ตะลอนทัวร์คลอดทริปใหม่

ปีใหม่นี้ จะฉลองปีใหม่กันที่ไหน ที่แน่แน่ พวกสมาชิกตะลอนทัวร์เตรียมเก็บกระเป๋ากันได้แล้ว เมื่อครั้งก่อนไปเที่ยวคลองวาฬ ข้าน้อยทำผิดอย่างแรงทิ้ง สองป้าให้เดินหลงทางกลับที่พัก ใครจะไปคิดล่ะว่า ไอ้แค่ 200 ม.ตรง ๆ ท่านพี่จะหลงทาง ก็ประสบการณ์ย่ำมาแล้วรอบโลก ก็น่าจะไม่หลง แต่ผิดครับหลงครับท่าน ได้ข่าวว่าคราวนี้ จะหอบหิ้วเอาผู้อำนวยการโรงเรียนไปหลงอีกคน นี่ถ้าประวัติศาสตร์ซ้ำรอย พากันหลงเหมือนเมื่อคราวก่อน สงสัยต้องเตรียมหางานใหม่กันได้เลย เรียกว่ากลับมาตัวใครตัวมัน ฮิฮิฮิ มีต่อ

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เทคนิคการอ่านแบบ 3s


วันนี้เรามีเทคนิคการอ่านหนังสือแบบ 3S มาแนะนำกันค่ะ อย่าเพิ่งทำหน้างงกันนะคะ 3S ก็คือ "Scan - Search - Save"Scan ได้แก่การอ่านเนื้อหาอย่างหยาบ ๆ และรวดเร็ว เพื่อจับใจความว่าหนังสือนี้ประกอบด้วยบทใดบ้าง มีบทนำ การเรียงลำดับหัวข้อเป็นเช่นใด มีแผนภูมิ รูปภาพประกอบมากน้อยเพียงใด Search - หาบทที่มีเนื้อหาตรงกับความต้องการ- หาคำตอบ เพื่อตอบคำถามที่ตั้งไว้- ทำเครื่องหมาย (ใช้ดำสอ เขียนเบา ๆ)- ศึกษาเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าที่ตรงกับจุดประสงค์ Save - เก็บข้อมูล เนื้อหา ของโครงสร้างของแต่ละบท- จดเนื้อหาที่สำคัญ อัตราความเร็วในการอ่าน ประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือตำรานั้น มีผู้ประเมิน โดยคิดเป็นอัตราของคำต่อนาที ดังนี้- ถ้าตำรานั้นอ่านยาก ควรใช้เวลา 100-200 คำต่อนาที- ถ้าตำรานั้นอ่านยากปานกลาง ควรใช้เวลา 200-400 คำต่อนาที- ถ้าอ่านเพื่อให้ได้เนื้อหากว้าง ๆ ควรใช้เวลา 500-1,000 คำต่อนาที- ถ้าอ่านอย่างรวดเร็ว พอสังเขปควรใช้เวลา 1,000-1,500 คำต่อนาที จะปรับปรุงการอ่านให้เร็วขึ้นได้อย่างไร มีผู้ให้ข้อสังเกตว่า เนื้อหาที่ปรากฎอยู่ในตำรานั้น ประมาณสองในสามเป็นการเขียนตามหลักภาษาเพื่อให้ถูกต้องตามรูปแบบและไวยากรณ์ มากกว่าที่จะเป็นเนื้อหาที่แท้จริง ดังนั้นถ้านิสิตพะวงต่อการอ่านทุกคำ จะทำให้ความเร็วในการอ่านลดลง การอ่านเร็วมิได้หมายความว่า ความเข้าใจ และการจดจำเนื้อหาจะลดลง แต่การอ่านไปหมดทุกวรรคทุกตอนจะทำให้ทั้งสายตา และจิตใจของนิสิต ต้องพะวักพะวงกับเนื้อหาที่มากเกินควร การอ่านอย่างมีวินัย มีระเบียบจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพการอ่านดีขึ้น นิสิตอาจลองใช้ วิธีการต่อไปนี้ เตรียมตัว
อ่านอย่างกว้าง ๆ เพื่อจับประเด็นของเนื้อหาที่มีอยู่ในหนังสือ (การมีภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านมาบ้างแล้ว จะช่วยให้นิสิตเข้าใจเนื้อหาได้เร็วขึ้น)
อ่านอย่างมีจุดประสงค์ ตั้งใจและพยายามอ่านให้ทันตามเวลาที่เรากำหนด วิธีบังคับตนเองไม่ให้อ่านตามสบายชนิดตามใจตน กระทำได้โดยการลากปากกา หรือดินสอชี้นำไปตามบรรทัด นอกจากนี้จะต้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนสมาธิขณะอ่านด้วย
ละทิ้งนิสัย การอ่านที่ไม่ดี ได้แก่๐ หยุดที่คำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ พยายามขยายกรอบของเนื้อหาให้มากขึ้น จะได้เข้าใจประเด็นได้ง่ายขึ้น๐ อ่านย้อนกลับไปมา วิธีนี้ทำให้เสียเวลา และมีผลทำให้การเชื่อมต่อข้อความไม่ปะติดปะต่อ ทำให้จำเนื้อหาไม่ได้๐ เคลื่อนไหวสายตาไม่เร็วพอ ถ้าสายตาเพ่งเพียงแต่ข้อความแคบ ๆ (เช่นดูแค่คำคำเดียว) การอ่านก็ช้าไปด้วย พยายามลดความเมื่อยล้าของสายตาโดย - ตรวจสุขภาพสายตาเสียบ้าง- ให้หนังสืออยู่ห่างจากสายตาประมาณ 40 ซม. เพื่อขยายกรอบของการมองเห็น และลดการเคลื่อนไหวของสายตา ฝึกฝนตนให้เป็นผู้อ่านชั้นเยี่ยม
มือข้างหนึ่งใช้พลิกหน้ากระดาษ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งให้ลากลงมาตามบรรทัดวิธีนี้จะเป็นการควบคุมสายตา ให้เห็นคำที่จะอ่านในแต่ละครั้งมากขึ้น บังคับมิให้สายตาจ้องจดอยู่ที่คำใดคำหนึ่ง และยังเป็นการฝึกตนเองให้มีวินัย และมีสมาธิในการอ่านอีกด้วย
กวาดสายตาไปทั่วทั้งหน้ากระดาษภายใน 5 วินาที นิสิตอาจจะคิดว่าไม่ได้อ่านอะไรเลย แต่นิสิต จะสามารถจัดคำสำคัญได้อย่างรวดเร็ว และถ้าหน้าไหนอ่านยากก็อาจกลับมาอ่านอย่างช้า ๆ ได้ในภายหลัง
ฝึกทำเช่นนี้อย่างน้อยวันละ 5 นาที ภายใน 1 - 2 เดือน นิสิตจะพบว่าตนเองสามารถอ่านได้เร็วขึ้นกว่าเดิมกลายเท่าตัว

ไม่มีความคิดเห็น: