ตะลอนทัวร์คลอดทริปใหม่

ปีใหม่นี้ จะฉลองปีใหม่กันที่ไหน ที่แน่แน่ พวกสมาชิกตะลอนทัวร์เตรียมเก็บกระเป๋ากันได้แล้ว เมื่อครั้งก่อนไปเที่ยวคลองวาฬ ข้าน้อยทำผิดอย่างแรงทิ้ง สองป้าให้เดินหลงทางกลับที่พัก ใครจะไปคิดล่ะว่า ไอ้แค่ 200 ม.ตรง ๆ ท่านพี่จะหลงทาง ก็ประสบการณ์ย่ำมาแล้วรอบโลก ก็น่าจะไม่หลง แต่ผิดครับหลงครับท่าน ได้ข่าวว่าคราวนี้ จะหอบหิ้วเอาผู้อำนวยการโรงเรียนไปหลงอีกคน นี่ถ้าประวัติศาสตร์ซ้ำรอย พากันหลงเหมือนเมื่อคราวก่อน สงสัยต้องเตรียมหางานใหม่กันได้เลย เรียกว่ากลับมาตัวใครตัวมัน ฮิฮิฮิ มีต่อ

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เทคนิคการเขียนเรียงความ

เทคนิคการเขียนเรียงความ เรียงความ หมายถึง เป็นการนำความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ที่ผู้เขียนสนใจและมีความรู้ในเรื่องนั้นดีที่สุด มาเรียบเรียงอย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจน น่าอ่าน น่าสนใจ โดยอาศัยข้อเท็จจริง ความคิดประกอบด้วยจินตนาการของผู้เขียน ให้ผู้อ่านได้ทราบและเข้าใจ เนื้อเรื่องที่จะเขียนเรียงความต้องมีขอบข่ายและความมุ่งหมายเฉพาะไม่กล่าวผิวเผิน ต้องมีตัวอย่างรายละเอียดต่าง ๆ สนับสนุนความคิดเห็นของผู้เขียน สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องมีข้อเท็จจริง ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการเขียน... รูปแบบของเรียงความประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

(1) คำนำ ( การเปิดเรื่อง )


(2) เนื้อเรื่อง ( เนื้อความ )


(3) สรุป ( ปิดเรื่องหรือบทลงท้าย )


คำนำ เป็นส่วนแรกของงานเขียนที่จะสร้างความน่าสนใจ ดึงดูดและท้าทายให้ผู้อ่านอยากรู้อยากอ่านข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ผู้เขียนรวบรวมมาเสนอในเนื้อเรื่อง เพราะคำนำที่ดีจะทำให้ผู้อ่านทราบได้ตั้งแต่ต้นว่ากำลังจะได้อ่านเกี่ยวกับอะไร ต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในการเขียนคำนำให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้อ่าน สอดคล้องกับจุดประสงค์ในการเขียนและการเสนอเนื้อเรื่อง ประกอบกับการใช้ศิลปะการเขียนเฉพาะตน เนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่ยาวที่สุดของงานเขียน เนื่องจากเป็นส่วนที่รวมความคิดและข้อมูลทั้งหมดที่ผู้เขียนค้นคว้ารวบรวมมาเสนออย่างมีระเบียบ มีระบบ และเป็นขั้นตอน ทำให้ผู้อ่านรับรู้และเข้าใจสาระสำคัญทั้งหมดได้อย่างแจ่มแจ้ง...ประกอบไปด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงที่เชื่อมโยงกันตลอดรวบรวมข้อมูล ความคิด ประสบการณ์ ข้อเท็จจริงวางโครงเรื่องให้สอดคล้องกับประเด็นที่จะนำเสนอนำหัวข้อต่างๆ มาเขียนขยายความให้เป็นย่อหน้าที่ดีมีประเด็นมากพอให้ผู้อ่านสนใจต้องใช้ท่วงทำนองการเขียนให้สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหา ตรงตามวัยความสนใจของผู้อ่าน การสรุป เป็นการบอกให้ผู้อ่านทราบว่าข้อมูลทั้งหมดที่เสนอมาได้จบลงแล้ว (ในย่อหน้าที่ผ่านมา) จะเป็นช่วยย้ำให้ผู้อ่านทราบว่างานเขียนที่ได้อ่านมีจุดมุ่งหมายอย่างไร ได้ข้อคิดหรือแนวทางอะไรเพิ่มเติมจากการอ่านครั้งนี้บ้าง ที่สำคัญคือการสรุปจะต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อเรื่องตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียนจึงจะทำให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ



เรียงความที่ดี
1. มีเอกภาพ หมายความว่า เนื้อหาจะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่กล่าวนอกเรื่อง
2. มีสัมพันธภาพ หมายความว่า เนื้อหาต้องมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตลอดทั้งเรื่อง เกิดจากการจัดลำดับความคิดและการวางโครงเรื่องที่ดี และเกิดจากการเรียบเรียงย่อหน้าอย่างมีระเบียบ
3. มีสารัตภาพ หมายความว่า เรียงความแต่ละเรียงจะต้องมีสาระสมบูรณ์ตลอดทั้งเรื่อง ความสมบูรณ์ของเนื้อหาเกิดจากการวางโครงเรื่องที่ดี การวางโครงเรื่องที่ดีในการเขียนโครงการโครงเรื่อง คือการนำความคิดทั้งเรื่องมาแยกแยะให้เป็นระเบียบโดยการเรียงลำดับ เป็นข้อความสั้น ๆ ให้มีความสัมพันธ์และต่อเนื่อง มีข้อควรคำนึงดังนี้
1.จัดลำดับความคิดให้ต่อเนื่องกัน
2.แยกประเด็นใหญ่และประเด็นย่อยออกจากกันให้ชัดเจน
3. เขียนโครงเรื่อง อาจเขียนด้วยคำหรือวลีก็ได้ หรือจะทำเป็นรูปประโยคก็ได้ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเขียนโครงการ* มีรูปแบบ ( คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป )* คำนำ น่าสนใจ สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ และชื่อเรื่อง* เนื้อเรื่องน่าสนใจ สอดคล้องตรงตามชื่อเรื่องที่กำหนดให้* ลำดับความได้ต่อเนื่องกัน และมีความเป็นเอกภาพ* สรุปได้อย่างเหมาะสม และประทับใจ* ใช้ประโยคและคำได้ถูกต้อง เหมาะสมสื่อความหมายได้ชัดเจน* เขียนตัวหนังสือได้ถูกต้องตามอักขรวิธีและแบ่งวรรคตอนได้ถูกต้อง* ความคิดสร้างสรรค์อันบรรเจิด

1 ความคิดเห็น:

หมวดภาษาไทย EIS กล่าวว่า...

ถึงนักเรียนที่รักของครู เมื่ออ่านวิธีการเขียนเรียงความจบแล้ว ขอให้นักเรียนอ่านบทความเรื่องเป้าหมายชีวิต ก่อนที่จะเขียนเรียงความ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนเรียงความ ครูจะเป็นกำลังใจให้นักเรียนหาตัวเองให้เจอ ขอให้รู้ว่าตัวตนที่แท้จริงของเรา สำคัญที่สุดคือ การจัดลำดับความสำคัญ การวางเค้าโครงเนื้อหาก่อนที่จะลงมือทำ ขอให้นักเรียนมีความตั้งใจในการเขียนเรียงความอย่างมีความสุข รักทุกคน ครูกอล์ฟ