผนการเรียนจะมีการเลือกแผนการเรียนในเกรด 9 การเรียนในระดับชั้นไฮสคูลจะมีการกำหนดเกรดเฉลี่ยในการเลือกแผนการเรียนต่าง ๆ ได้แก่ General Education Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.50 โปรแกรม College Preparatory Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 โปรแกรม College Preparatory Diploma (Emphasis in Business) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 และโปรแกรม College Preparatory Diploma (Emphasis in Medicine and Engineering) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 ซึ่งถ้าเกรดเฉลี่ยไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ก็จะไม่สามารถเลือกเรียนในแผนการเรียนนั้น ๆ ได้
เนื่องจากผู้วิจัยได้ทำงานอยู่ในโรงเรียนนานาชาติเอกมัย ในฝ่ายแนะแนวเป็นระยะเวลา 3 ปี ได้สังเกตเห็นว่ามีนักเรียนที่ต้องเข้ามาปรึกษาในห้องแนะแนวจำนวนมากในแต่ละปีการศึกษา และจากการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาในระดับชั้นไฮสคูลซึ่งรับผิดชอบนักเรียนระดับชั้นเกรด 9-12 พบว่านักเรียนในระดับชั้นเกรด 9 จะเข้ามาปรึกษาในเรื่องของเรียนมากที่สุดเมื่อเที่ยบกับนักเรียนระดับเกรด 10 เกรด 11 และเกรด 12 เพราะระดับชั้นเกรด 9 เป็นระดับที่เพิ่งเลื่อนชั้นเข้ามาเรียนในระดับไฮสคูล ต้องเปลี่ยนระบบการเรียนใหม่ ซึ่งจากเดิมวิชาเรียนจะถูกจัดไว้ให้นักเรียนเรียบร้อยแล้ว และเรียนประจำตามชั้นและห้องเดิมทุกวิชา จะมีการเปลี่ยนสถานที่เรียนในวิชาพละศึกษา และวิชาศิลปะเท่านั้น แต่เนื่องจากการเลื่อนชั้นเข้ามาเรียนในระดับไฮสคูลจะเป็นการเลือกแผนการเรียน และในการเรียนในแต่ละวิชานั้นมีการเปลี่ยนห้องเรียนในทุกวิชา และเพื่อนที่เรียนร่วมในแต่ละวิชาก็จะมีการเปลี่ยนไปด้วย และนักเรียนต้องเรียนวิชาเฉพาะตามแผนการเรียนที่ตัวเองเลือกแต่ส่วนวิชาพื้นฐานจะเรียนเหมือนกันซึ่งเพื่อนร่วมชั้นจะแยกกันเรียนตามสาขาวิชาที่ตนเลือกและนักเรียนบางคนมาย้ายจากโรงเรียนไทย จะมีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษาเนื่องจากเคยเรียนโดยใช้ระบบไทย ใช้ภาษาไทยในการเรียนมาก่อนพอเข้ามาเรียนในโรงเรียนนานาชาติซึ่งมีสิ่งแวดล้อมใหม่ การใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน การพบเพื่อนที่เป็นชาวต่างชาติ นักเรียนมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวเนื่องจากความแตกต่าง ภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งการแสดงออกของนักเรียนในแต่ละชาติไม่เหมือนกัน การใช้ภาษาในห้องเรียน และปัญหาเรื่องการเรียนไม่รู้เรื่องเนื่องจากครูผู้สอนที่พูดภาษาไทยไม่ได้ เพราะบางที่ถ้านักเรียนไม่เข้าใจครูก็ไม่สามารถอธิบายเป็นภาษาไทยได้ ครูในโรงเรียนเป็นครูที่มาจากหลายสัญชาติจึงทำให้สำเนียงการพูดไม่เหมือนกันซึ่งส่งผลให้เด็กต้องปรับตัวในการฟังสำเนียงภาษาของครู และทำให้ผลการเรียนไม่ดี
จากการสำรวจปัญหาเบื้องต้นของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย เขตวัฒนากรุงเทพมหานคร จำนวน 80 คน โดยให้นักเรียนตอบคำถามปลายเปิด 2 ข้อดังนี้
คำถามข้อที่ 1 ถามว่า “ในขณะที่ท่านเรียนอยู่ในระดับชั้นเกรด 9 ท่านมีปัญหาการเรียนในเรื่องใดบ้าง” นักเรียนตอบว่าตนเองมีปัญหาจำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 80 นักเรียนไม่ตอบคำถาม 16 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ปรับตัวเข้ากับระบบการเรียนไม่ได้ 20 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ไม่ชอบครู 16 คน คิดเป็นร้อยละ 20 นักเรียนตอบว่าไม่เข้าใจวิชาที่เรียนจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 15 ครูสอนไม่เข้าใจ14 คน คิดเป็นร้อยละ 17.5 การบ้านเยอะ 9 คน คิดเป็นร้อยละ 11.25 มีปัญหาด้านภาษา 5 คนคิดเป็นร้อยละ 6.25 เข้ากับเพื่อนไม่ได้ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5 เพราะวิชาใหม่ ๆ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.5
คำถามข้อที่ 2 ถามว่า “ท่านคิดว่าปัญหาจากคำถามข้อที่ 1 เกิดจากสาเหตุใด” นักเรียนตอบปัญหาของการเกิดสาเหตุจำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 73.75 และตอบคำถามว่าไม่มีสาเหตุจำนวน คิดเป็นร้อยละ ไม่ตอบสาเหตุจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 26.25 ไม่เข้าใจวิชาที่สอน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 23.75 แบ่งเวลาไม่ดี ไม่ตั้งใจเรียน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 11.25 ครูไม่เข้าใจวิชาที่สอน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 10 อุปกรณ์การเรียนไม่ดีจำนวน 5 คนคิดเป็นร้อยละ 6.25 เพราะมีการเปลี่ยนคาบเรียนทุกคาบ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 ไม่เก่งภาษา 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5 เพราะคิดไปเอง 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.75 ไม่เคยเรียน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.5 เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหา 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25 อุปกรณ์การเรียนไม่ดี 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25
จาการสำรวจปัญหาเบื้องต้นของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย พบว่านักเรียนน่าจะมีปัญหาการปรับตัวด้านการเรียน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการปรับตัวเข้ากับการเรียนระดับชั้น ไฮสคูลซึ่งมีความแตกต่างกับการเรียนในระดับชั้นอินเตอร์มีเดียดและไพรมารี เพราะอายุในนักเรียนระดับชั้นเกรด 9 เป็นช่วงอายุที่กำลังเป็นวัยรุ่น ดังที่ (อาคม สรสุชาติ 2518:64) กล่าวว่าปัญหาการปรับตัวย่อมเกิดได้ทุกเพศทุกวัยแต่วัยรุ่นจะเป็นวัยที่ประสบปัญหามากกว่าวัยอื่นเพราะวัยรุ่นเป็นผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงและรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงชีวิตที่ปรับตัวยากและมีปัญหามากที่สุด ถ้าโรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อการปรับตัวของวัยรุ่นจะช่วยให้วัยรุ่นปรับตัวได้ดีเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปเพราะชีวิตในโรงเรียนเป็นระยะหนึ่งของการส่งเสริมสุขภาพจิตและการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ให้เจริญที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือแนวความคิดหรือวัฒนธรรมของนักเรียนที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของเด็ก เด็กที่มีปัญหาการปรับตัวมักเกิดปัญหาพฤติกรรมอื่นตามมา เช่น เกเร ก้าวร้าว ดื้อ ซน เครียด หงุดหงิด คบเพื่อนไม่ดี หนีเรียน หนีเที่ยว ปัญหาทางเพศ และการใช้สารเสพติด ซึ่งเกิดจากความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเองที่มาจากความสำเร็จในการเรียน การถูกตำหนิจากพ่อแม่ เป็นความรู้สึกตนเองล้มเหลว และขาดความภูมใจในตัวเอง ทำให้เป็นอารมณ์และกลายเป็นปัญหาบุคลิกภาพ การหาสาเหตุของปัญหาควรรีบทำเพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ ที่จะตามมาได้ (ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. 2530:71; อ้างอิงมาจาก Coleman and Hammen” 1974 :93-94)
ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ความมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านส่วนตัว ด้านครอบครัวและสิ่งแวดล้อมทางการเรียน กับการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนตัว ด้านครอบครัว ด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร
3. เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ การปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร

ความสำคัญของการวิจัย
ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ทำให้ทราบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อปัญหาการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการวางแนวทางการการป้องกัน การแก้ปัญหา ส่งเสริม และช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลอย่างถูกต้อง


ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2546 จำนวน 121 คน เป็นนักเรียนชาย 62 คน และนักเรียนหญิง 59 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 121 คน เป็นนักเรียนชายจำนวน 62 คน และนักเรียนหญิงจำนวน 59 คน

3. ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าแบ่งเป็น 3 ด้านดังนี้
3.1.1 ปัจจัยด้านส่วนตัวได้แก่
3.1.1.1 เพศ
3.1.1.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.1.1.3 ทัศนคติต่อการเรียนระดับชั้นไฮสคูล
3.1.1.5 สุขภาพจิต
3.1.2 ปัจจัยทางด้านครอบครัว ได้แก่
3.1.2.1 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับสมาชิกในครอบครัว
3.1.2.2 การศึกษาของผู้ปกครอง
3.1.3 ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ได้แก่
3.1.3.1 ลักษณะทางกายภาพ
3.1.3.2 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู
3.1.3.3 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน
3.2 ตัวแปรตาม คือ การปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. การปรับตัวด้านการเรียน หมายถึง การเอาใจใส่ต่อการเรียนมีความคาดหวังที่จะเรียนให้ดีขึ้น มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนให้สำเร็จ รู้จักขอคำปรึกษาและขอความช่วยเหลือด้านการเรียนจากบุคคลต่าง ๆ มีความพึงพอใจในวิชาที่เรียน ซึ่งได้แก่การเรียนทฤษฎี และ การเรียนในห้องเรียน ความสามารถในการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองในเรื่องของการยอมรับและการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองในสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมโดยปรากฏออกมาเป็นความรู้สึก นึกคิดหรือพฤติกรรมที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของตนเอง
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัว หมายถึง สิ่งที่ส่งผลต่อการเรียนในระบบอเมริกันได้แก่ ปัจจัยด้านส่วนตัว ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
2.1 ปัจจัยด้านส่วนตัว หมายถึง ลักษณะเฉพาะของนักเรียนได้แก่ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทัศนคติต่อการเรียนในระดับชั้นไฮสคูล
2.1.1 เพศ หมายถึง เพศชาย และหญิง ของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2546-2547
2.1.2 ทัศนคติต่อการเรียนระดับชั้น หมายถึง ความคิด ความรู้สึก และแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรมของนักเรียนที่มีต่อการเรียนระดับไฮสคูล ดังนี้
2.1.2.1 ทัศนคติด้านความคิด หมายถึง การคิดถึงคุณค่า และประโยชน์ของการเรียนในระดับในระดับชั้นไฮสคูล ที่จะนำวิชาความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดอบรมสั่งสอน พัฒนาตนเองและสังคมไปในทางที่ถูกต้อง
2.1.2.2 ทัศนคติด้านความรู้สึก หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์เกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความชอบ ความพอใจต่อการเรียนและครูผู้สอน บรรยากาศการเรียนการสอนในระดับไฮสคูล
2.1.2.3 ทัศนคติด้านแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรม หมายถึง การตั้งใจเรียน ปฏิบัติตามที่ครูผู้สอนกำหนด และซักถามเมื่อมีข้อสงสัย
2.1.3 สุขภาพจิต หมายถึง ความสมบูรณ์ทางด้นจิตใจที่สามารถปรับจิตใจให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคมได้ ทั้งในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต และยังสามารถเผชิญปัญหาและยอมรับความเป็นจริงในชีวิต มีอารมณ์มั่นคง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความพึงพอใจ มีสมรรถภาพในการทำงาน การเรียน สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยวัดจาก การใช้แบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต Thai GHQ 60 (Thai General Health Questionnaire 60) ของนายแพทย์ธนา นิลชัยโกวิทย์และคณะ ซึ่งปรับปรุงมาจาก เดวิด โกลด์เบิร์ก และพอล วิลเลี่ยม (David Goldberg and Paul Williams)
2.2 ปัจจัยด้านครอบครัว หมายถึง สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับนักเรียนกับสมาชิกในครอบครัว
สัมพันธภาพครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง การศึกษาของผู้ปกครอง
2.2.1 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับสมาชิกในครอบครัว หมายถึง การปฏิบัติตนของสมาชิกในครอบครัวที่มีต่อนักเรียนในด้านการเรียนและการปฏิบัติตนของนักเรียนที่มีต่อสมาชิกในครอบครัว
2.2.1.1 พฤติกรรมที่นักเรียนปฏิบัติ ต่อสมาชิกในครอบครัว หรือผู้ปกครองด้านการเรียน ได้แก่ การของคำแนะนำและการซักถามเมื่อมีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเรียนจากสมาชิกในครอบครัว ความรักความผูกพันที่สมาชิกมีต่อครอบครัว
2.2.1.2 พฤติกรรมที่สมาชิกในครอบครัวปฏิบัติต่อนักเรียน ได้แก่ การเอาใจใส่ต่อการเรียนของนักเรียน การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับนักเรียน การไว้วางใจในการเรียน การให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการเรียน การให้ความรักความห่วงใยและกำลังใจกับนักเรียน
2.2.2 การศึกษาของผู้ปกครอง วุฒิการศึกษาที่สำเร็จชั้นสูงสุดของผู้ปกครอง ในที่นี้ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
2.2.3.1 สูงกว่าปริญญาตรี
2.2.3.2 ปริญญาตรี
2.2.3.3 ต่ำกว่าปริญญาตรี
2.3 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาพการณ์ทั้งในและนอกห้องเรียนที่มีผลต่อนักเรียน ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.3.1 ลักษณะทางกายภาพ หมายถึง สภาพแวดล้อมทางการเรียนที่มีผลต่อนักเรียน สถานที่เรียน สื่อและอุปกรณ์ทางการศึกษา
2.3.1.1 สถานที่เรียน หมายถึง การถ่ายเทอากาศภายในห้องเรียน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในห้องเรียน ขนาดของห้องเมื่อเทียบกับจำนวนนักเรียน บริเวณของห้องเรียนปราศจาก กลิ่น และเสียงรบกวน
2.3.1.2 สื่อและอุปกรณ์การสอน หมายถึง ปริมาณของสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนเมื่อเทียบกับครูผู้สอนและนักเรียน ความทันสมัย คุณภาพการใช้งาน
2.3.2สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู หมายถึง การปฏิบัติของครูที่ปฏิบัตินักเรียนและที่นักเรียนปฏิบัติกับครู ทั้งภายในและนอกห้องเรียน
2.3.2.1 การปฏิบัติของครูที่มีต่อนักเรียน หมายถึง การให้ความรัก ความเอาใจใส่ ยอมรับความคิดเห็นให้ความเป็นกันเองต่อนักเรียน
2.3.2.2 การปฏิบัติของนักเรียนที่มีต่อครู หมายถึง การให้ความเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งของครู ช่วยเหลืองานของครูตนสามารถทำได้ ขอคำแนะนำจากครูเมื่อประสบกับปัญหา ตั้งใจเรียนและสนใจบทเรียนที่ครูสอน
2.3.3 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน หมายถึง พฤติกรรมที่นักเรียนและเพื่อน ปฏิบัติต่อกันทั้งในและนอกห้องเรียน ได้แก่ การช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน ด้านการเรียน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันทางการเรียน ความห่วงใจใกล้ชิดสนิทสนมซึ่งกันและกัน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันในกลุ่มเพื่อนเพื่อให้เกิดความสำเร็จทางด้านการเรียน
3. ระดับชั้นไฮสคูล หมายถึง การเรียนในระบบการศึกษาอเมริกันในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ เกรด 9 เกรด 10 เกรด 11 และเกรด 12 โดยการเรียนแบ่งออกเป็น 4 แผนการเรียนในระดับชั้นไฮสคูลแบ่งออกเป็น 4 แผนการเรียนดังนี้ General Education Diploma, College Preparatory Diploma, College Preparatory Diploma (Emphasis in Business), College Preparatory Diploma (Emphasis in Medicine and Engineering) โดยการเลือกแผนการเรียนจะมีการเลือกแผนการเรียนในเกรด 9 การเรียนในระดับชั้นไฮสคูลจะมีการกำหนดเกรดเฉลี่ยในการเลือกแผนการเรียนต่าง ๆ ได้แก่ General Education Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.50 โปรแกรม College Preparatory Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 โปรแกรม College Preparatory Diploma(Emphasis in Business) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 และโปรแกรม College Preparatory Diploma(Emphasis in Medicine and Engineering) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 ซึ่งถ้าเกรดเฉลี่ยไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ก็จะไม่สามารถเลือกเรียนในแผนการเรียนนั้น ๆ และเมื่อเรียนจบการศึกษาจะได้ใบประกาศนียบัตรตามแผนการเรียนที่ตนเองเลือก









โรงเรียนนานาชาติเอกมัย




ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียนนานาชาติเอกมัย

โรงเรียนนานาชาติเอกมัยเป็นโรงเรียนเอกชน
ตั้งอยู่ที่เลขที่ 57 ชอยเจริญใจ ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นโดยสมาคมเซเว่นธ์เดย์แอ็ดเวนตีส
โดยใช้หลักสูตรระบบอเมริกันและใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
ปีการศึกษา 2551-2552 มีนักเรียนทั้งหมด 1,236 คน
เป็นนักเรียนทั้งหมด 22 สัญชาติ 10 ศาสนา และบุคลากรครู 98 คน
โรงเรียนนานาชาติเอกมัยได้รับการรับรองคุณภาพการศึกษาจาก Western Association of School and colleges (WASC) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นสมาชิกของสมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย International Association of Thailand (ISAT) สมาคมสมาชิกโรงเรียนในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออก East Asia Regional Commission of School (EARCOS) ได้รับการรับรองคุณภาพจากกองโรงเรียนนโยบายพิเศษ และการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งนักเรียนที่เรียนจบจากโรงเรียนนานาชาติเอกมัยสามารถสอบเอ็นทรานซ์เข้าสู่ระบบการศึกษาไทยได้ โรงเรียนนานาชาติเอกมัยแบ่งระดับการศึกษาออกเป็นระดับชั้นต่าง ๆ ดังนี้
ระดับอนุบาล (Kinderkarten K 1-3)
ระดับประถมศึกษาตอนต้น (Primary School Grade 1-3)
ระดับประถมศึกษาตอนปลาย (Elementary School Grade 4-6)
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Intermediate Grade 7-8)
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (High School Grade 9-12)
หลักสูตร
หลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติเอกมัยเป็นหลักสูตรที่เขียนขึ้นเองของเซเว่นธ์เดย์แอ็ดเวนตีส ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันกับหลักสูตรในโรงเรียนนานาชาติแห่งอื่นๆในประเทศไทยที่ประชุม คณะกรรมการโดยมีหลักในการพัฒนาหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 23 เดือนพฤศจิกายน 2537 มีมติสรุปเกณฑ์การพิจารณาหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติดังนี้ คือ (ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ. 2538 :1)
ข้อ 1. หลักการ จุดหมาย โครงสร้างของหลักสูตรมีความสอดคล้อง สัมพันธ์ เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
ข้อ2.เนื้อหาของหลักสูตรไม่ขัดต่อศีลธรรมความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และระบบการปกครอง
ข้อ 3 กำหนดให้เรียนภาษาและวัฒนธรรมไทย เป็นวิชาบังคับ 1 คาบต่อสัปดาห์ สำหรับนักเรียนเกรด1-8และเป็นวิชาเลือกสำหรับนักเรียนเกรด 9-12 โดยใช้สื่อการสอนเป็นภาษาต่างประเทศ กรณีที่ผู้เรียนมาจากต่างประเทศ เข้าเรียนในเกรด 9 -12 ให้เรียนภาษาและวัฒนธรรมไทยอย่างน้อย 2 ปี
ข้อ 4. สำหรับเด็กไทย กำหนดให้เรียนภาษาและวัฒนธรรมไทย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ตลอด 12 ปี ทั้งนี้กำหนดเวลาคาบละ 50 นาที
วัตถุประสงค์ของการแบ่งการเรียนภาษาและวัฒนธรรมไทยของนักเรียนโรงเรียนนานาชาติออกเป็น 2 กรณี ดังนี้ คือ
1. กรณีนักเรียนต่างชาติ ให้เรียนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 คาบ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจวิถีของไทย ตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ลัทธิศาสนาประจำชาติไทยและสามารถใช้ภาษาไทยอย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวันได้ จะทำให้เด็กต่างชาติอยู่ในประเทศไทยได้อย่างมีความสุขสามารถติดต่อสื่อสารกับสังคมไทยได้โรงเรียนสามารถกำหนดขอบข่ายเนื้อหาให้สอดคล้องกับสภาพของผู้เรียนได้ตามสมควร
2. กรณีนักเรียนไทย กำหนดให้เรียนสัปดาห์ละ 5 คาบ เพื่อให้มีความรู้ ความภูมิใจในชาติไทย ได้เรียนรู้วัฒนธรรมภาษาของตนจนสามารถใช้ได้ดีซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในสถานศึกษาของไทยต่อไป
นักเรียนที่จบเกรด 12 จากโรงเรียนนานาชาติเอกมัยจะได้รับประกาศนียบัตรแผนการเรียนต่างๆ ดังนี้
· General Education Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.50
· College Preparatory Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50
· College Preparatory Diploma(Emphasis in Business) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50
· College Preparatory Diploma( Emphasis in Medicine and Engineering) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00
และถ้าเมื่อจบการศึกษาแล้วนักเรียนมีเกรดเฉลี่ยต่ำกว่า 1.50 จะได้ประกาศนียบัตรการเข้าเรียนเท่านั้น

การวิเคราะห์ข่าว กิจการนักเรียน


สรุปประเด็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักเรียนนักศึกษา (1 – 6 กันยายน 2551)
ผู้จัดทำรายงาน
นางฑลิกา ค้าขาย รหัส 501424014
เรื่องที่ 1 ประชาธิปไตยคืออะไรพ่อแม่ต้องสอนลูกยาม"ม็อบ"
แหล่งอ้างอิง หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ฉบับวันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551
การเมืองร้อนระอุ ! เกิดกรณี ไทยฆ่าไทย จนหลายฝ่ายเกรงว่าความขัดแย้งระดับชาติอาจลุกลามเข้าสู่ "ครอบครัว" เป็นสาเหตุทำให้ "ครอบครัว" ไร้ความสงบสุข อันเนื่องจาก "ความเห็นต่าง" จำเป็นต้องมีการจัดการความไม่ลงรอยในครอบครัวให้ได้ เหนืออื่นใดพ่อแม่ต้องสอนและอธิบายสภาพบ้านเมืองให้ลูกเข้าใจ
พญ.วราพรพันธุมโกมล กุมารแพทย์คลินิกวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถานการณ์บ้านเมืองปัจจุบัน เหมือนเป็นดาบสองคม เด็กและวัยรุ่นจำนวนมากอาจไม่เข้าใจ พ่อแม่ต้องบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ลูกเข้าใจ อธิบายความหมายของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ว่าไม่ได้มีแค่การเลือกตั้งผู้แทนเข้าไปบริหารประเทศเท่านั้น ต่อเมื่อผู้แทนที่เลือกเข้าไปปฏิบัติไม่ดี ประชาชนมีสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยที่จะชุมนุมไม่ให้ผู้แทนบริหารประเทศอีกต่อไป เพราะเกรงว่าบ้านเมืองอาจจะพินาศ แต่การชุมนุมต้องสงบ ไม่มีการใช้อาวุธ เคารพกฎหมาย พ่อแม่ควรจะสอนลูกก็คือ ไม่มีอำนาจหรือบุคคลหรือสิ่งใดจะยิ่งใหญ่เท่าเสียงของประชาชน แม้เป็นคนที่เราเลือกเข้าไป แต่เมื่อไม่เหมาะสมที่จะบริหารประเทศ ประชาชนมีสิทธิตามกฎหมายในการไถ่ถอน ต้องให้เขารู้ว่าเขามีสิทธิอะไรบ้างตามรัฐธรรมนูญ พญ.อัมพร แนะเพิ่มว่า การพาลูกไปม็อบไม่ใช่การเรียนรู้วิถีประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ควรให้ลูกเรียนรู้ผ่านข้อมูลข่าวสารบ้านเมือง จากสื่อที่นำเสนอความจริง พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ต้องกรองสื่อให้เด็กก่อนระดับหนึ่ง ยิ่งเป็นวัยรุ่นที่มีความคิดเห็นที่สุดโต่ง ผู้ใหญ่ต้องให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดเพื่อระงับความสุดโต่ง
วิเคราะห์ข่าว – ข้อเสนอแนะ
ในสถานการณ์ที่บ้านเมืองเกิดภาวะวิกฤตการณ์ การเมืองร้อนระอุประชาชนชาวไทยไร้ความสงบสุข อันเนื่องมากจากการก่อม๊อบของกลุ่มพันธมิตรที่ไม่ต้องการให้รัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศอีกต่อไป เหตุการณ์ดังกล่าว เสมือนดาบสองคมเยาวชนจำนวนมากไม่เข้าใจว่าในขณะนี้ทำไมบ้านเมืองมีแต่ความวุ่นวาย
ดังนั้นผู้ปกครองควรจะอธิบาย ให้ลูกเข้าใจถึงความหมายของระบอบประชาธิปไตยว่าเป็นอย่างไร การสอนด้วยคำพูดอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ผู้ปกครองควรเลี้ยงดูโดยเริ่มจากการใช้ระบอบประชาธิปไตยปฏิบัติกันภายในบ้าน เพื่อให้ลูกเกิดการเรียนรู้และเข้าใจยิ่งขึ้น เช่น การให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น หรือตัดสินใจเลือกในสิ่งที่เขาต้องการ พ่อ แม่ต้องเปิดใจกว้างเมื่อเห็นลูกมีความเห็นที่ต่างไป ควรภูมิใจที่ลูกมีความเห็นของเขาเอง แต่ในการตัดสินใจควรอยู่ในกรอบของสังคม โดยพ่อแม่เป็นผู้ดูแล สนับสนุน แนะแนวทางลูกว่า ถูก ผิดอย่างไร
หากครอบครัวในประเทศไทยสามารถเลี้ยงดูลูกโดยใช้ระบอบประชาธิปไตยภายในบ้าน จะทำให้ครอบครัวมีความสุข เกิดความอบอุ่นภายในครอบครัว พ่อ แม่ ลูก มีความไว้วางใจในกันและกัน เด็กที่โตขึ้นจะเป็นเยาวชนที่ดี และกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในวันหน้า
จึงมีคำถามต่อไปว่า การปกครองโดยใช้ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึงไม่เกิดการพัฒนา บ้านเมืองไม่สงบสุข ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ประเด็นคือมันเกิดจากอะไร ใครเป็นคนก่อ?


เรื่องที่ 2 นร.-นศ.ประท้วงหน้า สตช.ตั้ง 10 คำถามแทงใจดำ!
แหล่งอ้างอิง ทีมข่าวอาชญากรรม ผู้จัดการออนไลน์ 5 กันยายน 2551
กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา จากโรงเรียนสาธิตมัฆวาน แห่งมหาวิทยาลัยราชดำเนิน กว่า 300 คน รวมตัวเคลื่อนขบวนบุก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อ่านแถลงการณ์ ระบุ ตร.ทำหน้าที่ตามคำสั่งของรัฐ ละเลยการทำหน้าที่ดูแลประชาชน และดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรมล่าช้า พร้อมตั้งข้อสงสัย 10 ข้อให้ ตร.ต้องตอบประชาชนให้ได้
1.กรณีนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ถูกดักยิงขณะเดินทางไปบ้านพักนายกรัฐมนตรี จะใช้เวลาเท่าใดในการสืบสวนสอบสวน หาคนผิดมาดำเนินคดี
2.เหตุใดขณะที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในหลายจังหวัด ทั้งที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีษะเกษ ทั้งกรณีกลุ่มคนรักอุดรรุมทำร้ายพันธมิตรฯ และกรณี นปช.บุกเข้ามาทำร้ายประชาชนที่สะพานมัฆวาน ทำไมเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงทำได้เพียงยืนมองอย่างแน่นิ่ง ราวไร้วิญญาณ เหตุใดตำรวจจึงไม่รีบเร่งดำเนินคดีกับมวลชนที่บ้าคลั่งทำร้ายทำลายประชาชน
3.ผู้รับผิดชอบในเหตุการณ์ตำรวจทำหน้าที่เกินขอบเขต ทำร้ายประชาชน และขโมยทรัพย์สินของประชาชน บริเวณสะพานมัฆวานคือใคร จะมีการดำเนินการลงโทษตำรวจทำหน้าที่เกินขอบเขตหรือไม่
4.เหตุการณ์วางระเบิดก่อกวนการชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวาน และย้อนไปถึงเหตุระเบิดในกรุงเทพฯ เมื่อช่วงปีใหม่ปี 2550 มีเบาะแสบ้างหรือยัง
5.ทำไมจึงปล่อยให้กลุ่มที่ก่อความรุนแรงที่หน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ ของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เมื่อวันที่ 22 กค.2550 ลอยนวลออกมาก่อความรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่า
6.เหตุใดคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของ นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จึงมีความล่าช้าผิดสังเกต
7.ทนายสมชาย หายไปไหน
8.ตำรวจจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง อย่างเช่น เหตุการณ์เดือนตุลาคม 2516 และ 2519 เกิดขึ้นอีก
9.ระหว่างรัฐบาลที่มีพฤติกรรมนิยมความรุนแรงกับประชาชนผู้บริสุทธิ์ ท่านจะเลือกปกป้องสวัสดิภาพและรักษาผลประโยชน์ของฝ่ายใด
10.เกียรติตำรวจของไทย ปัจจุบันอยู่ที่ไหน และท่านตระหนักในหน้าที่ ดังเพลงมาร์ชพิทักษ์สันติราษฎร์ ได้กล่าวไว้มากน้อยเพียงใด


วิเคราะห์ข่าว – ข้อเสนอแนะ
การออกมาเรียกร้อง ของกลุ่มนักเรียนนักศึกษา ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองในช่วงนี้ มีการจัดตั้งกลุ่มในชื่อว่า กลุ่มนักเรียน นิสิต นักศึกษา จากโรงเรียนสาธิตมัฆวาน แห่งมหาวิทยาลัยราชดำเนิน การออกมาเคลื่อนไหวดังกล่าว ตามหลักสิทธิตามระบบประชาธิปไตยแล้ว ย่อมทำได้ และหากมองดูอย่างผิวเผิน ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่เยาวชนคนรุ่นใหม่ของชาติ หันมาสนใจเรื่องราวทางด้านการเมือง และมีการรวมกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เพราะหลักการของระบอบการปกครองที่ชื่อว่าประชาธิปไตยนั้น เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองบ้านเมือง
ประเด็นอยู่ที่ว่า นักเรียนกลุ่มนี้ เข้าร่วมกับกลุ่มพันธมิตร ด้วยอุดมการณ์ อันแรงกล้า หรือ ถูกชักจูงร่วมเข้าร่วมชุมนุม การเคลื่อนไหวของกลุ่มที่เรียกว่ากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นั้น เป็นปัญหาที่มีนัยยะทางการเมือง ในเบื้องต้น ก็เพียงปิดถนนและเปิดปราศรัย โจมตีรัฐบาล ต่อมาในภายหลัง ได้ยึดทำเนียบ รัฐบาลและมีการปะทะกับ กลุ่มที่ต่อต้านพันธมิตรที่มีชื่อว่า นปช. แกนนำของกลุ่มพันธมิตร 9 คนโดยหมายจับจากศาลโดยต้องข้อหากบฏ การยึดทำเนียบรัฐบาลนั้น ศาลแพ่งได้ออกคำสั่งให้มีการเลิกการชุมนุมและออกจากทำเนียบ มาการหยุดเดินรถไฟทางภาคใต้ มีการยึดสนามบิน หาดใหญ่ และภูเก็ต วิธีการต่อสู้เพื่อให้ได้ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตร นั้น มีการละเมิดกฎหมาย และเมิดคำสั่งศาล อย่างนี้ เป็นสิ่งที่เยาวชนของชาติ ควรสนับสนุนและทเอาเป็นแบบอย่างหรือไม่ เป็นการต่อสู้ในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องหรือเปล่า
การต่อสู้ทางการเมืองของเหล่านักเรียนนิสิต นักศึกษาเช่นนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เรามีเหตุการณ์ การเรียกร้อง ของเหล่านิสิตนักศึกษา เช่นกรณี 14 ตุลา ที่มีการต่อต้านระบบเผด็จการทหาร เรียกร้องขอประชาธิปไตย จากรัฐบาลเผด็จการทหาร จนมีการปราบปรามนองเลือด แต่ในการชุมนุมเรียกร้องครั้งนี้ เพื่อประชาธิปไตยหรือไม่ และเราจะสอนเหล่าเยาวชน ว่าประชาธิปไตย เป็นอย่างไร เราควรต่อสู้ข้างถนน หรือควรต่อสู้ในชั้นศาล เหล่านี้คือประเด็นที่ต้อง หาคำตอบ การแสดงออกทางการเมือง ของนักเรียนนักศึกษาเป็นสิ่งที่ดี และมีประโยชน์ เป็นการพัฒนากระบวนการประชาธิปไตย
แต่เขาได้ถูกชักจูงและเป็นเครื่องมือ เพื่อผู้ใหญ่บางคนหรือไม่ ถ้ามีสถานการณ์ หากนักเรียนในโรงเรียน ต้องการไล่ครูใหญ่ ที่บริหารงานผิดพลาด โดยการรวมกลุ่มเข้ายึดโรงเรียน และประกาศข้อเรียกร้องให้ครูใหญ่ลาออก วิธีการบุกเข้ายึดโรงเรียน เป็นวิธีเรียกร้องที่ถูกต้องหรือไม่ และเราจะสอน ให้พวกเขาเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยอย่างไร

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551

ราชินีขนมไทย


นักเรียนรู้จัก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เม็ดขนุน หรือ กะละแม ความจริงขนมเหล่านี้ไม่ใช่ขนมไทย แต่เป็นขนมของประเทศ โปรตุเกส ซึ่งเข้ามาเผยแพร่ในสมัยพระนารายณ์ ต่อมาได้ดัดแปลงเปลี่ยนชื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย นี่คือประวัติของบุคลสำคัญคนหนึ่งของไทยผู้ที่นำความรู้ด้านการทำอาหารหวานมาในประเทศไทย
ท้าวทองกีบม้า หรือ ดอญ่า มารี กีมาร์ (Dona Marie Guimar) (
พ.ศ. 2201 หรือ พ.ศ. 2202 - พ.ศ. 2265) ผู้ได้ชื่อว่าเป็นต้นตำรับทำขนมไทย ประเภททองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าวิเสท ซึ่งได้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตฝรั่งเศสที่มาเยือนในสมัยนั้น มีผู้ยกย่องว่าท้าวทองกีบม้าเป็น "ราชินีแห่งขนมไทย"

ประวัติ
ท้าวทองกีบม้าคนนี้เกิดที่กรุงศรีอยุธยา ชื่อจริงว่า ดอนญ่า มารี กีมาร์ เดอปิน่า (ดอนญ่า ในภาษา
สเปนหรือโปรตุเกสแปลว่า คุณหญิง) หรือตองกีมาร์ (Tanquimar) เป็นลูกครึ่งโปรตุเกสและญี่ปุ่น โดย บิดาชื่อ ฟานิก (Phanick)ที่เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอลและมารดาชื่อ อุรสุลา ยามาดา (Ursula Yamada) หรือหนังสือบางเล่มเรียกว่า เออร์ซูลา ยามาดะ ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส
ครอบครัวของยามาดะเป็นตระกูลที่เคร่งครัดในคริสต์ศาสนามาก ยายของท้าวทองกีบม้า เคยเล่าว่า เขาเป็นหลานสาวของ
นักบุญฟรังซิส ซาเวียร์ (Saint Francis Xavier) คริสต์ศาสนิกชนคนแรกของประเทศญี่ปุ่น และนักบุญชื่อดัง
ราวปี
พ.ศ. 2135 ฮิเดะโทชิ ผู้สำเร็จราชการของญี่ปุ่น ต้องการล้มล้างวัฒนธรรมตะวันตก จึงออกพระราชฎีกาในนามของพระจักรพรรดิ์ให้จับกุม ลงโทษ และริบสมบัติชาวคริสต์ ยายของท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นชาวคริสต์จึงถูกลงโทษด้วย นางถูกจับยัดใส่กระสอบนำลงเรือมาที่นางาซากิ เพื่อเนรเทศไปยังเมืองไฟโฟ (Faifo) ปัจจุบันคือ ฮอยอัน ในประเทศเวียดนามเพราะมีชาวคริสต์อยู่มาก บนเรือนี่เองที่ทำให้ยายของท้าวทองกีบม้า พบกับตาของท้าวทองกีบม้า ซึ่งเป็นเจ้าชายแห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ทั้งสองคนจึงมาตั้งหลักปักฐานที่กรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นประเทศที่ร่ำรวย อุดมสมบูรณ์ และไม่รังเกียจคนต่างศาสนา
ท้าวทองกีบม้า แต่งงานตั้งแต่อายุเพียง 16 ปี กับคอนสแตนติน ฟอลคอน (
เจ้าพระยาวิชาเยนทร์)ชาวกรีกที่เข้ามารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาเมื่อสามีนางถูกลงโทษข้อหากบฏ เรียกตำแหน่งคืน ริบทรัพย์ และถูกประหารชีวิต ท้าวทองกีบม้าถูกส่งตัวเข้าไปเป็นคนรับใช้ในพระราชวัง และได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหารหวานประเภทต่างๆ ส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนด การทำหน้าที่จัดหาอาหารหวานส่งเข้าพระราชวัง ท้าวทองกีบม้าได้ประดิษฐ์ขนมขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา โดยดัดแปลงตำรับเดิมโปรตุเกส และเอาวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีในสยามเข้ามาผสมผสาน ซึ่งหลักๆได้แก่ มะพร้าว แป้งและน้ำตาล จนทำให้เกิดขนมใหม่ที่มีรสชาติอร่อย พระราชวังก็ได้ให้ความชื่นชมมากและถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น
บั้นปลายชีวิต
แม้ท้าวทองกีบม้าจะมีชีวิตในระยะแรกๆ ค่อนข้างลำบาก สามีถูกประหาร ต้องมีชีวิตระหกระเหิน ถูกส่งตัวไปเป็นคนรับใช้ แต่ด้วยความสามารถ และอุปนิสัยดี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ บั้นปลายชีวิตของเธอจึงสุขสบายและได้รับการยกย่องตามควร ท้าวทองกีบม้ามีอายุยืนถึง 4 รัชกาล คือ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระเจ้าเสือและสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สันนิษฐานว่าชื่อตำแหน่ง ทองกีบม้า เพี้ยนมาจากชื่อ ตองกีมาร์ นั้นเอง มีหลักฐานบ่งว่าท้าวทองกีบม้าถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 66 ปี
อร่อยกับขนมโบราณเหล่านี้นะครับ

จากครูนอกรั้ว