ตะลอนทัวร์คลอดทริปใหม่

ปีใหม่นี้ จะฉลองปีใหม่กันที่ไหน ที่แน่แน่ พวกสมาชิกตะลอนทัวร์เตรียมเก็บกระเป๋ากันได้แล้ว เมื่อครั้งก่อนไปเที่ยวคลองวาฬ ข้าน้อยทำผิดอย่างแรงทิ้ง สองป้าให้เดินหลงทางกลับที่พัก ใครจะไปคิดล่ะว่า ไอ้แค่ 200 ม.ตรง ๆ ท่านพี่จะหลงทาง ก็ประสบการณ์ย่ำมาแล้วรอบโลก ก็น่าจะไม่หลง แต่ผิดครับหลงครับท่าน ได้ข่าวว่าคราวนี้ จะหอบหิ้วเอาผู้อำนวยการโรงเรียนไปหลงอีกคน นี่ถ้าประวัติศาสตร์ซ้ำรอย พากันหลงเหมือนเมื่อคราวก่อน สงสัยต้องเตรียมหางานใหม่กันได้เลย เรียกว่ากลับมาตัวใครตัวมัน ฮิฮิฮิ มีต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

เจ้าฟ้ากุ้ง กวีเอกใน สมัย อยุธยา



สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือขานพระนามกันโดยทั่วไปว่า เจ้าฟ้ากุ้ง
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรประสูติ พ.ศ. ๒๒๔๘ ในแผ่นดิน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระซึ่งเป็นพระปิตุลา (ลุง) ของพระองค์ ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศหรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ กับกรมหลวงอภัยนุชิต พระมเหสีใหญ่ ทรงมีพระอนุชาต่างพระมารดา ๒ พระองค์ คือ
พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าเอกทัศ(
พระเจ้าเอกทัศน์) และ
พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าดอกเดื่อ (
ขุนหลวงหาวัด)
จลุศักราช ๑๑๐๓ ปีระกา ตรีศก พ.ศ. ๒๒๘๔ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ได้เข้าพระราชพิธีอุปราชาภิเษกเถลิงถวัลยราชสถิต ที่พระมหาอุปราช เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าหญิงอินทสุดาวดี เมื่อเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและ พระองค์ได้เป็นกองการปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีสรรเพชญ์และวัดอื่นๆ มากมาย
เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ทรงพระปรีชาสามารถหลายด้าน โดยเฉพาะด้านวรรณกรรม พระองค์ทรงเป็นกวีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระองค์หนึ่ง พระองค์ท่านสิ้นพระชนม์เพราะเหตุที่มีผู้ไปกราบทูลว่าพระองค์ลอบเป็นชู้กับเจ้าฟ้านิ่ม หรือเจ้าฟ้าสังวาลย์ซึ่งเป็น เจ้าจอมของ พระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงทรงลงพระอาญาเฆี่ยนจนสิ้นพระชนม์พร้อมด้วยเจ้าฟ้าสังวาลย์ แล้วนำพระศพไปฝังยังวัดไชยวัฒนาราม
ผลงานด้านวรรณกรรมที่พระองค์ทรงนิพนธ์ไว้นั้นจัดเป็นวรรณกรรมอันเลอค่า โดยเฉพาะคำประพันธ์ประเภทกาพย์ห่อโคลงดูจะมีมากกว่างานพระนิพนธ์ชนิดอื่น ๆ งานนิพนธ์ที่เหลือจนบัดนี้มีที่รวบรวมได้ดังนี้
๑.
กาพย์เห่เรือ
๒. บทเห่เรื่องกากี ๓ ตอน
๓. บทเห่สังวาสและเห่ครวญอย่างละบท
๔. กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก
๕. กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง
๖.
นันโทปนันทสูตรคำหลวง ทรงพระนิพนธ์ พ.ศ. ๒๒๗๙ ขณะทรงผนวช
๗.
พระมาลัยคำหลวง ทรงพระนิพนธ์ พ.ศ. ๒๒๘๐ ขณะทรงผนวช
๘. เพลงยาวบางบท

ไม่มีความคิดเห็น: