ตะลอนทัวร์คลอดทริปใหม่

ปีใหม่นี้ จะฉลองปีใหม่กันที่ไหน ที่แน่แน่ พวกสมาชิกตะลอนทัวร์เตรียมเก็บกระเป๋ากันได้แล้ว เมื่อครั้งก่อนไปเที่ยวคลองวาฬ ข้าน้อยทำผิดอย่างแรงทิ้ง สองป้าให้เดินหลงทางกลับที่พัก ใครจะไปคิดล่ะว่า ไอ้แค่ 200 ม.ตรง ๆ ท่านพี่จะหลงทาง ก็ประสบการณ์ย่ำมาแล้วรอบโลก ก็น่าจะไม่หลง แต่ผิดครับหลงครับท่าน ได้ข่าวว่าคราวนี้ จะหอบหิ้วเอาผู้อำนวยการโรงเรียนไปหลงอีกคน นี่ถ้าประวัติศาสตร์ซ้ำรอย พากันหลงเหมือนเมื่อคราวก่อน สงสัยต้องเตรียมหางานใหม่กันได้เลย เรียกว่ากลับมาตัวใครตัวมัน ฮิฮิฮิ มีต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

mind map


ผังมโนภาพหรือแผนที่ความคิด (Mind map) คือรูปจำลองที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่องโยงของมโนภาพที่สัมพันธ์กัน โดยปกติจะใช้รูปวงกลมแทนมโนภาพหรือความคิด และเส้นลูกศรแทนลักษณะและทิศทางของความสัมพันธ์นั้น มีคำกำกับไว้ว่าวงกลมแทนมโนภาพของอะไร เส้นลูกศรแทนความสัมพันธ์ในลักษณะและทิศทางใด ในบางครั้งมีการใช้การเน้นและแจกแจงเนื้อความด้วยสีและการวาดรูปประกอบ
ผังมโนภาพถือว่าเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยบันทึกความคิดเพื่อให้เห็นภาพความคิดที่หลากหลายมุมมองที่กว้างและชัดเจนกว่าการบันทึกที่โดยยังไม่จัดระบบระเบียบความคิดใดๆ อีกทั้งเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับโครงสร้างทางการคิดของมนุษย์ที่บางช่วงมนุษย์จะสูญเสียสมาธิและความจดจ่อไปโดยอัตโนมัติขณะที่กำลังคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การทำให้สมองได้คิด ได้ทำงานตามธรรมชาตินั้น มีลักษณะเหมือนต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านออกไปเรื่อยๆ
ผังมโนภาพถูกใช้เป็นแนวคิดไร้รูปแบบตายตัวมาหลายศตวรรษแล้วเพื่อใช้ในการเรียนรู้, การระดมสมอง, การจดจำข้อมูล, การจินตนาการและการแก้ปัญหาโดยนักศึกษา, วิศวกร, นักจิตวิทยา รวมถึงบุคคลทั่วไป ตัวอย่างของผู้คิดผังมโนภาพที่น่าจะเก่าแก่ที่สุดในโลกคือนักคิดในคริสต์ศตวรรษที่ 3 นามว่า
พอไพรี ผู้ที่จำแนกนิยามที่ถูกคิดโดยอริสโตเติลไว้โดยการมโนภาพ ในยุคปัจจุบัน ผู้ปฏิวัติรูปแบบของผังมโนภาพโดยการบูรณาการคือ ดร.อัลลัน คอลลินส์ และนักวิจัยในช่วงทศวรรษ 60 (พ.ศ. 2500) เอ็ม.โรส ควิลแลนด์ โดยเผยแพร่วิธีการคิดแบบใหม่นี้โดยการลงบทความ และทำการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์และการมโนภาพ ทำให้ ดร.อัลลัน คอลลินส์ ถือว่าเป็นบิดาแห่งผังมโนภาพสมัยใหม่ก็ว่าได้
ดร.โทนี บูซาน ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในเรื่องแผนที่ความคิด มาช่วยในการจดจำระยะยาวที่เรียกว่าวิธีเนโมนิก ซึ่งได้แก่การนำความรู้ใหม่ไปผูกโยงกับความรู้เดิมที่มีอยู่ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสมองซีกขวาโดยการจินตนาการ ด้วยหลักการใช้คำหลักเป็นตัวกำหนดแล้วขยายกิ่งก้านสาขาออกไป วิธีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในเรื่องการทำประชาคม การบันทึกคำบรรยาย เป็นต้น

แนวทางการเขียน mind map
1เริ่มที่ตรงกลางหน้ากระดาษด้วยรูปหรือหัวข้อ ใช้สีอย่างน้อย 3 สี
2ใช้รูป, สัญลักษณ์, รหัส, ความหนา ตลอดที่ทำ mind map
3ให้เขียนคำสำคัญโดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก
4คำแต่ละคำ หรือรูปแต่ละรูป จะต้องอยู่บนเส้นของตัวเอง
5เส้นแต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกัน โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ตรงกลางภาพ เส้นที่อยู่ตรงกลางจะมีขนาดหนา และจะยิ่งบางลงเมื่อห่างจากศูนย์กลาง
6ขนาดความยาวของเส้นที่ลาก ยาวเท่ากับคำหรือรูป
7ใช้สี รหัสส่วนตัว ตลอดที่ทำ mind map
8พัฒนารูปแบบ mind map ของตัวเอง
9ใช้วิธีเน้นข้อความ และแสดงความเป็นกลุ่มก้อนใน mind map
10รักษา mind map ให้เข้าใจง่ายโดยการแบ่งความสำคัญเริ่มจากตรงกลาง ใช้การเรียงลำดับตัวเลข หรือ11ใช้เส้นร่างเพื่อรักษาความเป็นกลุ่มก้อนของแต่ละกิ่ง

1 ความคิดเห็น:

หมวดภาษาไทย EIS กล่าวว่า...

ถึงศิษย์รักของครูกอล์ฟ จากการที่ครูนำสิ่งดี ๆ มอบให้กับนักเรียนด้วยความรัก ครูขอให้นักเรียนนำสิ่งที่ครูพร่ำสอน ไปฝึกปฏิบัติต่อยอดให้เกิดความชำนาญ เพื่อพัฒนาศักยภาพทักษะในการอ่าน ฟัง พูดจับใจความสำคัญได้อย่างรวดเร็ว อย่าลืมว่าการจะทำอะไรได้สำเร็จนั้น ต้องทำด้วยใจ และหมั้นฝึกฝนอยู่เสมอ
รักศิษย์ทุกคน จากครูลิก้า