ตะลอนทัวร์คลอดทริปใหม่

ปีใหม่นี้ จะฉลองปีใหม่กันที่ไหน ที่แน่แน่ พวกสมาชิกตะลอนทัวร์เตรียมเก็บกระเป๋ากันได้แล้ว เมื่อครั้งก่อนไปเที่ยวคลองวาฬ ข้าน้อยทำผิดอย่างแรงทิ้ง สองป้าให้เดินหลงทางกลับที่พัก ใครจะไปคิดล่ะว่า ไอ้แค่ 200 ม.ตรง ๆ ท่านพี่จะหลงทาง ก็ประสบการณ์ย่ำมาแล้วรอบโลก ก็น่าจะไม่หลง แต่ผิดครับหลงครับท่าน ได้ข่าวว่าคราวนี้ จะหอบหิ้วเอาผู้อำนวยการโรงเรียนไปหลงอีกคน นี่ถ้าประวัติศาสตร์ซ้ำรอย พากันหลงเหมือนเมื่อคราวก่อน สงสัยต้องเตรียมหางานใหม่กันได้เลย เรียกว่ากลับมาตัวใครตัวมัน ฮิฮิฮิ มีต่อ

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2551

งานวิจัย โรงเรียนนานาชาติเอกมัย

ภูมิหลัง
ปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และวิทยาการใหม่ ๆ การดำเนินชีวิตมนุษย์ในปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งนี้การมีสุขภาพจิตที่เข้มแข็ง สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้ (เยาวนาฏ เกิดพิทักษ์. 2543:1) ปัญหาต่างๆ ในสังคมส่วนมากมักเป็นผลมาจากการปรับตัวที่ไม่ดีของบุคคลที่แตกต่างกันออกไป การปรับตัวเป็นกิจกรรมสำคัญของชีวิต เป็นกระบวนการทางจิตใจเพื่อคงไว้คงสุขภาพจิตที่ดี การปรับตัวเกิดจากแรงผลักดันภายในตัว การที่บุคคลปรับตัวได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพกับสิ่งแวดล้อม หรือสถานการณ์ที่บุคคลกำลังเผชิญอยู่ สถานการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดความเครียดขึ้น บุคคลต้องพยายามหาวิธีการปลดปล่อยความเครียดออกไป เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของชีวิตไว้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บุคคลเกิดการปรับพฤติกรรมของตน เรียกว่า การปรับตัว นั่นเอง ซึ่งถ้าบุคคลสามารถปรับตัวได้บุคคลนั้นก็จะมีความสุข มีความสบายใจ มีความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ดี ลักษณะเช่นนี้เป็นที่พึงปราถนาของสังคม แต่ถ้าบุคคลไม่สามารถปรับตนเองได้จะทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเอง และอาจทวีความรุนแรงและอาจเป็นผลร้ายต่อตนเองและสังคมโดยส่วนรวมได้หากไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงในทันทีทันใด (อรพินธ์ ชูชมและอัจฉรา สุขารมณ์ 2523 :1)
ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไปมากมีการติดต่อระหว่างนานาชาติสูงมาก ประเทศไทยต้องมีการค้าขายกับต่างประเทศมีความสัมพันธ์ระหว่างชาติ ดังนั้นจึงได้มีการนำภาษาอังกฤษเข้ามาใช้ได้และเข้ามามีบทบาทต่อการติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ดังนั้นที่อยู่ในสังคมต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลง ดังที่มอสโควิทซ์ และออร์เกล (Moskwiz and Orgel. 1969:305) ได้กล่าวว่าการปรับตัวคือการปรับพฤติกรรมของแต่ละบุคคลให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความต้องการแรงจูงใจและนิสัยของแต่ละบุคคลไปในทางใดทางหนึ่ง นอกจากนี้ความเปลี่ยนแปลงนั้นขึ้นอยู่กับโอกาส ความต้องการและข้อจำกัดของสิ่งแวดล้อมด้วยคนส่วนมากต้องการที่จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษและผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานมีความรู้ในภาษาอังกฤษเพื่อที่จะได้ใช้ภาษาในการดำรงชีวิตประจำ วันและเพื่อความเจริญก้าวหน้าในการประกอบวิชาชีพจึงมีการส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนนานาชาติ เพื่อการปรับตัวให้ทันกับสภาพการแข่งขันของเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งโรงเรียนนานาชาติแรกเริ่มจุดประสงค์ของการก่อตั้งคือ การให้การศึกษาแก่บุตรของชาวต่างประเทศที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ในปัจจุบันค่านิยมในการส่งลูกหลานเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติเพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดความหลากหลายของสัญชาติ ศาสนา ภาษาและวัฒนธรรมของนักเรียน การที่ให้เด็กเข้ามาเรียนในโรงเรียนนานาชาติผู้ปกครองบางคนคิดว่าเป็นการดีที่จะยกระดับการศึกษาของลูกเพื่อให้ลูกได้ฝึกฝนภาษาและวิธีคิดแต่ผู้ปกครองบางคนไม่ได้คำนึงถึงว่าโรงเรียนนานาชาติเป็นการเรียนรวมกันของเด็กนักเรียนที่มาจากแต่ละชาติและมีความแตกต่างกัน และเป็นการเรียนโดยที่ใช้หลักสูตรและมาตรฐานที่เป็นของต่างประเทศและใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน
โรงเรียนนานาชาติเอกมัยเป็นเป็นอีกหนึ่งโรงเรียนที่เปิดทำการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษ โดยระบบการเรียนการสอนเป็นระบบอเมริกันมีการเรียนการสอนเป็น 4 ระดับดังนี้ คือ ระดับอนุบาล (Kindergarten K 1-3) ระดับประถมศึกษาตอนต้น (Primary School Grade 1-3) ระดับประถมศึกษาตอนปลาย (Elementary School Grade 4-6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Intermediate Grade 7-8)ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (High School Grade 9-12) ซึงในแต่ะละปีการศึกษาจะทั้งนักเรียนที่ย้ายมาจากโรงเรียนไทยเข้ามาเรียนในระดับชั้นเกรด 9 และสำหรับนักเรียนที่เลื่อนระดับมาจากชั้นเกรด 8 ฉะนั้นการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักเรียนที่เข้ามาใหม่และนักเรียนที่เลื่อนชั้นขึ้นมา การเรียนในระดับชั้นไอสคูลจะมีการเลือกแผนการเรียน เป็นการเปลี่ยนแนวการเรียนแบบใหม่ซึ่งแตกต่างจากการเรียนในการเรียนในระดับชั้นที่เรียนผ่านมา การแยกแผนการเรียนในระดับชั้นไฮสคูลออกเป็น 4 แผนการเรียนดังนี้ General Education Diploma, College Preparatory Diploma, College Preparatory Diploma (Emphasis in Business), College Preparatory Diploma (Emphasis in Medicine and Engineering) โดยการเลือกแผนการเรียนจะมีการเลือกแผนการเรียนในเกรด 9 การเรียนในระดับชั้นไฮสคูลจะมีการกำหนดเกรดเฉลี่ยในการเลือกแผนการเรียนต่าง ๆ ได้แก่ General Education Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.50 โปรแกรม College Preparatory Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 โปรแกรม College Preparatory Diploma (Emphasis in Business) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 และโปรแกรม College Preparatory Diploma (Emphasis in Medicine and Engineering) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 ซึ่งถ้าเกรดเฉลี่ยไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ก็จะไม่สามารถเลือกเรียนในแผนการเรียนนั้น ๆ ได้
เนื่องจากผู้วิจัยได้ทำงานอยู่ในโรงเรียนนานาชาติเอกมัย ในฝ่ายแนะแนวเป็นระยะเวลา 3 ปี ได้สังเกตเห็นว่ามีนักเรียนที่ต้องเข้ามาปรึกษาในห้องแนะแนวจำนวนมากในแต่ละปีการศึกษา และจากการสัมภาษณ์ที่ปรึกษาในระดับชั้นไฮสคูลซึ่งรับผิดชอบนักเรียนระดับชั้นเกรด 9-12 พบว่านักเรียนในระดับชั้นเกรด 9 จะเข้ามาปรึกษาในเรื่องของเรียนมากที่สุดเมื่อเที่ยบกับนักเรียนระดับเกรด 10 เกรด 11 และเกรด 12 เพราะระดับชั้นเกรด 9 เป็นระดับที่เพิ่งเลื่อนชั้นเข้ามาเรียนในระดับไฮสคูล ต้องเปลี่ยนระบบการเรียนใหม่ ซึ่งจากเดิมวิชาเรียนจะถูกจัดไว้ให้นักเรียนเรียบร้อยแล้ว และเรียนประจำตามชั้นและห้องเดิมทุกวิชา จะมีการเปลี่ยนสถานที่เรียนในวิชาพละศึกษา และวิชาศิลปะเท่านั้น แต่เนื่องจากการเลื่อนชั้นเข้ามาเรียนในระดับไฮสคูลจะเป็นการเลือกแผนการเรียน และในการเรียนในแต่ละวิชานั้นมีการเปลี่ยนห้องเรียนในทุกวิชา และเพื่อนที่เรียนร่วมในแต่ละวิชาก็จะมีการเปลี่ยนไปด้วย และนักเรียนต้องเรียนวิชาเฉพาะตามแผนการเรียนที่ตัวเองเลือกแต่ส่วนวิชาพื้นฐานจะเรียนเหมือนกันซึ่งเพื่อนร่วมชั้นจะแยกกันเรียนตามสาขาวิชาที่ตนเลือกและนักเรียนบางคนมาย้ายจากโรงเรียนไทย จะมีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษาเนื่องจากเคยเรียนโดยใช้ระบบไทย ใช้ภาษาไทยในการเรียนมาก่อนพอเข้ามาเรียนในโรงเรียนนานาชาติซึ่งมีสิ่งแวดล้อมใหม่ การใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน การพบเพื่อนที่เป็นชาวต่างชาติ นักเรียนมีปัญหาในเรื่องการปรับตัวเนื่องจากความแตกต่าง ภาษาและวัฒนธรรม ซึ่งการแสดงออกของนักเรียนในแต่ละชาติไม่เหมือนกัน การใช้ภาษาในห้องเรียน และปัญหาเรื่องการเรียนไม่รู้เรื่องเนื่องจากครูผู้สอนที่พูดภาษาไทยไม่ได้ เพราะบางที่ถ้านักเรียนไม่เข้าใจครูก็ไม่สามารถอธิบายเป็นภาษาไทยได้ ครูในโรงเรียนเป็นครูที่มาจากหลายสัญชาติจึงทำให้สำเนียงการพูดไม่เหมือนกันซึ่งส่งผลให้เด็กต้องปรับตัวในการฟังสำเนียงภาษาของครู และทำให้ผลการเรียนไม่ดี
จากการสำรวจปัญหาเบื้องต้นของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย เขตวัฒนากรุงเทพมหานคร จำนวน 80 คน โดยให้นักเรียนตอบคำถามปลายเปิด 2 ข้อดังนี้
คำถามข้อที่ 1 ถามว่า “ในขณะที่ท่านเรียนอยู่ในระดับชั้นเกรด 9 ท่านมีปัญหาการเรียนในเรื่องใดบ้าง” นักเรียนตอบว่าตนเองมีปัญหาจำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 80 นักเรียนไม่ตอบคำถาม 16 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ปรับตัวเข้ากับระบบการเรียนไม่ได้ 20 คน คิดเป็นร้อยละ 25 ไม่ชอบครู 16 คน คิดเป็นร้อยละ 20 นักเรียนตอบว่าไม่เข้าใจวิชาที่เรียนจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 15 ครูสอนไม่เข้าใจ14 คน คิดเป็นร้อยละ 17.5 การบ้านเยอะ 9 คน คิดเป็นร้อยละ 11.25 มีปัญหาด้านภาษา 5 คนคิดเป็นร้อยละ 6.25 เข้ากับเพื่อนไม่ได้ 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5 เพราะวิชาใหม่ ๆ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.5
คำถามข้อที่ 2 ถามว่า “ท่านคิดว่าปัญหาจากคำถามข้อที่ 1 เกิดจากสาเหตุใด” นักเรียนตอบปัญหาของการเกิดสาเหตุจำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 73.75 และตอบคำถามว่าไม่มีสาเหตุจำนวน คิดเป็นร้อยละ ไม่ตอบสาเหตุจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 26.25 ไม่เข้าใจวิชาที่สอน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 23.75 แบ่งเวลาไม่ดี ไม่ตั้งใจเรียน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 11.25 ครูไม่เข้าใจวิชาที่สอน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 10 อุปกรณ์การเรียนไม่ดีจำนวน 5 คนคิดเป็นร้อยละ 6.25 เพราะมีการเปลี่ยนคาบเรียนทุกคาบ 5 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 ไม่เก่งภาษา 4 คน คิดเป็นร้อยละ 5 เพราะคิดไปเอง 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.75 ไม่เคยเรียน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.5 เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหา 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25 อุปกรณ์การเรียนไม่ดี 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.25
จาการสำรวจปัญหาเบื้องต้นของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย พบว่านักเรียนน่าจะมีปัญหาการปรับตัวด้านการเรียน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของการปรับตัวเข้ากับการเรียนระดับชั้น ไฮสคูลซึ่งมีความแตกต่างกับการเรียนในระดับชั้นอินเตอร์มีเดียดและไพรมารี เพราะอายุในนักเรียนระดับชั้นเกรด 9 เป็นช่วงอายุที่กำลังเป็นวัยรุ่น ดังที่ (อาคม สรสุชาติ 2518:64) กล่าวว่าปัญหาการปรับตัวย่อมเกิดได้ทุกเพศทุกวัยแต่วัยรุ่นจะเป็นวัยที่ประสบปัญหามากกว่าวัยอื่นเพราะวัยรุ่นเป็นผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงและรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงชีวิตที่ปรับตัวยากและมีปัญหามากที่สุด ถ้าโรงเรียนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออาทรต่อการปรับตัวของวัยรุ่นจะช่วยให้วัยรุ่นปรับตัวได้ดีเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปเพราะชีวิตในโรงเรียนเป็นระยะหนึ่งของการส่งเสริมสุขภาพจิตและการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ให้เจริญที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือแนวความคิดหรือวัฒนธรรมของนักเรียนที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของเด็ก เด็กที่มีปัญหาการปรับตัวมักเกิดปัญหาพฤติกรรมอื่นตามมา เช่น เกเร ก้าวร้าว ดื้อ ซน เครียด หงุดหงิด คบเพื่อนไม่ดี หนีเรียน หนีเที่ยว ปัญหาทางเพศ และการใช้สารเสพติด ซึ่งเกิดจากความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเองที่มาจากความสำเร็จในการเรียน การถูกตำหนิจากพ่อแม่ เป็นความรู้สึกตนเองล้มเหลว และขาดความภูมใจในตัวเอง ทำให้เป็นอารมณ์และกลายเป็นปัญหาบุคลิกภาพ การหาสาเหตุของปัญหาควรรีบทำเพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมอื่น ๆ ที่จะตามมาได้ (ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. 2530:71; อ้างอิงมาจาก Coleman and Hammen” 1974 :93-94)
ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร

ความมุ่งหมายในการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านส่วนตัว ด้านครอบครัวและสิ่งแวดล้อมทางการเรียน กับการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร
2. เพื่อศึกษาปัจจัยด้านส่วนตัว ด้านครอบครัว ด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งผลต่อการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร
3. เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ การปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร

ความสำคัญของการวิจัย
ผลของการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ทำให้ทราบว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อปัญหาการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการวางแนวทางการการป้องกัน การแก้ปัญหา ส่งเสริม และช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาการปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลอย่างถูกต้อง


ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2546 จำนวน 121 คน เป็นนักเรียนชาย 62 คน และนักเรียนหญิง 59 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 121 คน เป็นนักเรียนชายจำนวน 62 คน และนักเรียนหญิงจำนวน 59 คน

3. ตัวแปรที่ศึกษา
3.1 ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าแบ่งเป็น 3 ด้านดังนี้
3.1.1 ปัจจัยด้านส่วนตัวได้แก่
3.1.1.1 เพศ
3.1.1.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.1.1.3 ทัศนคติต่อการเรียนระดับชั้นไฮสคูล
3.1.1.5 สุขภาพจิต
3.1.2 ปัจจัยทางด้านครอบครัว ได้แก่
3.1.2.1 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับสมาชิกในครอบครัว
3.1.2.2 การศึกษาของผู้ปกครอง
3.1.3 ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ได้แก่
3.1.3.1 ลักษณะทางกายภาพ
3.1.3.2 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู
3.1.3.3 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน
3.2 ตัวแปรตาม คือ การปรับตัวในการเรียนระดับชั้นไฮสคูลของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร

นิยามศัพท์เฉพาะ
1. การปรับตัวด้านการเรียน หมายถึง การเอาใจใส่ต่อการเรียนมีความคาดหวังที่จะเรียนให้ดีขึ้น มีความมุ่งมั่นที่จะเรียนให้สำเร็จ รู้จักขอคำปรึกษาและขอความช่วยเหลือด้านการเรียนจากบุคคลต่าง ๆ มีความพึงพอใจในวิชาที่เรียน ซึ่งได้แก่การเรียนทฤษฎี และ การเรียนในห้องเรียน ความสามารถในการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองในเรื่องของการยอมรับและการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองในสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมโดยปรากฏออกมาเป็นความรู้สึก นึกคิดหรือพฤติกรรมที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและความต้องการของตนเอง
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัว หมายถึง สิ่งที่ส่งผลต่อการเรียนในระบบอเมริกันได้แก่ ปัจจัยด้านส่วนตัว ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
2.1 ปัจจัยด้านส่วนตัว หมายถึง ลักษณะเฉพาะของนักเรียนได้แก่ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทัศนคติต่อการเรียนในระดับชั้นไฮสคูล
2.1.1 เพศ หมายถึง เพศชาย และหญิง ของนักเรียนเกรด 9 โรงเรียนนานาชาติเอกมัย กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2546-2547
2.1.2 ทัศนคติต่อการเรียนระดับชั้น หมายถึง ความคิด ความรู้สึก และแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรมของนักเรียนที่มีต่อการเรียนระดับไฮสคูล ดังนี้
2.1.2.1 ทัศนคติด้านความคิด หมายถึง การคิดถึงคุณค่า และประโยชน์ของการเรียนในระดับในระดับชั้นไฮสคูล ที่จะนำวิชาความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดอบรมสั่งสอน พัฒนาตนเองและสังคมไปในทางที่ถูกต้อง
2.1.2.2 ทัศนคติด้านความรู้สึก หมายถึง ความรู้สึกทางอารมณ์เกี่ยวกับความเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความชอบ ความพอใจต่อการเรียนและครูผู้สอน บรรยากาศการเรียนการสอนในระดับไฮสคูล
2.1.2.3 ทัศนคติด้านแนวโน้มในการแสดงพฤติกรรม หมายถึง การตั้งใจเรียน ปฏิบัติตามที่ครูผู้สอนกำหนด และซักถามเมื่อมีข้อสงสัย
2.1.3 สุขภาพจิต หมายถึง ความสมบูรณ์ทางด้นจิตใจที่สามารถปรับจิตใจให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสังคมได้ ทั้งในสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต และยังสามารถเผชิญปัญหาและยอมรับความเป็นจริงในชีวิต มีอารมณ์มั่นคง และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยความพึงพอใจ มีสมรรถภาพในการทำงาน การเรียน สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยวัดจาก การใช้แบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต Thai GHQ 60 (Thai General Health Questionnaire 60) ของนายแพทย์ธนา นิลชัยโกวิทย์และคณะ ซึ่งปรับปรุงมาจาก เดวิด โกลด์เบิร์ก และพอล วิลเลี่ยม (David Goldberg and Paul Williams)
2.2 ปัจจัยด้านครอบครัว หมายถึง สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับนักเรียนกับสมาชิกในครอบครัว
สัมพันธภาพครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง การศึกษาของผู้ปกครอง
2.2.1 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับสมาชิกในครอบครัว หมายถึง การปฏิบัติตนของสมาชิกในครอบครัวที่มีต่อนักเรียนในด้านการเรียนและการปฏิบัติตนของนักเรียนที่มีต่อสมาชิกในครอบครัว
2.2.1.1 พฤติกรรมที่นักเรียนปฏิบัติ ต่อสมาชิกในครอบครัว หรือผู้ปกครองด้านการเรียน ได้แก่ การของคำแนะนำและการซักถามเมื่อมีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเรียนจากสมาชิกในครอบครัว ความรักความผูกพันที่สมาชิกมีต่อครอบครัว
2.2.1.2 พฤติกรรมที่สมาชิกในครอบครัวปฏิบัติต่อนักเรียน ได้แก่ การเอาใจใส่ต่อการเรียนของนักเรียน การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับนักเรียน การไว้วางใจในการเรียน การให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการเรียน การให้ความรักความห่วงใยและกำลังใจกับนักเรียน
2.2.2 การศึกษาของผู้ปกครอง วุฒิการศึกษาที่สำเร็จชั้นสูงสุดของผู้ปกครอง ในที่นี้ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
2.2.3.1 สูงกว่าปริญญาตรี
2.2.3.2 ปริญญาตรี
2.2.3.3 ต่ำกว่าปริญญาตรี
2.3 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง สภาพการณ์ทั้งในและนอกห้องเรียนที่มีผลต่อนักเรียน ได้แก่ ลักษณะทางกายภาพ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2.3.1 ลักษณะทางกายภาพ หมายถึง สภาพแวดล้อมทางการเรียนที่มีผลต่อนักเรียน สถานที่เรียน สื่อและอุปกรณ์ทางการศึกษา
2.3.1.1 สถานที่เรียน หมายถึง การถ่ายเทอากาศภายในห้องเรียน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในห้องเรียน ขนาดของห้องเมื่อเทียบกับจำนวนนักเรียน บริเวณของห้องเรียนปราศจาก กลิ่น และเสียงรบกวน
2.3.1.2 สื่อและอุปกรณ์การสอน หมายถึง ปริมาณของสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนเมื่อเทียบกับครูผู้สอนและนักเรียน ความทันสมัย คุณภาพการใช้งาน
2.3.2สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู หมายถึง การปฏิบัติของครูที่ปฏิบัตินักเรียนและที่นักเรียนปฏิบัติกับครู ทั้งภายในและนอกห้องเรียน
2.3.2.1 การปฏิบัติของครูที่มีต่อนักเรียน หมายถึง การให้ความรัก ความเอาใจใส่ ยอมรับความคิดเห็นให้ความเป็นกันเองต่อนักเรียน
2.3.2.2 การปฏิบัติของนักเรียนที่มีต่อครู หมายถึง การให้ความเคารพเชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งของครู ช่วยเหลืองานของครูตนสามารถทำได้ ขอคำแนะนำจากครูเมื่อประสบกับปัญหา ตั้งใจเรียนและสนใจบทเรียนที่ครูสอน
2.3.3 สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน หมายถึง พฤติกรรมที่นักเรียนและเพื่อน ปฏิบัติต่อกันทั้งในและนอกห้องเรียน ได้แก่ การช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน ด้านการเรียน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันทางการเรียน ความห่วงใจใกล้ชิดสนิทสนมซึ่งกันและกัน การทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันในกลุ่มเพื่อนเพื่อให้เกิดความสำเร็จทางด้านการเรียน
3. ระดับชั้นไฮสคูล หมายถึง การเรียนในระบบการศึกษาอเมริกันในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ เกรด 9 เกรด 10 เกรด 11 และเกรด 12 โดยการเรียนแบ่งออกเป็น 4 แผนการเรียนในระดับชั้นไฮสคูลแบ่งออกเป็น 4 แผนการเรียนดังนี้ General Education Diploma, College Preparatory Diploma, College Preparatory Diploma (Emphasis in Business), College Preparatory Diploma (Emphasis in Medicine and Engineering) โดยการเลือกแผนการเรียนจะมีการเลือกแผนการเรียนในเกรด 9 การเรียนในระดับชั้นไฮสคูลจะมีการกำหนดเกรดเฉลี่ยในการเลือกแผนการเรียนต่าง ๆ ได้แก่ General Education Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1.50 โปรแกรม College Preparatory Diploma จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 โปรแกรม College Preparatory Diploma(Emphasis in Business) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.50 และโปรแกรม College Preparatory Diploma(Emphasis in Medicine and Engineering) จะต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 ซึ่งถ้าเกรดเฉลี่ยไม่ถึงตามที่กำหนดไว้ก็จะไม่สามารถเลือกเรียนในแผนการเรียนนั้น ๆ และเมื่อเรียนจบการศึกษาจะได้ใบประกาศนียบัตรตามแผนการเรียนที่ตนเองเลือก









ไม่มีความคิดเห็น: