ตะลอนทัวร์คลอดทริปใหม่

ปีใหม่นี้ จะฉลองปีใหม่กันที่ไหน ที่แน่แน่ พวกสมาชิกตะลอนทัวร์เตรียมเก็บกระเป๋ากันได้แล้ว เมื่อครั้งก่อนไปเที่ยวคลองวาฬ ข้าน้อยทำผิดอย่างแรงทิ้ง สองป้าให้เดินหลงทางกลับที่พัก ใครจะไปคิดล่ะว่า ไอ้แค่ 200 ม.ตรง ๆ ท่านพี่จะหลงทาง ก็ประสบการณ์ย่ำมาแล้วรอบโลก ก็น่าจะไม่หลง แต่ผิดครับหลงครับท่าน ได้ข่าวว่าคราวนี้ จะหอบหิ้วเอาผู้อำนวยการโรงเรียนไปหลงอีกคน นี่ถ้าประวัติศาสตร์ซ้ำรอย พากันหลงเหมือนเมื่อคราวก่อน สงสัยต้องเตรียมหางานใหม่กันได้เลย เรียกว่ากลับมาตัวใครตัวมัน ฮิฮิฮิ มีต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เทคนิคการเขียนเรื่องสั้น


เรื่องสั้น การเขียนเรื่องสั้น เรื่องสั้นเป็นวรรณกรรมประเภทหนึ่ง ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกมีความยาวประมาณ 1000-10000 คำ ผู้เขียนเขียนขึ้นโดยใช้จินตนาการของตนเองอย่างสมจริงสมจัง มีขนาดสั้น ตัวละครไม่มาก ดำเนินเรื่องด้วยความรวดเร็วและมีจุดมุ่งหมายเดียวโดยอาศัยศิลปะการเขียนที่ชวนให้น่าอ่านและมีคติธรรมแทรก j. Berg Esenwien ได้กล่าวถึงลักษณะเรื่องสั้นที่ดีไว้ว่า

1. ต้องมีพฤติการอันสำคัญอันเป็นต้นเรื่องแต่เพียงอย่างเดียว

2. ต้องมีตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในท้องเรื่องแต่เพียงตัวเดียว

3. ต้องมีจินตนาการหรือมโนภาพให้ผู้อ่านคล้อยตามไปด้วย

4. ต้องมีพล๊อตหรือการผูกเค้าเรื่องให้ผู้อ่านฉงนหรือสนใจ

5. ต้องมีความแน่นหรือเขียนอย่างรัดกุม

6. ต้องมีการจัดรูป ลำดับพฤติการณ์ให้มีชั้นเชิงชวนอ่าน

7. ให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์หรือความรู้สึกอย่างใดอย่างนึง

ชนิดของเรื่องสั้น การเขียนเรื่องสั้น แยกเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้

1. ชนิดผูกเรื่อง (plot Story) คือเรื่องสั้นที่มีโครงเรื่องซับซ้อนและจบลงในลักษณะที่ผู้อ่านคาดไม่ถึง

2. ชนิดเพ่งเล็งที่จะแสดงลักษณะของตัวละคร (Character Story) คือเรื่องสั้นที่เน้นตัวละครเป็นใหญ่หรือเน้นให้ตัวละครเป็นผู้เล่าเรื่องหรือดำเนินเรื่อง โดยต้องการแสดงลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งของตัวละครเป็นสำคัญ

3. ชนิดถือเป็นฉากเป็นสำคัญ (Atmosphere Story) คือ เรื่องสั้นที่ผู้เขียนบรรยายฉากหรือสถานที่หรือแห่งนั้น ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึก ทำให้ผู้เกิดความรู้สึกคล้อยตามอารมณ์และและความคิดของตัวละคร

4. ชนิดที่แสดงแนวความคิดเห็น (Theme Story) คือ เรื่องที่ผู้เขียนมีอุดมคติหรือต้องการชี้ให้เห็นข้อคิดหรือสัจธรรมของชีวิต ฐะปะนีย์ นาครทรรพ ได้เสนอการเขียนเรื่อสั้นไว้ว่า “พึ่งประสบการณ์อ่านให้มาก นึกอยากเขียน เพียรฝึกฝน สนใจมนุษย์ จุดหมายเด่น เฟ้นภาษา หาเชื้อเพลิงและสำเริงอารมณ์” วิธีเขียนเรื่องสั้น

วิธีเขียนเรื่องสั้นให้น่าอ่านชวนให้ติดตามควรมีรายละเอียดต่อไปนี้คือ

1. เค้าโครงเรื่อง (plot) คือ การสร้างเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมาเริ่มเรื่องและจบเรื่อง

การสร้างโครงเรื่องนี้มีหลัก 3 ประการคือ

1.1 โครงเรื่องต้องมีความสับสนวุ่นวาย มีปัญหาต้องแก้ไข มีการผูกปมที่ซับซ้อน

1.2 ในการดำเนินเรื่อง จะไม่ราบรื่น หากแต่ต้องมีอุปสรรคทำให้เรื่องสนุก หรือมีเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้อ่านรอคอยต่อไป

1.3 ปมนั้นค่อยๆคลี่คลาย จนถึงจุดสุดยอดของเรื่อง (cli-max) เป็นการจบหรือปิดเรื่อง

2. ตัวละคร

2.1 สร้างตัวละครให้สมจริง

2.2 การแสดงอุปนิสัยของตัวละครอาจบรรยายหรือเป็นบทที่ตัวละครพูดเอง

2.3 การแสดงอุปนิสัยของตัวละครต้องเสมอต้นเสมอปลายตั้งแต่เริ่มเรื่องจนจบเรื่อง

2.4 ตัวละครไม่มากเกินไป

3. ฉาก เป้นสถานที่หรือสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบรรยากาศต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวเรื่อง

3.1 เลือกฉากให้เหมาะสมกับเรื่อง และดำเนินเรื่องตามบรรยากาศที่ถูกต้อง

3.2 ผู้เขียนต้องเขียนฉากที่ตนรู้จังดีที่สุด เพราะจะได้ภาพที่แจ่มชัด

4. บทสนทนา มีข้อปฏิบัติคือ

4.1 ไม่พูดนอกเรื่อง

4.2 เป็นคำพูดนอกเรื่อง

4.3 เป็นคำพูดง่ายต่อการเข้าใจ เหมาะสมแก่ฐานะของตัวละคร

4.4 รู้จักหลากคำ ไม่ใช้คำซ้ำซาก

5. การเปิดเรื่อง เป็นหัวใจของการเขียนเรื่อง เพราะจะทำให้ผู้อ่านติดตามต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับวิธีการเปิดเรื่อง ซึ่งมีอยู่หลายวิธี คือ

5.1 สร้างเหตุการณ์หรือการกระทำให้เกิดความสนใจ น่าตื่นเต้น

5.2 เปิดเรื่องโดยใช้บทสนทนาที่มีถ้อยคำแปลกในความหมายและเนื้อเรื่อง ก่อให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากติดตามเรื่องต่อไป

5.3 เปิดเรื่องโดยการพรรณนา พรรณนาฉาก หรือบรรยายฉากที่ชวนให้ผู้อ่านสนใจ

6. การดำเนินเรื่อง ต้องคำนึงถึงคือ

6.1 ควรดำเนินเรื่องไปสู่จุดหมายโดยเร็ว

6.2 ปมของเรื่องควรมีความขัดแย้ง 1 แห่ง แล้วค่อยๆคลายปมทีละน้อย สมดังความปรารถนาของผู้อ่านที่รอคอย

7. การปิดเรื่อง เป็นตอนที่สำคัญที่สุด ผู้อ่านจะทราบว่าเรื่องจะจบลงอย่างไร ซึ่งเป็นจุดสุดยอดของเรื่อง คือ 7.1 จบลงโดยที่ทำให้ผู้อ่านประหลาดใจ คาดไม่ถึง

7.2 จงลงด้วยความสมปรารถนา หรือสิ้นหวังอย่างใดอย่างหนึ่ง ในการเขียนเรื่องสั้นนั้น จะเลือกเขียนในแนวใดก็ได้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความรู้และอารมณ์ของแต่ละคนที่จินตนาการ ซึ่งมีความแตกต่างกันไป โดยไม่จำเป็นต้องยึดหลักการเขียนเรื่องสั้นเป็นแบบแผนนัก ขึ้นอยู่กับผู้เขียนว่าจะมีแนวคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆขึ้น อันเปรียบเสมือนเอกลักษณ์ของตนเองมากกว่า อ้างอิงจาก : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดวงใจ ไทยอุบุญ ,ทักษะการเขียนภาษาไทย , สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : 2543 (267-271)

ไม่มีความคิดเห็น: